ตั้งแต่อดีต ต้องยอมรับว่าอย่างหนึ่งว่าเกมมักเป็นต้นเหตุที่พ่อแม่หรือสื่อหยิบยกมาพูดว่ามันทำให้เด็กมีแนวโน้วจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เล่นเกม ส่วนหนึ่งอาจมาจากทักษะในการควบคุมอารมณ์ที่เด็กนั้นน้อยกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เขาอาจแสดงพฤติกรรมที่เป็นที่เอาแต่ใจออกมา
.
แต่การวิจัยใหม่จาก นักวิทยาศาสตร์ในภาควิชาจิตเวชแห่งมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Network Open ระบุว่า แม้ว่าเด็กจะประสบปัญหาด้านพฤติกรรมมากกว่าเด็กทั่วไป แต่มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะมีความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจที่มากกว่า โดยการศึกษาใหม่นี้มีผู้เข้าร่วมการทดสอบมากกว่า 2,000 คน พบว่าเด็กอายุ 9 และ 10 ขวบที่เล่นวิดีโอเกมมากกว่า 21 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สามารถทำคะแนนในบททดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยับยั้ง การตอบสนองและความจำในการทำงานได้ดีกว่าเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้เล่นเกม หรือเล่นเพียง 1 หรือ 2 ชั่วโมงต่อวัน
.
แต่ทั้งนี้ นักวิจัยเตือนว่าไม่ใช่ว่าทุกเกมจะดีหรือมีประโยชน์เหมือนกันหมดนะ ตัวอย่างเช่น เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง (FPS) เช่น Counter strike หรือเกมอื่น ๆ ในแนวเดียวกันจะมีความรุนแรงจะแตกต่างจากเกมเพื่อการศึกษา เกมวางแผนกลยุทธ์ หรือเกมที่ต้องทักษะในการแก้ปริศนา
.
จากผลลัพธ์นี้ เราสรุปได้คร่าว ๆ ว่าการเล่นเกมนั้นมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะการคิดในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงเรื่องของการตอบสนอง การทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับแก้ปัญหาตรงหน้า สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญคือเนื้อหาของเกมที่ควรจะเป็นเกมแนววางแผน วางกลยุทธ์ หรือการแก้ปัญหา และส่วนตัวเองก็ยังมองว่า ปัญหา Toxic ในเกมยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไป ดังนั้น พ่อแม่ที่มีลูกในวัยใกล้เคียงกับผลการวิจัย ควรเปิดมุมมองทำความเข้าใจในเรื่องของเกม และการเลือกเกมที่จะให้ลูกเล่นครับ
.
อ่านงานวิจัยเต็ม ๆ ที่ได้ >> https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2797596