ทีมวิศวกรจาก MIT ได้พัฒนาแบตเตอรี่ขนาดจิ๋วที่อาจใช้กับหุ่นยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถนำไปใช้ในงานต่างๆ เช่น การส่งยาเข้าไปในรักษาในร่างกายเราได้ตรงจุด หรือตรวจจับก๊าซที่รั่วตามท่อส่งก๊าซ
แบตเตอรี่นี้มีขนาดเล็กมาก เพียง 0.1 มิลลิเมตร และบางเพียง 0.002 มิลลิเมตร เทียบเท่ากับความกว้างของเส้นผมมนุษย์ ตัวแบตทำงานโดยการดึงออกซิเจนจากอากาศมาทำปฏิกิริยากับสังกะสี เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 1 โวลต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับวงจรขนาดเล็กอย่าง เซ็นเซอร์ หรือระบบขับเคลื่อนขนาดเล็ก
ต้องยอมรับว่า แบตจิ๋วนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานภายนอก หรือก็คือไม่ต้องชาร์จนั่นแหละ
โดยทีมวิจัยกำลังพยายามพัฒนาแบตเตอรี่นี้ต่อเพื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้มากขึ้น และพัฒนาระบบและส่วนต่อประสานที่เข้ากันได้ เพื่อให้สามารถรวมเข้ากับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
รอดูกันครับว่า ในอนาคต เราอาจส่งยาคีโม เข้าไปที่เซลมะเร็งได้ตรงจุด และไม่ทำให้อวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้รับผลกระทบ การรักษา ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา
techspot