วิธีต่อกรกับภาวะเงินเฟ้อ ด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีของบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม

เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่งให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียรายได้และเสี่ยงที่จะกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า  ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านราคาที่อาจทำให้ยอดขายลดลง บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจึงควรตรวจสอบค่าใช้จ่าย พอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ และ
กลยุทธ์ด้านกำไรแบบองค์รวม ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นบริบทของความผันผวนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และเน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ธุรกิจและซัพพลายเชนจะต้องมีการปรับตัวและความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งหากธุรกิจจัดการได้อย่างเหมาะสม ความท้าทายด้านเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสที่ขับเคลื่อนให้เกิดความต้องการด้านนวัตกรรมและระบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง

ปัญหา 4 ประการที่เกิดจากเงินเฟ้อ พร้อมวิธีรับมือ :

  1. ความขาดแคลนและการเปลี่ยนแปลงส่วนผสม

นอกจากสภาพอากาศที่รุนแรงและความแปรปรวนตามฤดูกาลแล้ว ความขัดแย้ง การหยุดชะงักของ
ซัพพลายเชน และแรงกดดันทางการเมือง ยังมีส่วนทำให้เกิดเงินเฟ้อและราคาวัตถุดิบทางการเกษตรพุ่งทะยานสูงขึ้น  ดังที่เห็นได้จากตัวอย่างล่าสุดคือ สงครามยูเครน-รัสเซียที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในการส่งออกธัญพืช ข้าวสาลี และน้ำมันพืช ทำให้เกิดการขาดแคลนส่วนผสมอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารทั่วโลก

เพิ่มการมองเห็นทั้งระบบ – ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดส่งด้วยการมองเห็นทั้งระบบแบบเรียลไทม์ตลอดระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่เกษตรกรและซัพพลายเออร์ต้นน้ำ ผ่านการแปรรูปไปจนถึงผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าปลีกปลายน้ำในระบบ ซึ่งจะช่วยให้ทีมจัดซื้อสามารถจัดรูปแบบและดำเนินการตามแผนทางเลือกได้

ตรวจสอบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ – ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถลดความเสี่ยงในการขาดแคลนส่วนผสมได้อีกทางหนึ่ง ด้วยการกระจายทางเลือกด้านวัตถุดิบและซัพพลายเออร์ให้หลากหลายขึ้น  หรือหากส่วนผสมขึ้นราคาจนไม่อาจอธิบายได้ (หรือไม่สามารถแบกรับภาระด้านนี้ไว้ได้อีกต่อไป) การลดการผลิตสินค้าบางชนิดอาจเป็นทางเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ปรับปรุงการวางแผนซัพพลายเชน – โซลูชันสำหรับการวางแผนซัพพลายเชนที่ทันสมัยสามารถช่วยให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มวางแผนและคาดการณ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยควรเป็นแบบที่มีแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ติดตั้งไว้ในตัวเบ็ดเสร็จเพื่อให้คาดการณ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น และตอบสนองตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและราคา เป็นต้น

มองการณ์ไกล – การคาดการณ์และการวางแผนที่แม่นยำจะช่วยให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มเข้าใจ
ความต้องการระยะยาวของตน ทำให้สามารถเจรจาสัญญากับซัพพลายเออร์ได้อย่างมั่นใจเพื่อการันตีว่าจะมีสินค้าเมื่อต้องการ  ในบางกรณีผู้ผลิตอาจล็อกราคาไว้ได้ด้วย ทำให้บริษัทไม่ต้องปรับขึ้นราคาในอนาคต

  1. ต้นทุนของราคาเชื้อเพลิง พลังงาน และค่าขนส่งที่พุ่งสูงขึ้น

การปิดท่าเรือคอนเทนเนอร์ระหว่างการแพร่ระบาดยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องในระบบซัพพลายเชน
ทั่วโลก  มิหนำซ้ำต้นทุนพลังงานและราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นก็ยังเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์อาหารแพงขึ้นอย่างมาก  ทุกภูมิภาคแม้แต่ประเทศที่กฎระเบียบด้านความยั่งยืนมีการผ่อนปรนเพราะมีท่อส่งน้ำมันและเชื้อเพลิงต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า

วางแผนกลยุทธ์การขนส่ง – เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่ง เช่น เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เครื่องบินขนส่งสินค้า และรถพ่วงหัวลากส่งสินค้าระยะไกล เป็นต้น การรับประกันประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เน่าเสียง่ายอาจต้องเลือกซัพพลายเออร์ใหม่ ๆ ที่อยู่ใกล้ผู้ผลิตมากขึ้น  ดังนั้น ซอฟต์แวร์ที่ทกให้มองเห็นภาพรวมและการวิเคราะห์ต้นทุนที่ครอบคลุมทั้งระบบ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การจัดซื้อเชิงรุก

พิจารณาการจัดหาในท้องถิ่น – หากเลือกได้ ผู้บริโภคจะชอบผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นและเป็นออร์แกนิกมากกว่า แต่ก็ต้องเผชิญกับทางเลือกที่จำกัดและการพึ่งพาผลิตผลที่มาจากท้องถิ่น  การเปลี่ยนแปลงของค่าขนส่งที่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก ทำให้อาจต้องพิจารณากลยุทธ์ในการนำการผลิตกลับจากประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำอย่างละเอียดอีกคร้้ง  ซึ่งเมื่อหักลบค่าขนส่งที่สูงกับเงินที่ประหยัดได้จากค่าแรงที่ต่ำแล้ว การย้ายโรงงานผลิตกลับบ้านเกิดจึงเป็นขั้นตอนที่สมเหตุผลหากมีแรงงานพร้อม

เอาต์ซอร์สโลจิสติกส์ – การใช้บริษัทโลจิสติกส์ภายนอก (third-party logistics: 3PL) สามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดส่งถึงปลายทางได้  การทำงานกับ 3PL นั้นเหมือนกับการทำงานร่วมกับพันธมิตรเชิง
กลยุทธ์อื่น ๆ ที่สามารถจัดการได้ดีที่สุดผ่านโซลูชันระบบคลาวด์ที่ยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับการแชร์ดาต้าโดยที่ยังคงปกป้องความปลอดภัยและการกำกับดูแลข้อมูลไว้ได้

  1. ประสบการณ์ของลูกค้าและการเตรียมการณ์

เงินเฟ้อส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลก บางคนคาดว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังจะมาถึง ซึ่งเป็นภาพที่บั่นทอนการลงทุนหนักขึ้นไปอีก  ไม่ว่าผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะควรแบกรับความผันผวนของราคาหรือส่งต่อต้นทุนที่สูงขึ้นให้แก่ลูกค้าก็ตาม ล้วนเป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ต้องพบพานมาโดยตลอด  ทว่า การลดขนาดบรรจุภัณฑ์และคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาราคาให้คงที่นั้นสามารถส่งผลเสียย้อนกลับได้ เนื่องจากผู้บริโภคที่รอบรู้เริ่มให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และอาจแชร์ข่าวประเภทนี้ให้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียได้

รักษาคุณภาพ – ผู้ผลิตอาจถูกจูงใจให้เปลี่ยนซัพพลายเออร์หรือส่วนผสมเพื่อประหยัดต้นทุน แต่การทำเช่นนี้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะไม่เป็นไปตามประกาศผลิตภัณฑ์  โซลูชันการจัดการไลฟ์ไซเคิลผลิตภัณฑ์สามารถจำลองผลการเปลี่ยนซัพพลายเออร์หรือส่วนผสมใหม่ที่กระทบต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียคุณภาพและการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด

จัดการไลฟ์ไซเคิลของผลิตภัณฑ์ – แม้ว่าคุณภาพและการปฏิบัติตามข้อกำหนดเป็นเรื่องที่ไม่สามารถประนีประนอมได้ แต่ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มก็ควรมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ประหยัดกว่า ซึ่งอาจรวมถึงการปรับลดสายการผลิตสินค้า หรือการทบทวนการใช้ส่วนผสมที่นับวันจะยิ่งหายากขึ้นทุกที  ดังนั้น โซลูชันจัดการไลฟ์ไซเคิลผลิตภัณฑ์สามารถช่วยผู้ผลิตลดเวลาที่ต้องใช้ในการพัฒนาและจัดการผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมบรรลุผลในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและการติดฉลาก

จัดการสต็อกในคลังสินค้า – การจัดการสต็อกคลังสินค้าอย่างมีกลยุทธ์จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจัดการกระแสเงินสดและลดทุนที่จมอยู่ในสต็อกได้ดีขึ้น  เนื่องจากการดิสรัปของซัพพลายเชนได้เปลี่ยนวิธีคิดของผู้ผลิตเกี่ยวกับการจัดส่งแบบทันเวลา ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการเพิ่มปริมาณสต็อกอย่างรอบคอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียจากส่วนผสมที่หมดอายุหรือวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ล้าสมัย  ซอฟต์แวร์วางแผนสินค้าคงคลังสามารถช่วยให้ผู้ผลิตเข้าใจถึงความแตกต่างของกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเลือกแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสม

ทำให้กระบวนการเป็นอัตโนมัติ – หากปรับสูตรอาหารไม่ได้แถมลูกค้าก็ไม่ยอมให้ขึ้นราคา การปรับเพิ่มการผลิตและประสิทธิภาพผ่านระบบอัตโนมัติอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรับมือกับผลกระทบของเงินเฟ้อ  ระบบอัตโนมัติสามารถใช้ได้ตั้งแต่ใช้ขจัดการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนและปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ ไปจนถึงเพิ่มการจดจำภาพด้วยแมชชีนเลิร์นนิง (ML) เพื่อทำให้งานที่ใช้แรงงานมากซึ่งเมื่อก่อนต้องใช้สายตาและการตัดสินใจของมนุษย์ เป็นอัตโนมัติ 

  1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์

ผู้ผลิตสามารถใช้นวัตกรรมเพื่อช่วยบรรเทาแรงกดดันที่เกิดจากเงินเฟ้อและต้นทุนส่วนผสมที่เพิ่มขึ้น  แต่จะต้องขจัดไซโลด้านไอทีระหว่างแผนกต่าง ๆ ออกให้หมดเพื่อคว้าโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง เพราะการทำเช่นนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูล ระบบธุรกิจและกระบวนการเดียวกันได้ ทำให้บริษัทสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะดึงดูดใจผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

แนะนำสูตรอาหารใหม่ – เมื่อเงินเฟ้อบีบให้บริษัทอาหารต้องเปลี่ยนซัพพลายเออร์หรือเปลี่ยนส่วนผสม ความสามารถในการคำนวณสูตรอาหารและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่จึงมีความสำคัญ และกระบวนการนี้ก็เป็นอะไรที่ซับซ้อนและใช้เวลานานเกินกว่าจะใช้วิธีแบบแมนนวล  โซลูชันจัดการไลฟ์  ไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสามารถจัดการกระบวนการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับข้อกำหนด ต้นทุน และความยั่งยืนให้เหมาะสม

ยืนหยัดทางเลือกใหม่ – อีกวิธีที่ผู้ผลิตอาจใช้รับมือกับเงินเฟ้อได้ คือ การสร้างสาขาใหม่ แนวคิดการขายใหม่ ๆ หรือออกโมเดลใหม่สู่ตลาด โซลูชันระบบคลาวด์ให้การปรับใช้ที่รวดเร็ว ช่วยให้ตอบสนองได้อย่างคล่องตัว  โซลูชัน two-tier ERP แบบสองระดับที่แยกจากกันและมีการปรับแต่งระบบที่แตกต่างกันให้
ความยืดหยุ่นสูง อาจเป็นวิธีที่รวดเร็วในการแยกสาขาออกจากธุรกิจและระบบ ERP ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
โดยยังคงสามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันการทำงานใหม่ ๆ ที่ทันสมัยได้

เอาชนะความผันผวน

เงินเฟ้อได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจคาดการณ์ว่าความผันผวนและต้นทุนที่สูงอาจเป็นประเด็นระยะยาว  ทั้งนี้ ผู้ผลิตสามารถรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้โดยการตรวจสอบกระบวนการซัพพลายเชน บริการ และพอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของตน โซลูชัน ERP บนระบบคลาวด์ที่ทันสมัยสามารถช่วยธุรกิจในการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและค้นหาโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมสำหรับปัญหาที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ  การทำงานเชิงรุกและเชิงกลยุทธ์สามารถสร้างความแตกต่างให้กับผู้ผลิตและทำให้พวกเขาแตกต่างจากคู่แข่งได้

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์