มีรายงานว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) รายหนึ่งในเกาหลีใต้ ได้ทำการติดตั้งมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์ของลูกค้าโดยเจตนา เพื่อขัดขวางและบล็อกการรับส่งข้อมูลผ่านรูปแบบการแชร์ไฟล์ ซึ่งอาจทำให้ ISP มีต้นทุนด้านแบนด์วิดท์สูงขึ้น
JBTC สื่อของเกาหลีเปิดเผยรายงานการสืบสวนที่ระบุว่า บริษัท KT ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (เดิมชื่อ Korea Telecom) ได้ดำเนินมาตรการที่รุนแรงในการต่อสู้กับการใช้เว็บแชร์ไฟล์เว็บหนึ่งที่ชื่อว่า Webhard (เว็บฮาร์ด) โดยป็นบริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ของเกาหลีใต้ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คล้ายกับบริการ cloud storage เช่น Google Drive หรือ Dropbox ผู้ใช้สามารถอัปโหลด แชร์ และจัดการไฟล์ต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
Webhard ใช้ระบบที่เรีกยว่า Grid System ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับที่ใช้บนเว็บ BitTorrent เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายโอนไฟล์ แต่ตัวด้วยความนิยมของ Webhard ทำให้มันเกิดการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมหาศาล ดึงดูดความสนใจของ ISP
สำหรับ KT นั้น เคยมีส่วนเกี่ยวข้องในคดีความในปี 2563 เกี่ยวกับการควบคุมปริมาณการรับส่งข้อมูลของผู้ใช้ และได้ออกมาตอบโต้ว่า จำเป็นต้องเข้าแทรกแซง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการจัดการเครือข่าย และศาลตัดสินให้ ISP ชนะคดี ซึ่งก็ทำให้การใช้เว็บแชร์ไฟล์นั้น ทำมีอัตราการรับ – ส่งข้อมูลช้าลง
แต่เรื่องมันไม่ได้จบหลังจากศาลติดศิน รายงานจาก JBTC ระบุว่า บริษัทไม่ได้จำกัดข้อมูลการใช้งานเพียงอย่างเดียว โดยพบว่าในปีเดียวกันนั้น ผู้ใช้ Webhard หลายคนพบว่าบริการออฟไลน์หรือรายงานข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งทั้งหมดมีปัจจัยร่วมเดียวกันคือ ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจาก KT
การสืบสวนของ JBTC พบว่า ISP รายนี้กำลังติดตั้งมัลแวร์บนคอมพิวเตอร์ของลูกค้าเพื่อทำการบล็อก Webhard ซึ่งมันส่งกระทบกับลูกค้าประมาณ 600,000 คน
ทีมงานเฉพาะ KT ประกอบด้วยฝ่ายพัฒนามัลแวร์ ฝ่ายกระจายและปฏิบัติการ และฝ่ายดักฟัง ถูกกล่าวหาว่าได้ติดตั้งมัลแวร์เพื่อดักฟังสมาชิกและแทรกแซงการถ่ายโอนไฟล์ส่วนตัวของพวกเขา นอกจากนี้ บริษัทยังถูกกล่าวหาว่าเข้าถึงและเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เพื่อจำกัดปริมาณการรับส่งข้อมูลผ่านเว็บแชร์ไฟล์
สำนักงานตำรวจเขตกยองกีตอนใต้ ได้ทำการตรวจค้นและยึดศูนย์ข้อมูล และสำนักงานใหญ่ของ KT โดยเชื่อว่าบริษัทได้ละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองความลับการสื่อสารและพระราชบัญญัติเครือข่ายข้อมูลและการสื่อสาร โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ตำรวจระบุตัวผู้ต้องสงสัย 13 คน รวมถึงพนักงาน KT และพนักงานของบริษัทคู่ค้าของ KT ในขณะนั้น การสืบสวนเพิ่มเติมดำเนินต่อไปหลังจากนี้ครับ
ยังไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดว่า แผนการใหญ่ของ KT คืออะไร ข้ออ้างเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่ายก็พอจะฟังขึ้นในชั้นศาล แต่การติดตั้งมัลแวร์นี่ ไม่น่าจะเอามาอ้างอะไรได้แล้วล่ะ….
ที่มา
techspot