ตอนที่ผมเป็นเด็กเติบโตที่เจอร์ซีย์ในหมู่เกาะบริติชแชนแนล ผมจะเปิดทีวีรอดูกีฬากับพ่อและพี่ชายของผม การแข่งรถ FORMULA 1 เป็นกีฬาที่น่าตื่นเต้นที่สุดสําหรับเรา ถึงแม้ว่ารถแข่งมักจะวิ่งเร็วกว่าช่างกล้องและเทคโนโลยีจะตามทัน
ปัจจุบันนี้การแข่งรถมีความน่าสนใจและสร้างโอกาสให้คนดูมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ F1 เปิดตัว F1 Insights powered by AWS ในปี 2561 ที่นำการวิเคราะห์ข้อมูลมาแสดงผลสดบนหน้าจอของผม ซึ่งในขณะนั้นดูการแข่งขันผ่านโทรศัพท์มือถืออยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งผมชอบ Car Performance Scores แบบเรียลไทม์เป็นอย่างมาก ที่รวมข้อมูลหลายพันจุดที่สตรีมทุกวินาทีจากรถทุกคันในการแข่งขัน ทําให้ผมเข้าใจดีขึ้นว่ารถแข่งคันโปรดของผมนั้นอยู่อันดับที่เท่าไหร่ในสนาม และอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนประสิทธิภาพของการขับ
ข้อมูลแบบเรียลไทม์แบบนี้คือสิ่งที่ธุรกิจต้องเข้าใจในประสิทธิภาพของมัน เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของตลาด เนื่องจากในช่วงที่มีโรคระบาดทุกธุรกิจต้องเผชิญกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เราได้เรียนรู้ว่าความเร็วมีความสําคัญไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจดิจิทัลหรือองค์กรแบบดั้งเดิมก็ตาม ธุรกิจที่อยู่รอดจากช่วงที่มีโรคระบาดจึงใช้วิธีการใหม่ในการทําธุรกิจ และธุรกิจเหล่านั้นสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบคลาวด์
บางธุรกิจปรับเปลี่ยนเร็วกว่าคนอื่น บางองค์กรที่มีระบบดั้งเดิมดูเหมือนจะเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ จนถึงวันนี้บ่อยครั้งผมยังได้ยินความคิดเห็นเช่นว่า “มันเป็นเรื่องธรรมชาติของขนาดและความเป็นมาของเรา”
เราต้องลบความเชื่อนั้น ความเร็วไม่ได้ถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าโดยความเป็นมา ความเร็วเป็นตัวเลือกที่องค์กร สามารถทําได้ หากพร้อมที่จะควบคุมและใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ จากบทความล่าสุดของ McKinsey กล่าวว่า “สําหรับซีอีโอ ระบบคลาวด์ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสําหรับการเติบโตของรายได้และประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ระบบคลาวด์มีประโยชน์ในการสร้างความคล่องตัวของธุรกิจ การปรับลดขนาด การสร้างนวัตกรรม และการเพิ่มกำลังผลิต อันเป็นสิ่งจําเป็นต่อเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจที่กว้างขึ้นผ่านทางดิจิทัลทั้งในตอนนี้และในอนาคต”
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในองค์กร
หลายองค์กรสามารถมองหาวิธีการเปลี่ยนวัฒนธรรมในองค์กรเพื่อเพิ่มความเร็ว โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้ความสําคัญกับความเร่งด่วน ในวัฒนธรรมที่ออกแบบมาเพื่อความรวดเร็ว พนักงานจะได้รับการสนับสนุนให้ทดลองและได้รับรางวัลจากการทดลอง ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะไม่สามารถทำได้เหมือนการกดสวิตช์ที่ส่งผลให้เกิดความเร็วในทันที แต่องค์กรต้องสร้างความแนวทางในขณะที่เรียนรู้วิธีสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
Amazon ก่อตั้งมานานเกือบ 27 ปีแล้ว และจนถึงวันนี้เรายังคงรักษาสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมองค์กร “Day 1” หรือทุกวันคือวันเริ่มต้นเอาไว้ เราทําทุกสิ่งด้วยจิตวิญญาณของผู้ประกอบการในวันแรกของการทำธุรกิจ และเรารักษาวัฒนธรรมนี้ด้วยการให้อำนาจแก่ทีมงาน ด้วยการสร้างความเข้าใจว่าพวกเขาทำงานอยู่บนวัฒนธรรมข้อนี้
เราเชื่อว่ายิ่งเราให้ทีมตัดสินใจที่มีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบในทุกระดับได้มากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลดีแก่เราและลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น เราสนับสนุนให้พนักงานตัดสินใจด้วยความรวดเร็วอย่างถี่ถ้วน โดยการกําหนดวิสัยทัศน์และบริบทสําหรับทีม นับตั้งแต่ Amazon ก่อตั้งขึ้นในปี 2537 เราได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่องตามแนวคิดหลัก (เราเรียกว่า Thing big ideas) สามอย่างที่พนักงานทุกคนรู้จักดี สิ่งแรกคือการใส่ใจลูกค้าอย่างจริงจัง สิ่งนี้ถูกหล่อหลอมอยู่ในพันธกิจของเราที่จะเป็น “บริษัทที่ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากที่สุดในโลก” ประการที่สองคือถ้าเรามุ่งเน้นไปที่ลูกค้ามันจะบังคับให้เราสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพื่อมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาแทนลูกค้า ประการที่สามคือการอดทนเพื่อเป้าหมายในระยะยาว ในขณะที่มีความยืดหยุ่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
ดังที่ Jeff Bezos อธิบายว่า “ในลําดับชั้นขององค์กรแบบดั้งเดิม ผู้บริหารระดับต้นได้คิดไอเดียใหม่ที่ต้องการลองทำ พวกเขาต้องโน้มน้าวเจ้านายของเจ้านายของเจ้านายในลำดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งหากคนใดคนหนึ่งบอกว่า “No” ก็สามารถเลิกล้มความคิดทั้งหมดนั้นลงทันที ดังนั้นระบบและกระบวนการภายในที่ระบุ ตรวจสอบ และอนุมัติแนวคิดใหม่ ๆ นั้นมีคุณค่าในการเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเสนอความคิด และผลักดันการทดลองในธุรกิจได้เสมอ ตัวอย่างเช่นที่ Amazon เราทำให้ทีมที่ทำงานใกล้ชิดกับลูกค้าสามารถระดมแนวคิดเพื่อการพิจารณาได้อย่างรวดเร็ว ลองนึกภาพกระบวนการที่ทำให้เสียเวลา หรือกระบวนการที่ส่งผลให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดี ซึ่งทีมบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นประจําแต่พวกเขารู้ว่ามันยากที่จะเปลี่ยนแปลงและไม่คุ้มค่ากับความพยายาม ทำให้ปัญหาถูกจัดอยู่ในประเภท “ยากเกินไป” และไม่มีใครพูดอะไรเลย ทีนี้ลองจินตนาการถึงทีมที่ได้รางวัลจากการแนะนำวิธีแก้ไข ลองนึกภาพว่ากระบวนการนั้นรวดเร็วไม่ก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะทำให้มีไอเดียดี ๆ กี่ไอเดียเกิดขึ้นทุกสัปดาห์
คิดใหญ่และทำเล็ก
การคิดใหญ่เป็นจุดเด่นของนวัตกรรม แต่ในขณะที่เรามุ่งสู่การขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการทดลองมากขึ้น เราควรต้องขจัดความเสี่ยงในกระบวนการด้วย สิ่งนี้หมายถึงการตระหนักว่านวัตกรรมที่ทรงพลังที่สุดมักจะมาจากขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน การกระทำเล็ก ๆ ที่ดูเหมือนเป็นการลดค่าใช้จ่ายหรือประหยัดเวลาที่ไม่มีความสําคัญ แต่สามารถให้ผลประโยชน์มหาศาลแก่ทั้งบริษัทและลูกค้าได้เมื่อปรับใช้ในระดับที่มากพอ การคิดใหญ่ยังหมายถึงการเริ่มต้นความคิดที่ยิ่งใหญ่ด้วยการทดลองเล็ก ๆ ที่ Amazon เราใช้ “two-way doors” หากการทดลองล้มเหลว (ซึ่งมักเกิดขึ้นอยู่เสมอ) เราสามารถย้อนกลับได้แทนที่จะใช้ “one-way door” ที่อาจมีราคาแพงและยากที่จะเลิกทํา ด้วยวิธีนี้คุณจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วด้วยความเสี่ยงที่ต่ำมาก
ตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งของความคิดที่เป็นนวัตกรรมในการเผชิญกับเทคโนโลยีดั้งเดิมคือ Pomelo Fashion สตาร์ทอัพแบรนด์เสื้อผ้าค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ที่เห็นศักยภาพของแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) และตัดสินใจเลิกใช้อัลกอริทึมที่มีมานานที่ไม่ได้นําเสนอผลิตภัณฑ์อย่างชาญฉลาดเพียงพอ หันมาใช้ Amazon Personalize ทำให้แบรนด์สร้างประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการปรับปรุงความสามารถในการค้นหาสินค้าใหม่ คําแนะนําการช้อปปิ้งที่ปรับให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนแบบเรียลไทม์ การใช้เทคโนโลยีนี้ Pomelo Fashion สร้างรายได้ 60% ของการคลิกผลิตภัณฑ์ในร้านค้าออนไลน์ของ Pomelo ผ่านคําแนะนําเฉพาะบุคคลแบบใหม่ ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 15% จากหน้าหมวดหมู่
บริษัทต่าง ๆ ไม่จําเป็นต้องเดิมพันธุรกิจกับเรื่องนวัตกรรม แต่พวกเขาไม่ควรปล่อยให้ความคิดดั้งเดิมรั้งธุรกิจไว้ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถให้กับทีม ปูเส้นเส้นทางสู่คำว่า “Yes” และการใช้การทดลองเล็ก ๆ บริษัทต่าง ๆ สามารถสร้างความสามารถในการส่งเสริมการตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้พวกเขาทํางานด้วยความเร็วแบบ F1