เพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าอัตโนมัติด้วยระบบไอทีมอนิเตอริ่งที่มีประสิทธิภาพ

ความต้องการใช้พื้นที่คลังสินค้าของไทยในปี 2566 มีแนวโน้มอยู่ที่ 5.8 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้น 7.0% จากปี 2565 โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่อยู่ที่ระดับ 86.0% และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในปี 2567 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิต การส่งออก และการเติบโตของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ

ที่ผ่านมาคลังสินค้าในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากยุคที่ใช้แรงงานเข้มข้น มาสู่ยุคที่ใช้เครื่องจักรมาช่วยในการทำงาน และก้าวสู่ยุคของคลังสินค้าอัตโนมัติในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มความแม่นยำ ลดต้นทุนด้านแรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น

ระบบอัตโนมัติของคลังสินค้าได้กลายเป็นส่วนสำคัญของคลังสินค้ายุคใหม่ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ตั้งแต่ระบบการจัดวางอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ ไปจนถึงการดึงสินค้าอัตโนมัติ คลังสินค้ากำลังก้าวสู่ระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ แม้คลังสินค้าอัตโนมัติจะเต็มเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เทคโนโลยีปฏิบัติการ (OT) เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ที่ช่วยดำเนินการเป็นจำนวนมาก แต่คลังสินค้าอัตโนมัติก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการผนวกรวมเทคโนยีเหล่านั้นให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้แน่ใจว่า กระบวนการอัตโนมัติทั้งหลายยังคงทำงานได้อย่างดี ไม่มีบกพร่อง รวมถึงระบบที่ช่วยติดตามตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระบวนการอัตโนมัติกำลังทำงานอยู่ โดยเฉพาะการรวมศูนย์ข้อมูลในคลังสินค้าและรายงานบนหน้าจอเดียว  เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ต่างๆ จะอยู่ในสถานะที่ดีที่สุดอยู่เสมอ

องค์ประกอบสำคัญของระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ

ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

ประการแรก อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ได้แก่ อุปกรณ์มาตรฐานของเครือข่ายและระบบ รวมถึงคอมพิวเตอร์ เซิฟเวอร์ อุปกรณ์เครือข่าย รวมถึงสวิตช์ เราทเตอร์ ไฟร์วอลล์ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ

ประการที่สอง ระบบการจัดการคลังสินค้า (WMS) ซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการคลังสินค้า สินค้าคงคลัง ห่วงโซ่อุปทาน และซอฟต์แวร์ควบคุมคลังสินค้า

และประการที่สาม อุปกรณ์เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบและควบคุมสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม รวมถึงอุปกรณ์พิเศษต่างๆ เช่น PLC (Programmable logic controllers)) คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม เครื่องจักร หุ่นยนต์ ยานพาหนะ ระบบ SCADA และระบบ DCS (Distributed Control Systems)

แม้ว่าการทำงานในพื้นที่คลังสินค้าอัตโนมัติอาจเชื่อมต่อถึงกัน (เช่น ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ทำงานบนเครือข่ายไอที) แต่แต่ละพื้นที่ก็ทำงานแยกกัน ดังนั้นเมื่อพูดถึงการตรวจสอบ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยทีมงานในการตรวจสอบว่าคลังสินค้าโดยรวมดำเนินงานได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมจึงต้องการการมอนิเตอร์แบบองค์รวม ที่รวบรวมข้อมูลที่ต้องตรวจสอบทั้งหมดไว้บนแดชบอร์ดเดียวกัน

ทำให้การตรวจสอบแบบองค์รวมเป็นจริง

เช่นเดียวกับในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรและมอเตอร์มีบทบาทสำคัญในระบบอัตโนมัติของคลังสินค้า ลองนึกถึงมอเตอร์บนสายพานลำเลียงหรือหุ่นยนต์หยิบสินค้าอัตโนมัติ และเช่นเดียวกันในการผลิต การตรวจสอบสภาพของเครื่องจักรเหล่านี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันการหยุดชะงักของเครื่องจักรโดยไม่จำเป็น การมอนิเตอริ่งเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนโดย Paessler PRTG มีประโยชน์อย่างมากในเรื่องนี้ เพราะการตรวจวัดข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักรโดยปกติจะใช้เซ็นเซอร์ IIoT แล้วเปรียบเทียบข้อมูลนั้นกับแนวโน้มในอดีตและข้อมูลอื่นๆ เพื่อคาดการณ์ว่าจะต้องเข้าซ่อมบำรุงเครื่องจักรเมื่อใด

ระบบอัตโนมัติในคลังสินค้าอาศัยเครือข่ายในการสื่อสารเป็นอย่างมาก และในคลังสินค้าสมัยใหม่มักใช้เครือข่ายไร้สายและแน่นอนว่าการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครือข่ายเหล่านี้ทำงานได้ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับระบบอัตโนมัติ

และที่สำคัญที่สุด ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายไร้สายได้ (เช่น เราทเตอร์ สวิตช์ อุปกรณ์ปลายทางและอื่นๆ) โดยใช้ฟังก์ชันทั่วไป เช่น SNMP หรือ REST APIs และยังสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้

เป้าหมายโดยรวมคือการนำข้อมูลการตรวจสอบทั้งหมดมารวมที่ PRTG เพื่อให้ได้ภาพรวมเดียวของทั้งหมด ด้วยวิธีการนี้ทีมไอทีสามารถมอนิเตอร์ความสมบูรณ์ของเครือข่ายและส่วนประกอบต่างๆที่มีความสำคัญในระบบคลังสินค้าอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็วในที่เดียว รวมถึงยังสามารถกำหนดค่าเพื่อแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบ

หากคุณมีคลังสินค้าในหลายสถานที่ สิ่งสำคัญคือต้องรวบรวมข้อมูลการตรวจสอบจากแต่ละแห่งไว้ในแดชบอร์ดเดียวกัน เพื่อให้คุณสามารถตรวจสอบสภาพและสถานะของคลังสินค้าแต่ละแห่งได้ทันที ซึ่งสามารถทำได้โดยการติดตั้งเครื่องมือกระจายการมอนิเตอร์ (Remote Probe) ในคลังสินค้าแต่ละแห่ง ที่สามารถส่งข้อมูลการมอนิเตอร์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ PRTG เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดยังคงรวมอยู่ในที่เดียวกัน

Paessler PRTG ยังทำให้ระบบอัตโนมัติของคลังสินค้าง่ายขึ้นโดยการให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับสถานะของระบบอัตโนมัติของคลังสินค้า ช่วยให้ระบุและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น PRTG สามารถตรวจสอบอุปกรณ์และระบบได้หลากหลาย รวมถึง IT, OT และโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย

บทความโดย

 เฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Paessler

 

 

 

 

 

เกี่ยวกับ PAESSLER AG

Paessler เชื่อว่าการมอนิเตอร์ระบบมีบทบาทสำคัญในการลดการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ เพราะการมอนิเตอร์ข้อมูลจะช่วยให้ลูกค้าประหยัดทรัพยากรทั้งในเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างระบบ IT, OT และ IoT ตลอดจนลดการใช้พลังงานหรือการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่ออนาคตและเพื่อสิ่งแวดล้อมของเรา ดังนั้น Paessler จึงนำเสนอโซลูชันการมอนิเตอร์ระบบสำหรับธุรกิจต่างๆ ในทุกภาคส่วนและทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ อีกทั้ง Paessler ยังร่วมมือกับพันธมิตรที่มีชื่อเสียง เพื่อร่วมกันจัดการกับความท้าทายในด้านการมอนิเตอร์ระบบในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเช่นทุกวันนี้

Paessler ได้เปิดตัว PRTG Network Monitor เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นการผสานองค์ความรู้เชิงลึกด้านการมอนิเตอร์ระบบเข้ากับจิตวิญญาณแห่งนวัตกรรมอันทันสมัย โดยในวันนี้มีผู้ใช้มากกว่า 500,000 ราย ในกว่า 170 ประเทศ ที่ใช้ PRTG เพื่อมอนิเตอร์โครงสร้างระบบ IT, OT และ IoT ที่ซับซ้อน ดังนั้นผลิตภัณฑ์ของ Paessler จึงมอบศักยภาพให้แก่ลูกค้าเพื่อให้สามารถมอนิเตอร์ได้ทุกจุดที่ต้องการ และช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด