ในยุคที่ GDRP หรือกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง ทำให้ทุกแบรนด์และทุกธุรกิจจำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้ใช้ทุกคน ก่อนนำข้อมูลไปใช้งานในด้านใด ๆ ก็ตาม เราจึงเห็นว่าหลายธุรกิจพยายามออกโปรโมชั่นหรือสิทธิพิเศษเพิ่มเติมเพื่อแลกกับความยินยอมในการใช้ข้อมูลของเรามากขึ้น
.
หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัด หากคุณเคยไปเดินงานอีเว้นท์บางแห่ง งานเหล่านี้จะมีแบรนด์ต่าง ๆ มาออกบูธและยืนแจกของให้กับเรา แต่ก่อนจะได้ของ ต้องลงทะเบียนเพื่อขอชื่อบ้าง เบอร์โทรศัพท์บ้าง ที่อยู่บ้าง หรือถึงขั้นขอเลขบัตรประชาชน โดยแลกกับของแจกมูลค่าน้อยนิด และหลายคนก็ให้ไปโดยไม่ได้คิดอะไร ซึ่ง ณ ตอนนั้น เราอาจอนุญาตให้เขานำข้อมูลเราไปใช้ได้อย่างเต็มที่แล้ว
.
แต่ผมไม่ได้จะสรุปนะว่า การยินยอมให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นสิ่งไม่ดี มีอยู่ช่วงหนึ่งที่แพลทฟอร์มการเปรียบเทียบประกันภัยเฟื่องฟูมาก ๆ คนซื้อไม่ต้องนั่งไล่อ่านกรมธรรม์ของทุกบริษัทเอง แต่ย่อขนาดให้เข้าใจและอ่านง่าย ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
.
หากใครเคยใช้แอปหรือแพลทฟอร์มเหล่านี้จะรู้ว่า พวกเขาขอข้อมูลส่วนตัวเราเยอะมาก เพื่อที่จะเข้าใจพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเพื่อไปซิงค์กับบริการที่เหมาะสมกับบุคคล แน่นอนว่า มันเป็นเรื่องที่ดีกับคนที่ขี้เกียจอ่านเอง แต่อีกมุมหนึ่ง เราจะไม่รู้เลยว่า เขาจะเอาข้อมูลเราไปทำอะไรอีกครับ
.
ตอนนี้ มีแพลทฟอร์มหนึ่งชื่อว่า Keepdi ได้คิดโมเดลที่ให้ผู้ใช้อย่างเรา สามารถสร้าง behavior หรือพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของตัวเองขึ้นมา และจะเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้บน Wallet ของเราเอง เช่น เราออกจากบ้านตอนไหน กินร้านอาหารอะไร เติมน้ำมันที่ไหน ชอบไปห้างอะไร หรือชอบซื้อสินค้าอะไรเป็นพิเศษ ผ่านการให้ข้อมูล โดยที่ตัวเราเองเป็นคนใส่ลงใปในแอปครับ
ประโยชน์ที่เราจะได้ อย่างแรกคือ เราจะได้ Tokon (NFT) ที่ชื่อว่า Keepdi coin ที่ไว้ใช้เป็นส่วนลดหรือแทนเงินสดในการซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ กับร้านที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Keedi ครับ อีกหนึ่งอย่างคือ เวลาที่แบรนด์ต่าง ๆ อยากได้ข้อมูลพฤติกรรมของเรา เพื่อที่นำไปซิงค์กับข้อมูลโปรโมชั่นของเขาและนำเสนอเราในอนาคต เขาจะต้องนำ Token ของ Keepdi มาแลกเช่นกัน และเรามีสิทธิ์ที่จะให้หรือไม่ให้ก็ได้ ซึ่งดูรวม ๆ แล้ว ทั้งแบรนด์และผู้ใช้ก็ต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน
.
อีกสิ่งหนึ่งคือ แพลทฟอร์มเหล่านี้กำลังตัด “ตัวกลาง” ออกไป และให้แบรนด์คุยกับลูกค้าโดยตรงเพื่อให้ได้ประโยชน์ด้วยกัน เราได้ Token แบรนด์ได้ข้อมูลพฤติกรรมของเราไป ยกตัวอย่างเช่น หากเราเพิ่งซื้อรถใหม่ แน่นอนว่าต้องซื้อประกันภัยรถยนต์ หากไปซื้อกับแอปหรือแพลทฟอร์มที่เปรียบเทียบประกันไว้แล้ว เราก็ต้องให้ข้อมูลกับเขา แต่นั่นก็ไม่รู้ว่า เขาจะเอาข้อมูลเราไปทำอะไรอีกในอนาคต
.
แต่แพลทฟอร์มนี้ เขาบอกว่า ข้อมูลพฤติกรรมที่เราสร้างขึ้น จะอยู่แค่กับเรา มีแต่เราที่เข้าถึงได้ และถูกใช้เพียงเรา ไม่มีคนกลางเข้ามากินส่วนแบ่ง ข้อมูลจะถูกปล่อยออกไปเฉพาะกับแบรนด์ที่เรายินยอมจะให้ข้อมูลเท่านั้น…
.
จริง ๆ โมเดลแบบนี้ เป็นโมเดลที่น่าสนใจมากนะ เพราะมันสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจประกันก็ยังได้ เช่น หากผมสนใจอยากเข้าฟิตเนส แต่ยังไม่รู้จะไปที่ไหน ก็แค่โยนโจทย์เบื้องต้นลงไปว่า “ผมมีเวลาว่างเล่นแค่ช่วงเย็นเท่านั้นนะ” แล้วให้ฟิตเนสต่าง ๆ เสนอโปรโมชั่นกลับมา หรือจะนำ Token มาแลกเพื่อเข้าถึงข้อมูลพฤติกรรมของผมมากขึ้น เพื่อที่จะนำเสนอโปรโมชั่นได้ตรงจุด
.
ส่วนตัวเชื่อว่าโมเดลแบบนี้จะเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ นะ แต่จุดอ่อนก็คือเราต้องไปลุ้นแหละว่า เหรียญ Token ที่เขาสร้างขึ้นมา มันให้ความคุ้มค่าหรือสิทธิประโยชน์ที่มากพอที่เรายอมจะเสียข้อมูลพฤติกรรมให้กับเขาหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ผู้ใช้อย่างเราคงต้องชั่งน้ำหนักเอาเองครับ
.
อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ คือ เมื่อเราสามารถใส่ข้อมูลพฤติกรรมลงไปเพื่อแลกเหรียญ (Token) กลับมาได้ มันเลยทำให้คิดว่า เราสามารถ Fake ข้อมูลเพื่อเพิ่มจำนวนเหรียญได้ไหม เขาบอกว่าในแอปจะมีระบบตรวจสอบนะ ว่าเราได้ไปทำพฤติกรรมนั้น ๆ มาจริงหรือเปล่า เช่น ไปเติมน้ำมันที่ปั๊มนี้จริงไหม โดยมี AI ช่วยตรวจสอบ หากระบบตรวจพบว่ามีเพิ่มจำนวนเหรียญโดยใช้ข้อมูลเท็จ อาจจะถูกเตะออกจากระบบได้ครับ เอาเข้าจริง ๆ อยากได้รายละเอียดที่ชัดเจนมากกว่านี้ในขั้นตอนการตรวจสอบนะครับ แต่คิดว่าน่าจะเป็นความลับของบริษัท
.
ส่วนตัวยอมรับว่า พฤติกรรมคนไทยค่อนข้างจะซับซ้อนและมักจะหาทาง “หลบเลี่ยง” เพื่อให้ได้ผลประโยชน์กลับมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะมีคนที่คิดเหมือนผมและแอบใส่ข้อมูลเท็จเพื่อให้ได้เหรียญมา ซึ่งก็ต้องไปรอดูในวันที่แอปเปิดใช้งานอีกทีครับ ว่าขั้นตอนการตรวจสอบของ Keepdi จะทำได้ถึงขนาดไหน
.
ที่มาข้อมูล
งานแถลงข่าว Keepdi
.
#TechhubUpdate #Keepdi #token #blockchain
.
——————
⭐️ Techhub รวม How To , Tips เทคนิค อัปเดตทุกวัน
กดดูแบบเต็มๆ ที่ —> www.techhub.in.th