ฟัง สร้างนวัตกรรม SAMSUNG

“ผู้นำที่ดีต้องรู้จักอดทนรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง เพราะถ้าไม่มีท่าทีรับฟังก็จะไม่มีลูกน้องคนใดกล้าเสนอความเห็นที่นอกกรอบและองค์กรนั้นก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลง” ลี กอน ฮี ได้กล่าวไว้

 

ny120229012

ถ้าพูดถึงสมาร์ตโฟนในดวงใจที่ทุกคนฝันอยากเป็นเจ้าของ เชื่อได้ว่าต้องเป็น iPhone และ Samsung Galaxy อย่างแน่นอน ดูเหมือนว่าจะมีคนพูดถึงวิธีคิดหรือความสำเร็จของสตีฟจอปส์แห่ง Apple อยู่เยอะมาก แต่สำหรับ Samsung แล้วจะมีสักกี่คนที่รู้ว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
พี่มิ้งค์จำได้ว่าสมัยเด็กๆ เวลาที่เราพูดถึงเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ Samsung จะหมายถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกเกรดต่ำ ไม่มีใครอยากใช้ จองดีต้องเป็นสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่น แต่มาถึงวันนี้ Samsung คือสินค้าคุณภาพที่ทุกคนยอมรับ โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกเมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อนของ Samsung โชว์นวัตกรรมจอสี และเสียงโทร.เข้าที่ไพเราะกว่าเสียงโมโนโทนเหนือกว่า “โนเกีย” ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในยุคนั้น พี่มิ้งค์ยังแอบคิดในเวลานั้นเลยว่า Samsung ต้องบ้าแน่ๆ ที่อาจหาญตั้งราคาแพงเว่อร์ขนาดนั้น แต่สุดท้าย Samsung รุ่นนั้นก็ประสบความสำเร็จ

ต้องยอมรับว่า Samsung ลงทุนไปกับการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาก และความสำเร็จนี้คงต้องให้เครดิตกับ “ลี กอน ฮี” ที่รับสืบทอดกิจการมาจากรุ่นพ่อ “ลี เบียง ชอล” พี่มิ้งค์ได้รับฟอร์ดเวิร์ดเมล์จากพี่ที่เครารพท่านหนึ่งส่งมาให้ โดยเนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสอนของพ่อที่มอบให้เป็นคาถาในการทำงานของลูกอย่าง “ลี กอน ฮี” บุตรชายคนที่ 3

เขาเรียกลูกชายมาที่ห้องทำงาน แล้วหยิบพู่กันจุ่มหมึกเขียนข้อความสั้นๆ “จงรับฟัง” นี่คือ คาถาข้อแรกของการเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กรใหญ่ที่พ่อมอบให้กับลูก”ลี เบียง ชอล” รู้ซึ้งถึงสัจธรรมของ “อำนาจ” ว่ายิ่งมีอำนาจมาก ยิ่งรับฟังน้อยลง และเมื่อ “พูด” มากกว่า “ฟัง””ความรู้ใหม่” ก็ไม่เกิด
ทั้งที่ “ลี กวน ฮี” เป็นคนพูดเก่งแต่จุดเด่นของเขากลับอยู่ที่การรับฟัง ฟังเพื่อนนักธุรกิจ ฟังนักวิชาการ ฟังผู้บริหาร ฟังพนักงาน จากนั้นจึงเริ่มตั้งคำถาม “ทำไม-ทำไม-ทำไม ฯลฯ” ว่ากันทุกปัญหา “ลี กวน ฮี” จะตั้งคำถามว่า “ทำไม” อย่างน้อย 6 คำถาม ผู้นำที่ดีต้องรู้จักอดทนรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง เพราะถ้าไม่มีท่าทีรับฟังก็จะไม่มีลูกน้องคนใดกล้าเสนอความเห็นที่นอกกรอบและองค์กรนั้นก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลง

คาถาบทที่สองที่ “ลี เบียง ชอล” มอบให้กับลูกชายผู้สืบทอดกิจการ ก็คือ “ไก่ไม้” ซึ่งก็คือไม้ที่แกะสลักเป็นตัวไก่ โดยมีที่มาจากนิทานโบราณของของจวงจื่อปราชญ์คนหนึ่งของจีน เรื่องมีอยูว่ามีคนเลี้ยงไก่ชนชื่อดังคนหนึ่ง ชื่อจี้ เซิง จื่อเป็นคนเลี้ยงไก่ชนให้กับโจว ซวน อ๋อง วันหนึ่งโจว ซวน อ๋อง นำไก่ชนตัวหนึ่งมาให้เลี้ยง โดยมอบหมายให้เขาฝึกให่ไก่ตัวนี้ ผ่านไป 10 วัน โจว ซวน อ๋อง ก็ถามเขาว่า “ไก่ชนใช้ได้หรือยัง”
“ยังไม่ได้ เพราะมันยังเดินกร่างอยู่ ทะนงตน ท้าทายไปทั่ว” จี้ เซิง จื่อ ตอบ ผ่านไปอีก 10 วัน “โจว ซวน อ๋อง” ก็ถามด้วยคำถามเดิม “ไก่ชนใช้ได้แล้วหรือยัง”

คำตอบหมือนเดิมแต่เหตุผลเปลี่ยนไป “ยังไม่ได้ ตอนนี้ไม่ท้าทายไก่ตัวอื่นแล้ว แต่มักจะโดดตีถ้าไก่ตัวอื่นเข้าใกล้” ทุก 10 วัน “โจว ซวน อ๋อง” ถามด้วยคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก คำตอบค่อยพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากที่ยังใช้ไม่ได้ จนในที่สุดก็ตอบว่าพอใช้ได้แล้ว เพราะเมื่อไก่ตัวอื่นขัน ก็ไม่แสดงอาการตอบ มันนิ่งเฉยราวกับเป็นไก่ไม้ และเมื่อเห็นไก่ตัวอื่นก็ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ ไก่ตัวอื่นเห็นก็ไม่กล้าเข้าใกล้ เดินหนีไปหมด นิทานเรื่องนี้ต้องการบอกให้รู้ว่าความสงบสยบเคลื่อนไหว ผู้บริหารที่ดีต้องใจเย็น สงบนิ่งในสถานการณ์ที่กดดันให้ได้ “นิ่ง” เหมือน “ไก่ไม้”

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here