Kahoot! แพลตฟอร์มการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมระดับโลก ยังคงเปลี่ยนแปลงวิธีที่ผู้คนเรียนรู้ เชื่อมต่อ และมีส่วนร่วม ด้วยผู้เข้าร่วมมากกว่า 11,000 ล้านครั้ง (ไม่นับซ้ำ) นับตั้งแต่ก่อตั้ง Kahoot! ได้เสริมพลังให้กับนักการศึกษา ธุรกิจ และผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตทั่วโลก โดยเปลี่ยนการเรียนรู้ให้เป็นประสบการณ์ที่สนุกสนาน มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพ ด้วยนวัตกรรมของแพลตฟอร์มนี้ Kahoot! จึงกลายเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักในห้องเรียน การฝึกอบรมองค์กร และการรวมกลุ่มทางสังคม ทำให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ผ่านการเรียนรู้แบบเล่น
ผลิตภัณฑ์แห่งนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมและผลลัพธ์การเรียนรู้
หัวใจความสำเร็จของ Kahoot! คือความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เมย์รา โคโปเนน ผู้จัดการการออกแบบการเรียนรู้ของ Kahoot! กล่าวถึงแนวโน้มโลก ความท้าทาย และโอกาสในแวดวงการศึกษา รวมถึงปัญหาขาดแคลนครู นักเรียนขาดความสนใจ และการขาดเรียน พร้อมเน้นย้ำว่าการใช้เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI และประสบการณ์การเรียนรู้แบบเกมมิฟายด์ (gamified) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
“ความกดดันในระบบการศึกษามีอยู่จริง แต่โอกาสในการเปลี่ยนแปลงก็เช่นกัน ที่ Kahoot! เรามีเครื่องมือที่ขยายผลได้และครอบคลุม เพื่อช่วยให้ครูสามารถสอนได้ดีขึ้น และดึงดูดความสนใจของผู้เรียนกลับคืนมา การวิจัยสนับสนุนว่า Kahoot! ช่วยปรับปรุงผลการเรียนรู้ เพิ่มการจดจำและแรงจูงใจ รวมถึงลดความวิตกกังวล ทำให้นักเรียนสามารถประสบความสำเร็จและสนุกไปกับการเรียนรู้” เมย์รา กล่าวเสริม
ภญ.ผศ.ดร. กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ตัวอย่างความสำเร็จจากห้องเรียน: กรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
ประสิทธิภาพของ Kahoot! ได้รับการยืนยันจากเรื่องราวความสำเร็จจริง ภญ.ผศ.ดร. กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้ Kahoot! ในการสอนมานานถึง 9 ปีและยังคงเห็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง งานวิจัยของเธอเรื่อง “ผลของการเรียนรู้ผ่านเว็บ Kahoot! ที่มีต่อทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาทางเภสัชศาสตร์” (เผยแพร่บน ResearchGate) แสดงให้เห็นว่า Kahoot! ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและผลการเรียนของนักศึกษาในวิชาเภสัชจลนศาสตร์คลินิก (Clinical Pharmacokinetics)
“อาจารย์ใช้ Kahoot! เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลายในชั้นเรียน ตั้งแต่การเช็คชื่อนักศึกษา การทบทวนบทเรียนผ่านแบบทดสอบที่โต้ตอบได้ (ควิซ) ไปจนถึงการใช้ระบบรายงานอัตโนมัติของแพลตฟอร์ม Kahoot! ได้เปลี่ยนวิธีการสอนของอาจารย์และวิธีการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างสิ้นเชิง” อาจารย์กรัณฑ์รัตน์กล่าว “แบบทดสอบที่โต้ตอบได้และระบบให้คะแนนแบบเรียลไทม์ทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวาและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนที่โดดเด่นที่สุดคือ Kahoot! สามารถสร้างรายงานเชิงลึกโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาของผู้สอนและสามารถติดตามพัฒนาการของนักศึกษาได้อย่างง่ายดาย”
ประสบการณ์ของ ภญ.ผศ.ดร. กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม แสดงให้เห็นว่า Kahoot! ไม่เพียงแต่ช่วยกระตุ้นความสนใจของนักศึกษาเท่านั้น แต่ยังช่วยลดภาระงานบริหารของอาจารย์ผู้สอน ทำให้เครื่องมือนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษายุคใหม่
อาเธอร์รัม อุดดิน รองประธานฝ่ายพาณิชย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Kahoot!
วิสัยทัศน์ของ Kahoot! สำหรับอนาคต
หลังจากที่ Kahoot! ได้แต่งตั้ง อาเธอร์รัม อุดดิน เป็นรองประธานฝ่ายพาณิชย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Kahoot! (ประจำสิงคโปร์) ในปี 2567 แพลตฟอร์มยังได้เปิดตัว ภาษาไทย ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และยังคงเห็นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทยทั้ง 3 กลุ่มผู้ใช้ (การศึกษา ธุรกิจ และผู้ใช้ทั่วไป) พร้อมศักยภาพการเติบโตในอนาคตทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
อาเธอร์รัม กล่าวว่า “ด้วยนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลไทย เรามองเห็นความต้องการเครื่องมือการเรียนรู้ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในแวดวงการศึกษาและภาคธุรกิจ Kahoot! มุ่งมั่นที่จะนำเสนอเครื่องมือที่ใช้ง่าย ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและผลลัพธ์การเรียนรู้ในทุกบริบท”
เขาย้ำถึงความมุ่งมั่นของ Kahoot! ในการให้บริการฟรีสำหรับครูและนักเรียน เพื่อให้การเรียนรู้เข้าถึงได้ทุกคน “การให้บริการฟรีคือหลักฐานที่แสดงถึงความเชื่อของเราที่ว่าการเรียนรู้ควรเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ ในขณะที่เรายังเห็นองค์กรต่าง ๆ อัปเกรดไปใช้แผนแบบเสียเงินเพื่อเข้าถึงฟีเจอร์เพิ่มเติม” อาเธอร์รัม กล่าวเสริม
ตลอดปี 2568 Kahoot! จะขยายตลาดในเอเชียแปซิฟิกต่อไป โดยมีสำนักงานใน ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย เพิ่มเติมจากสิงคโปร์ และล่าสุดยังประกาศรองรับ ภาษาเวียดนาม ด้วย