หลักสูตรใหม่ มธ. โชว์เทคโนโลยี ใช้ AI ช่วยวินิจฉัยโรค

ธรรมศาสตร์ โชว์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับวิศวกรรมเชิงบูรณาการ ฝีมือคนไทย เป็นไฮไลท์เด่นในงานเปิดตัวหลักสูตรใหม่เพื่อตอบรับกับอุตสาหกรรมดิจิทัล
.
นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวชอื่น ๆ
.
ภาวะซึมเศร้า (depression) คือ ภาวะทางจิตเวชที่ผู้ป่วยรู้สึกเศร้า ไร้ค่า และสิ้นหวัง เป็นภาวะทางจิตเวชที่ร้ายแรงที่มีผลกับชีวิตผู้ป่วย หากมีภาวะซึมเศร้าต่อเนื่องยาวนาน อาการต่าง ๆ อาจลุกลามไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง และอาจถึงแก่ชีวิตหรือฆ่าตัวตาย
.
แต่ปัญหาของ ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในปัจจุบันคือจำนวนของผู้ปฏิบัติงาน จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยามีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้ป่วย รวมถึงปัญหาด้านทัศนคติที่ตีตราต่อผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า ทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าไปหาหมอ  คณะผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์สำหรับคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางจิตเวช ด้วยการให้ AI วิเคราะห์คุณลักษณะเด่นของเสียงพูด ใบหน้า และชุดทดสอบทางจิตเวช  PHQ-9 ภาษาไทยจำนวน 32 ข้อร่วมกัน
.
สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการฝึก AI ได้รับความร่วมมือจากทางโรงพยาบาลศิริราชและอาสาสมัครจำนวน 150 คน เพื่อใช้ในสร้างแบบฟอร์มเพื่อชี้วัดความผิดปกติของผู้ป่วยขึ้นมา ทำให้สามารถบ่งบอกได้ว่า ผู้ป่วยคนใดป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และถ้าเป็นแล้ว เป็นในระดับใด รวมทั้งยังสามารถตรวจโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้อีกด้วยครับ
.
GlauCUTU (กลอคูตู) ระบบตรวจวัดลานสายตาด้วยเทคโนโลยีจำลองโลกเสมือน ช่วยคัดกรองโรคต้อหิน
.
โดยโรคต้อหินเป็นโรคทางจักษุที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากและเป็นสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรรองจากโรคต้อกระจก ผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกตัวจนกระทั่งเริ่มสูญเสียการมองเห็นไปบางส่วนแล้ว และประเทศไทยเอง ยังประสบปัญหาการขาดจักษุแพทย์ รวมทั้งเครื่องมือตรวจโรคต้อหินที่มีราคาแพง
.
นักศึกษาจึงได้แนวคิดจะพัฒนา GlauCUTU ขึ้น โดยเป็นแว่น VR ที่เชื่อมต่อกับระบบประมวล มีน้ำหนักเบา พกพาได้ง่าย และราคาย่อมเยา มีความสามารถในการประมวลผลลานสายตาได้เช่นแม่นยำเหมือนกันกับเครื่องตรวจวัดลานสายตาฮัมฟรีย์ที่ราคา 4 – 5 ล้านบาท ซึ่งคาดหวังจะให้ผู้ป่วยโรคต้อหินเข้าถึงการรักษาในโรงบาลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่โรงพบาลขนาดใหญ่
.
การซ่อมแซมรอยร้าวของปูนมอร์ตาร์โดยใช้แบคทีเรีย
.
อันนี้อาจไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์นะครับ แต่ยอมรับว่าชอบเป็นการส่วนตัว โดยนักศึกษาได้แนวคิดจะพัฒนาการซ่อมรอยรั่วจากปูน (ใครจะไปคิดล่ะว่า แบคทีเรียจะใช้ซ่อมรอยร้าวปูนได้)
.
โดยในตัวแบคทีเรียที่นำมาใช้ เป็ตแบคทีเรียที่พบได้ในประเทศไทย เป็นแบคทีเรียชนิด Bacillus subtilis ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ รวมทั้งไม่ก่อโรคในมนุษย์ ซึ่งการนำมาใช้ จะใช้ในลักษณะที่มีการฉีดแบคที่เรียเข้าไปในรอยร้าวของปูนพร้อมกับอาหารของเขา จากนั้นปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในจะทำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคอบอเนต ซึ่งใช้ไปซ่อมรอยร้าวที่เกิดขึ้น และในอนาคตจะมีอาจมีการทำเป็นแบบแคปซูลเพื่อให้การนำไปใช้ ทำได้ง่ายขึ้นด้วยครับ
.
หากถามว่า การใช้ปูนปกติฉาบไปเลยไม่ง่ายกว่าหรอ ? ก็ต้องยอมรับว่ามันอาจจะง่ายกว่า และใช้เวลาเร็วกว่า แต่กระบวนการในการผลิตซีเมนต์ขึ้นมาได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทั้งเรื่องของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซร์และฝุ่น PM 2.5 แต่การใช้แบคทีเรีย เป็นการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้เป็นประโยชน์
.
นวัตกรรมที่ว่ามานี้เป็นผลงานของอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ที่ได้เปิดตัว 4 หลักสูตรใหม่ “วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ” ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและข้อมูล หลักสูตรวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลและการจัดการอุตสาหกรรม และหลักสูตรวิศวกรรมเคมีและการจัดการ เพื่อการสร้างวิศวกรยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่หลากหลายมากขึ้น
.
ที่มา : งานแถลงข่าว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์