ต้องยอมรับว่า การหลอกลวงยุคนี้มาในทุกรูปแบบ บางคนอาจเคยได้ยิน Romance Scams ที่หลอกให้รักแล้วให้โอนเงิน ช่วงนั้น สาวไทยโดนกันไปไม่ใช่น้อย
ตอนนี้กำลังมี Survey Scams ที่ให้คนตอบแบบสอบถามแล้วพยายามขอข้อมูลส่วนตัว แต่ Techhub มีวิธีหลีกหนี Scams เหล่านี้มาแชร์ให้อ่านกัน ลองไปทำความรู้จัก Survey Scams แต่ละชนิดกันครับ
1.Survey Scams
โดยทั่วไปแล้ว Scams เหล่านี้จะเริ่มต้นด้วยการติดต่อมาให้เราด้วยวิธีต่าง ๆ และบอกว่า เราอาจได้ส่วนลด โค้ดพิเศษ (หลอก) จากร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้ง Lazada , Shopee และแพลทฟอร์มอื่น ๆ รวมทั้งอาจได้รางวัล หรือของแถมสุดพรีเมียม เพียงแค่เสียเวลาทำแบบสำรวจ ซึ่งเราจะถูกจูงใจให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเราให้กับเขา เช่น ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ หรืออาจมากกว่านั้น
การติดต่อของ Scammer ก็มาได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง อีเมล SMS มาทาง Line , Facebook Messenger , หรือมีการโฆษณาผ่าน Facebook Ad ก็เคยเจอมาแล้ว วิธีการหลีกหนี Scam เหล่านี้คือ อย่าให้ข้อมูลโดยไม่จำเป็น เพราะ Survey ใด ๆ ก็ตาม ไม่จำเป็นต้องขอชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์ หรือเราสามารถให้ข้อมูลส่วนตัวได้ตามความรู้สึกว่ามันไม่ควรจะรุกล้ำความเป็นส่วนตัวมากจนเกินไป
2.Phishing Surveys
โดยปกติแล้ว การโจมตีแบบฟิชชิ่งใด ๆ ก็ตาม มีเป้าหมายเพื่อทำให้เป้าหมายเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในการหลอกลวง ผู้โจมตีมักจะปลอมตัวเป็นบริษัทที่ถูกต้องตามกฎหมาย และบ่อยครั้งที่จะแสร้งทำเป็นตัวแทนของบริษัทชื่อดัง หรือห้างสรรพสินค้าดัง ๆ เพื่อให้ขอให้ลูกค้ากรอกแบบสำรวจเกี่ยวกับประสบการณ์หรือข้อเสียในการช้อปปิ้งเพื่อชิงรางวัล เมื่อเหยื่อกรอกแบบสำรวจปลอม ๆ ไปแล้ว ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาจะถูกขโมย จากนั้น Scammer 0tสามารถทำอะไรก็ได้ตามต้องการกับข้อมูลนี้ เช่น เอาไปขายในตลาดมืด
Phishing Surveys มักจะถูกส่งมาในรูปแบบอีเมล หรือ SMS ที่ให้เรากดลิงก์เข้า วิธีหนีคือ ให้สังเกตที่อยู่อีเมลของคนที่ส่งมา หากไม่ได้เป็นอีเมลทางการที่ลงท้ายด้วยชื่อบริษัท โดยอาจเป็น @Gmail เฉย ๆ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่า มันอาจเป็น Scammer ก็ได้นะ แต่หากส่งข้อความมา ให้รู้ไว้ก่อนเลย สมัยนี้ เค้าไม่ค่อยทำเคมเปญทำแบบสำรวจโดยส่งทาง SMS กันแล้ว ฉะนั้น หากอยากทำจริง ๆ พยายามอย่าให้ข้อมูลมากเกินความจำเป็นครับ
3.Paid Survey Scams
หลายคนน่าจะเคยได้ยิน การกรอกแบบสำรวจเพื่อแลกกับเงินค่าขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ เบื้องหลังสิ่งนี้คือ หลาย ๆ บริษัทต้องการที่จะวิจัยตลาด ดังนั้นพวกเขาจึงมองหาคนที่เหมาะสมกับข้อมูลประชากรตามเป้าหมาย เพื่อให้กรอกแบบสำรวจและให้เป็นเงินตอบแทน
แต่น่าเศร้า ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำถูกกฏหมาย Scammer ก็รู้วิธีนี้ดี และพยายามหาช่องทางเพื่อที่จะเข้ามาเอาข้อมูลของเราไป แน่นอนว่า หากเป็นการทำแล้วได้เงิน คนส่วนใหญ่หน้ามืดทำ ๆ ไปให้เสร็จ แน่นอนว่า พวกเขาจะพยายามปลอมตัวเองเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง แล้วหลอกให้คนทำแบบสำรวจ
วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ ค่าตอบแทนในการทำแบบสำรวจของ Scammer นั้นจะมีราคาสูงกว่าทั่วไปมาก เช่น ทั่วไปอาจจะได้ครั้งละ 20-50 บาท แต่ของ Scammer อาจจโม้ว่าตัวเองให้ถึง 200-500 บาท ต่อครั้ง หากเป็น Scammer จริง เราก็ไม่มีทางได้เงินนั้นแน่ ๆ แถมเสียข้อมูลไปอีก …
และทั้งหมดนี้ คือ การหลวงลวงผ่านการหลอกให้ตอบแบบสอบถามด้วยวิธีต่าง ๆ ครับ หวังว่าทุกคนน่าจะพอเอาไปใช้ระวังตัวกันได้นะ