Kaspersky Lab เผยรายงานล่าสุด ดีไวซ์ไร้การดูแล แอพทับถมจำนวนมากก่อให้เกิดภาวะ “ขยะดิจิตอลสะสม”

อาการ ขยะดิจิตอลสะสม (Digital clutter) นี้เป็นกันมากในหมู่ประชากรดิจิตอลทุกวันนี้ ด้วยความก้าวหน้าด้านการจัดเก็บข้อมูล ทำให้มีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากมายที่ใช้งานกันแต่ละวัน แต่น้อยคนที่ใส่ใจดูแลแอพเหล่านี้ จึงกลายมาเป็นช่องโหว่ด้านความปลอดภัยบนอุปกรณ์ที่คุณใช้งานนั่นเอง รายงานล่าสุด โดยแคสเปอร์สกี้ แลปเปิดเผยถึงปัญหาการทับถมของขยะดิจิตอล (digital clutter) ในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

จากการสำรวจพบว่า โดยปกติยูสเซอร์จะลงแอพแอนดรอยด์ 12 แอพทุกเดือน แต่จะลบทิ้งเพียง 10 แอพเท่านั้น คงเหลือ 2 แอพบนเครื่องทุกเดือน ด้วยจำนวนที่เพิ่มขึ้น การบริหารจัดการแอพจึงเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันมิให้เกิด การทับถมของขยะดิจิตอล แต่ยูสเซอร์เพียงประมาณ 55% เท่านั้นที่รีเฟรชเครื่อง และใส่ใจตรวจดูคอนเท็นท์ ลบไฟล์ หรือแอพที่ไม่ใช้ทิ้งไป

การค้นพบนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานฉบับใหม่ที่รวบรวมขึ้นโดยแคสเปอร์สกี้ แลปเกี่ยวกับการทับถมของขยะดิจิตอลและอันตราย เรียกว่า “Digital clutter and its dangers” มาจากข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจออนไลน์ 17 ประเทศ การวิเคราะห์สถิติจากเครือข่ายความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปหรือ Kaspersky Security Network (KSN) และการทดลองประสิทธิภาพของแอพโดยผู้ทดสอบภายในแคสเปอร์สกี้ แลป

การที่ขยะดิจิตอลค่อยๆ ก่อตัวนั้นแสดงว่าอุปกรณ์นั้นต้องการรีเฟรช อัพเดทแอพต่างๆ เพื่อกันมิให้มัลแวร์ที่คอยจ้องอาศัยช่องโหว่ผ่านแอพเหล่านั้นเจาะเข้าอุปกรณ์มาได้ แต่การสำรวจกลับพบว่ายูสเซอร์จำนวนหนึ่งในสี่หรือ (28%) จะอัพเดทแอพบนเครื่องก็ต่อเมื่อโดนบังคับให้ต้องทำเท่านั้น และอีก 10% พยายามที่จะไม่อัพเดทเลย

อันตรายข้อใหญ่ประการหนึ่งคือแอพนั้นๆ จะเป็นตัวก่อความเสี่ยงต่อข้อมูลและอุปกรณ์โดยมาจากกิจกรรมที่ทำอยู่ประจำ นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์เชิงเทคนิคัลโดยแคสเปอร์สกี้ แลปแสดงว่า ผู้ใช้แอพแอนดรอยด์จำนวน 100 รายสามารถบริหารจัดการแอพได้เอง เช่น ติดตั้งและลบออก ยูสเซอร์ 83 รายมีแอคเซสไปถึงข้อมูลที่มีความสำคัญส่วนตัว เช่น ที่ติดต่อ ข้อความและข้อมูลสำคัญ บางรายถึงกับต่อโทรศัพท์และส่งข้อความได้ด้วย

การค้นพบเพิ่มเติมจาก KSN ให้ความกระจ่างถึงวิธีการทำงานของแอพพลิเคชั่นโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากยูสเซอร์ เฉลี่ยแล้ว ยูสเซอร์จะมี 66 แอพบนอุปกรณ์แอนดรอยด์ เมื่อทดสอบตัวอย่าง 66 แอพแอนดรอยด์ที่เป็นที่นิยม พบว่า 54 แอพจะทำงานอยู่ในแบ็กกราวน์โดยที่ยูสเซอร์ไม่ได้เปิดหรือรู้เรื่องด้วยเลย และใช้ทรัพยากรระบบประมาณ 22 Mb ต่อวัน เพื่อรองรับการสื่อสารที่ยูสเซอร์ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเลยสักนิดเดียว

การตั้งค่าแอพพลิเคชั่นช่วยให้ยูสเซอร์ควบคุมจัดการสิ่งที่แอพสามารถแอคเซสได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การสำรวจพบว่าเพียง 40% ของยูสเซอร์ที่ร่วมการสำรวจเท่านั้นที่ใส่ใจปรับค่าเซ็ตติ้งของแต่ละแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของตน และ 32% ที่จะไม่ยอมติดตั้งโมบายแอพเลยหากรายละเอียดข้อตกลงในไลเซ่นส์ไม่เป็นที่พอใจ

อังเดร โมโคลา หัวหน้าฝ่ายธุรกิจคอนซูมเมอร์ แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “อุปกรณ์สื่อสาร รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวของยูสเซอร์ทุกวันนี้ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการคุกคามด้านความปลอดภัย เพราะละเลยที่จะดูแลอุปกรณ์ของตน ทั้งที่ทำได้ง่ายๆ แต่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น คลีน อัพเดทซอฟต์แวร์และแอพ ปรับตั้งค่าเซ็ตติ้ง และยกเลิกแอพที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว การทับถมของขยะดิจิตอลบนอุปกรณ์สื่อสารของคุณ แสดงถึงการจงใจมองข้ามการดูแลแอพพลิเคชั่น แต่กลับปล่อยปละละเลย และปล่อยให้ตัวเองเสี่ยงไปวันๆ

จากความละเลยเช่นนี้นำไปสู่ปัญหาอีกมากมาย เช่น ใช้งานสะดุด ปัญหาอายุการใช้งานของแบตตารี่ หรือการแพร่ระบาดของมัลแวร์ แอพมีแอคเซสไปยังข้อมูลที่มีความสำคัญและข้อมูลส่วนตัวบางส่วนที่เก็บไว้บนอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้งาน และยูสเซอร์เองก็มักลืมความจริงข้อนี้ไปว่า ข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกแชร์ออกไปด้วย เราขอแนะนำให้รีบจัดการ จัดระเบียบปัดกวาดบ้านดิจิตอลของคุณให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดังเช่นห้องที่ได้รับการดูแลให้สะอาด ไม่ยุ่งเหยิงก็จะเต็มไปด้วยพลังสดใสต่อชีวิตและที่อยู่อาศัยเป็นต้น เช่นเดียวกัน คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนที่สะอาดเป็นระเบียบก็จะให้ประสบการณ์ที่ทั้งปลอดภัยและเพลิดเพลินในการใช้งาน”

เพื่อต่อสู้กับความสับสนยุ่งเหยิง และป้องกันข้อมูลส่วนตัวที่มีความสำคัญ ยูสเซอร์ควรจะปฏิบัติตนตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:

• เข้าใจว่าอะไรเก็บที่ไหน – ให้เวลากับอุปกรณ์สื่อสารของตนเอง ไล่ดูว่ามีข้อมูลอะไรในนั้นบ้าง ข้อมูลใดควรเก็บไว้ มีแอพอะไร ไฟล์ใดอยู่บ้าง;

• ‘ทำความสะอาดให้ใสแจ๋ว’ หมายถึงอุปกรณ์ของคุณนั่นเอง – ใช้เวลากับการจัดระเบียบอุปกรณ์ บ้านดิจิตอลหลังนีของคุณให้ดี ให้ทำเป็นประจำ หมั่นดูข้อมูลที่เก็บไว้อุปกรณ์ให้ใหม่เสมอ;

• อัพเดทแอพและซอฟต์แวร์ – อัพเดทเป็นประจำ ทันทีที่มีเวอร์ชั่นใหม่ออกมา;

• ใช้ซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ – ตัวอย่างเช่น ซอฟท์แวร์ทำความสะอาด อาทิ ที่ผนวกมาในซีเคียวริตี้โซลูชั่นเรือธงของแคสเปอร์สกี้ แลป เพื่อทำการสแกนแอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์ที่คุณใช้งาน และทำเครื่องหมายแอพพลิเคชั่นที่ทำท่าจะเป็นตัวเสี่ยง หรือนานๆ ใช้งานที

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here