โลก Metaverse ไม่ใช่แค่เกม แต่เป็นโอกาสของทุกคน

Metaverse

ในโลกที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่น่าสนใจ Metaverse ก็เข้ามาทำให้โลกแห่งเทคโนโลยีนั้นโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ด้วยศักยภาพของ “real-time 3D internet” จะเข้ามาช่วยให้การทำงาน การเล่น ความบันเทิง และการพบปะสังสรรค์ เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น
.
Metaverse หรือ เมตะเวิร์ส เป็นแนวคิดแห่งอนาคตที่ส่วนใหญ่มีอยู่ในปัจจุบันในการเล่นเกมออนไลน์แล้ว แพลตฟอร์มเช่น Roblox และ Fortnite ของ Epic มีการนำเสนอรูปแบบเกมที่มีสภาพแวดล้อมเสมือนจริง (VR) ช่วยให้ผู้เล่นได้พบปะ (เป็นอวตาร) และเล่นเกมหรือเพียงแค่ดูประสบการณ์ร่วมกันในแบบเรียลไทม์ ตัวอย่างเช่น ฟุตบอลโลก 2019 Fortnite World Cup มีผู้ชม 2.3 ล้านคนในรอบชิงชนะเลิศ และในปี ในปี 2018 มีรายงานว่าชาวจีน 200 ล้านคนเข้าชมการแข่งขัน League of Legend World Championship
.
อย่างไรก็ตาม เมตะเวิร์สนั้นเป็นมากกว่าแค่การเล่นเกม ซึ่งยังเป็นแพลตฟอร์มที่กำลังเข้ามามีส่วนสำคัญกับสินค้าและแบรนด์ต่าง ๆ โดยตลาดสำหรับการซื้อชุด อาวุธ ทรงผมและเครื่องประดับในเกมนั้นใหญ่จนน่าตกใจ โดย L’Atelier BNP Paribas บริษัทวิจัยด้านการตลาดของฝรั่งเศส มีการระบุข้อมูลไว้ว่า ใช้จ่ายเงินในเกมสำหรับสินค้าอย่าง เสื้อผ้าดิจิทัลและการอัปเกรดตัวละครจะเพิ่มขึ้นเป็น 129 พันล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปี 2564 โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 109 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2562
.
จากความบันเทิงสู่สินค้าและแบรนด์
Vogue Business Gucci เริ่มเดินเครื่องเมตะเวิร์ส โดยการเปิดร้านให้คนเข้าเยี่ยมผ่าน Gucci Garden เสมือนจริงบนแพลตฟอร์ม Roblox ภายในเวลาเพียงสองสัปดาห์ มีผู้ใช้มากถึง 20 ล้านคนเข้าชมและหลายแสนคนซื้อไอเทมอวาตาร์รุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่นหลายชิ้นจากทางร้านค้าเสมือนจริง และกระเป๋ารุ่น Dionysus ของ Gucci นั้นขายได้ราคามากกว่าราคาปกติของทางร้านเสียอีก
.
นอกจากนี้ แบรนด์อย่าง Fashion house Balenciaga ร่วมมือกับ Epic Games เพื่อเปิดตัวคอลเลกชั่นฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวปี 2021 ผ่าน VR โดยนำเสนอชุดเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับในเกมพิเศษ รวมถึงสินค้าที่จับต้องได้ผ่านเกม
.
ในขณะเดียวกัน Ralph Lauren ได้ออกแบบเสื้อผ้าเสมือนจริงให้กับคนในเครือข่ายโซเชียลของเกาหลีใต้
.
Stella McCartney Fashion designer ชื่อดัง ได้ขายของสะสมเสมือนจริง รวมถึงกระเป๋าโท้ท แว่นกันแดดรูปหัวใจ ผ่านแพลทฟอร์ม Metaverse อย่าง ZEPETO
.
แบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดอาจมองว่าตลาดเกมออนไลน์เป็นตลาดเฉพาะ แต่นั่นอาจไม่ใช่อีกต่อไป นี่อาจเป็นโอากาสสำคัญที่แบรนด์ต่าง ๆ จะปรับตัวเข้าสู่เทรนด์นี้ และด้วยบริษัทใหญ่อย่าง Facebook ที่รีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta และประกาศแผนการลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างแพลตฟอร์มเมตะเวิร์สทำให้หลายแบรนด์จะเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น
.
แพลตฟอร์มสำหรับคอนซูเมอร์กำลังเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ผู้บริโภคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสมือนจริง เช่น Balenciaga ที่ข้ามผ่านระหว่างโลกทางกายภาพและโลกเสมือนจริง ตลอดจนพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการทำการตลาดสินค้าของตน
.
อาจจะบอกได้ว่า ตอนนี้เมตะเวิร์สยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น แพลตฟอร์มนี้ยังมีความต้องการจ้างานบุคคลากรในทักษะใหม่ ๆ ทักษะการออกแบบกราฟิกที่มีอยู่จะต้องเสริมด้วยทักษะใหม่ใน VR และแอนิเมชั่น นอกจากนี้ เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยใหม่จะต้องมีความแข็งแกร่งมาก ๆ เพราะหากใครใช้ชีวิตอยู่บน Metaverse หากเค้าโดนขโมยตัวตน ก็เหมือนเค้าเสียชีวิตในโลก เมตะเวิร์สเลยก็ว่าได้
.
Metaverse ดาบสองคม
ทั้งนี้เมื่อพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เมตะเวิร์สนั้นก็เป็นดาบสองคม การปรับปรุงประสบการณ์และบริการเสมือนจริงจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเดินทางหรือลดกระดาษที่พิมพ์ออกมาได้มากขึ้น แต่การใช้คอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น (มาก ๆ) ซึ่งปัจจุบัน พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ในโลกนั้นมาจากถ่านหินหรือฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สกปรกและสร้างมลพิษอย่างมาก
.
ทำให้เมตะเวิร์สจะเข้ามาท้าทายบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการมูฟตัวเองเข้าไปสู่โลก 3D นี้ เนื่องจากพวกเขาต้องสร้างสมดุลระหว่างกลยุทธ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
.
สรุปก็คือเมตะเวิร์สถือเป็นโอกาสสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ใช่แค่เกมหรือธุรกิจเพื่อความบันเทิง และยังเป็นโอกาสสำหรับการสร้างงานใหม่ ๆ ที่กำลังต้องการแรงงานทั้งฝั่งออกแบบ กราฟิก อนิเมชั่น และความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ แต่แม้เมตะเวิร์สจะทำให้คนไม่ต้องออกจากบ้าน ช่วยลดการทำเอกสาร ลดคาบอร์นได้ก็จริง แต่ในอีกมุม พลังงานที่ต้องใช้เพื่อประมวลผลในโลก Metaverse นั้นก็มหาศาลจนไม่แน่ใจว่าโลกนี้จะมีทรัพยากาเพียงพอต่อความต้องการไปได้อีกกี่ปีครับ…
.
ที่มาข้อมูล
forbes.com

อ่านบทความอื่น ๆ ของ Techhub