ไทยใช้เอง หุ่นยนต์น้องแฮปปี้ ส่งสารรังสีในโรงพยาบาล

หุ่นยนต์น้องแฮปปี้

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้มะเร็งต่อมไทรอยด์ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคคลากรทางการแพทย์

โดยปกติแล้ว การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ คนไข้จะต้องกลืนแคปซูลที่ภายในบรรจุสารรังสีไอโอดีน เพื่อที่จะให้ตัวยาเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งที่อยู่ในลำคอ แต่ที่ผ่านมา หมอและพยาบาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ก็มีโอกาสได้รับรังสีด้วยเช่นกัน จากการเข้าไปพูดคุยสอบถามอาการ ตรวจเช็คร่างกาย วัดความดัน นำส่งอาหารรวมทั้งสารรังสีไอโอดีนเข้าไปให้คนไข้ ซึ่งหากมีการสะสมนาน ๆ ก็จะส่งผลต่อเสียต่อสุขภาพของเจ้าหน้าที่ในระยะยาวครับ

ดังนั้น จึงมีการคิดค้นหุ่นยนต์นำส่งสารรังสีขึ้นมา ชื่อว่า “น้อง Happy” ซึ่งที่มาของชื่อ มาจากแนวคิดการออกแบบหุ่นยนต์ มันถูกออกแบบโดยผสานความเป็นมนุษย์เข้ากับเทคโนโลยี Human-Tech Technology ในแนวคิด Humanize ทำให้มีรูปลักษณ์ลวดลายสีสัน หน้าจอและเสียงที่ให้ความรู้สึกเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน รวมทั้งตอนที่เข้าไปหาคนไข้ ก็จะเดินยิ้มเข้าไปเลย และทำให้คนไข้มีความสุขได้นั่นเองครับ

ความสามารถของ หุ่นยนต์น้องแฮปปี้

+นำส่งสารรังสีรังสีไอโอดีน ไปให้กับคนไข้  โดยไม่ส่ผลกระทบกับแพทย์ หรือพยาบาล

+ การแพทย์ระยะไกล หรือ Tele Medicine ผ่านระบบวิดีโอคอล ช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างแพทย์ พยาบาลและผู้ป่วย เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

+ วัดสัญญาณชีพของผู้ป่วย โดยในระหว่างที่เข้ารับการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน สามารถเชื่อมโยงส่งข้อมูลภาพและผลตรวจแบบเรียลไทม์ พร้อมระบบจัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์

+ สามารถตรวจสอบการเปรอะเปื้อนรังสีในพื้นที่ให้บริการหรือห้องพักผู้ป่วยภายหลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยแสดงผลของปริมาณรังสีในรูปแบบ Heat Map ด้วยสีที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ เพิ่มความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการเข้าดูแลพื้นที่ให้บริการหรือห้องพักผู้ป่วย ที่อาจมีการเปรอะเปื้อนรังสีอยู่ในปริมาณมาก

+ สามารถนำส่งอาหารเข้าไปได้ด้วยเช่นกันครับ

ทั้งนี้ ตัวหุ่นยนต์ สามารถสั่งการด้วย Tablet ทั้งการกำหนดเส้นทาง การระบุห้องคนไข้ สั่งให้กลับมายังตำแหน่ง Stanby ใช้คำสั่งเพื่อเปิดกล้อง Video Call กับคนไข้ ก็ทำได้หมดเลย

ในส่วนของเทคโนโลยี หุ่นยนต์จะมีการเชื่อมต่อผ่านระบบคลาวด์ เพื่อรับคำสั่งต่าง ๆ นั่นแปลว่าจะต้องมีการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แม่นยำ โดยทรูได้ออกแบบให้หุ่นยนต์สามารถใช้ได้ทั้งโครงข่าย 5G รวมถึง Wi-FI ที่ติดตั้งภายในอาคาร เพื่อให้การทำงานของหุ่น ไหลลื่นมากที่สุด

ที่มาข้อมูล
งานแถลงข่าว True และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย