Group-IB ลงนามสัญญาพันธมิตรกับ nForce เปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลขึ้นในประเทศไทย

Group-IB บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้จัดแถลงข่าวประกาศแผนการที่จะเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัล (Digital Crime Resistance Center) ขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งการลงนามในสัญญาความร่วมมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) ผู้แทนจำหน่ายและผู้เชี่ยวชาญทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity)

ภายใต้ความร่วมมือนี้ nForce จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของ Group-IB ที่รวมกันอยู่ภายใต้ชื่อกลุ่มผลิตภัณฑ์ Unified Risk Platform ของ Group-IB ซึ่งเป็นระบบนิเวศของโซลูชันที่เข้าใจโปรไฟล์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กรและสามารถปรับแต่งการป้องกันให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้แบบเรียลไทม์โดยผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานเพียงอินเทอร์เฟซรูปแบบเดียว (A Single Interface)

nForce จะจัดตั้งทีมรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Incident Response : IR) ทีมแรกของตนขึ้นในประเทศไทย โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Group-IB Digital Forensics & Incident Response ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สะสมยาวนานมากกว่า 70,000 ชั่วโมงในการดำเนินการรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกที่ทาง Group-IB ดูแลอยู่

Group-IB จะให้การฝึกอบรมและการสนับสนุนช่วยเหลือโดยเฉพาะแก่ทีมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ของ nForce เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (IR) ในประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและทำให้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานสำหรับการวิเคราะห์เชิงนิติวิทยา (Forensic Analysis) ง่ายขึ้น โดยทีมงานของ nFroce จะได้รับการติดตั้งโซลูชัน Managed Extended Detection and Response ของ Group-IB เพื่อการนี้

nForce เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทย โดยเป็นผู้นำในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ และ nForce ยังมีพันธมิตรมากกว่า 100 รายครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายที่มีสถานะที่แข็งแกร่งเป็นพิเศษในตลาดภาคการเงิน ส่วน Group-IB มีเป้าหมายที่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยและร่วมช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยให้สามารถจัดการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้นทุกวัน

จากรายงานแนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูงประจำปี 2565/2566 (Hi-Tech Crime Trends Report 2022/2023) พบว่าบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยตกเป็นเป้าการคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยตกอยู่ในอันดับที่ 5 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีบริษัทถึง 27 แห่งที่เป็นเหยื่อถูกขโมยข้อมูลโดยแรนซั่มแวร์นำขึ้นไปโพสต์เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ที่เปิดเผยข้อมูลรั่วไหลโดยเฉพาะ (dedicated leak sites) ระหว่างช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 จนถึงครึ่งแรกของปี 2565 เนื่องจากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนจริงของการโจมตีโดยแรนซั่มแวร์นั้นน่าจะสูงกว่านี้มาก เนื่องจากหลายบริษัทเลือกที่จะจ่ายค่าไถ่ แนวโน้มที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือความสนใจที่เพิ่มขึ้นของอาชญากรที่ทำตัวเป็นนายหน้าขายบริการเจาะการเข้าถึงระบบเครือข่าย (Initial Access Brokers : IABs) ขององค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ตามข้อมูลการค้นพบจากทีมข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Intelligence) ของ Group-IB พบว่า IABs มีความพยายามขายการเข้าถึงระบบเครือข่ายบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยถึง 28 แห่งในช่วงเวลาเดียวกัน

ในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลของ Group-IB ที่จะจัดตั้งขึ้นที่ประเทศไทยได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช่ำชองในด้าน Threat Intelligence, Digital Forensics & Incident Response, Cyber ​​Investigations, Digital Risk Protection รวมถึงนักวิเคราะห์จาก Computer Emergency Response Team  ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรซึ่งได้ถูกทดลองและทดสอบมาแล้วหลายครั้งในกว่า 60 ประเทศ พร้อมทั้งทีมงานของ Group-IB ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของ nForce จะผสานร่วมกันเสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันทางดิจิทัลของบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยด้วยการจัดตั้งทีมงานนิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ (Digital Forensics and Incident Response : DFIR) ระดับแนวหน้าขึ้น

การรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางดิจิทัลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องจะทำให้เข้าใจขอบเขตของภัยคุกคามได้อย่างชัดเจนและสามารถพัฒนามาตรการที่เหมาะสมเพื่อยับยั้งภัยคุกคามนั้น รวมทั้งยังสามารถป้องกันเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่มีทักษะสูงของ Group-IB จะทำการฝึกอบรมบุคลากรของ nForce เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่หลากหลาย ทีมงานของ Group-IB ใช้เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย Threat Intelligence อันล้ำสมัย และมีประวัติผลสำเร็จในการทำงานที่ถูกพิสูจน์แล้วในเรื่องของการสืบสวนและแก้ไขคดีอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น ตัวถอดรหัส (Decryptor) ของ Group-IB ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงาน DFIR ของบริษัทเองสามารถทำการถอดรหัส Hive Ransomware รุ่น 4 ที่อื้อฉาว และสามารถช่วยถอดรหัสปลดล็อคระบบเครือข่ายขององค์กรทางการแพทย์ในประเทศไทยที่เคยถูกโจมตีจากแรนซั่มแวร์ตัวนี้ได้สำเร็จ

“nForce ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Group-IB ซึ่งเป็นผู้นำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก สำหรับการจัดตั้งทีม Incident Response ในครั้งนี้ จะช่วยให้องค์กรในประเทศไทยสามารถยับยั้งและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันถ่วงที ด้วยทีมช่วยเหลือในการตอบโต้เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายแก่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัยในยุคดิจิทัล ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์และบริการของ Group-IB จะทำให้ nForce มีความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากขึ้น ด้วยบริการจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพจาก nForce ร่วมกับ Group-IB รวมถึงโซลูชันต่างๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ทางด้าน Cybersecurity สำหรับปี 2566 บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตอยู่ที่ 15-20% จากการลงทุนโปรเจ็กต์ต่างๆ ของลูกค้าภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย ประกอบกับการที่หลายธุรกิจเดินหน้าทำ Digital Transformation ทำให้ดีมานด์การใช้เทคโนโลยีมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน” นายนักรบ เนียมนามธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) กล่าว

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับ nForce ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากในตลาดประเทศไทยและจะช่วยเราขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้ การเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลและความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายพันธกิจระดับโลกของเราในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ประเทศไทย เราเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกันกับ nForce และเรามุ่งมั่นที่จะสร้างทีมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ประกอบด้วยมืออาชีพที่กระตือรือร้นซึ่งมุ่งมั่นที่จะสร้างพื้นที่ไซเบอร์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น” Dmitry Volkov ซีอีโอของ Group-IB กล่าว

เกี่ยวกับ nForce Secure

บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยนำเสนอ สินค้าที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงในแต่ละหมวดสินค้า ซึ่งจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ (1) End Point Security, (2) Network Security, (3) Network Performance and Monitoring และ (4) อื่นๆ เช่น Encryption Solution, Software ที่เกี่ยวข้องกับ Authentication และ Software ที่เกี่ยวข้องกับ Archiving เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกด้วย เช่น บริการด้านการติดตั้ง (Installation) บริการบำรุงรักษา (Maintenance) รวมไปถึงบริการปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งานระบบ หรือซอฟต์แวร์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่าย และบริการฝึกอบรมการใช้งานระบบ (Training)

กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท คือ ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (System Integrator หรือ SI) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ของผู้ใช้งานโดยตรง (End User) และออกแบบติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ โดยนำเสนอในรูปแบบโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยตรงในระดับองค์กร ซึ่งผู้ใช้งานโดยตรงประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการนี้ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยีจะทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (Distributor) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยตัวแทนจำหน่ายจะทำหน้าที่จัดหาและจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้ได้ตรงตามระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้รับเหมารวบรวมระบบออกแบบตามความต้องการ ทั้งนี้ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (SI) ที่เป็นลูกค้าหลักของบริษัทนั้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพทางธุรกิจ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ทำโครงการต่างๆ ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

เราภาคภูมิใจที่ได้นำเข้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์การรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเข้ามาจัดจำหน่ายภายในประเทศ ด้วยอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่องและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนการสร้างความสำเร็จให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Vendor) รวมไปถึงลูกค้าที่เป็น ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (System Integrator) ผ่านการให้บริการแบบครบวงจร ด้วยบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล

เกี่ยวกับ Group-IB

Group-IB มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่นชั้นนำที่ทุ่มเทให้กับการตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ การสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง การระบุการฉ้อโกงทางออนไลน์ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีศูนย์ข่าวกรองและการวิจัยภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Intelligence and Research Centers) ของบริษัทตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง (ดูไบ) เอเชียแปซิฟิก (สิงคโปร์) และยุโรป (อัมสเตอร์ดัม)

Unified Risk Platform ของ Group-IB เป็นระบบนิเวศของโซลูชันที่เข้าใจโปรไฟล์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กรและสามารถปรับแต่งการป้องกันให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้แบบเรียลไทม์โดยผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานเพียงเพียงอินเทอร์เฟซรูปแบบเดียว (A Single Interface)

Unified Risk Platform ให้ความคุ้มครองที่สมบูรณ์แบบครบถ้วนตลอดห่วงโซ่การรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผลิตภัณฑ์และบริการของ Group-IB ที่รวมอยู่ภายใต้ Unified Risk Platform ของ Group-IB ได้แก่ Threat Intelligence, Managed XDR, Digital Risk Protection, Fraud Protection, Attack, Surface Management, Business Email Protection, Audit & Consulting, Education & Training, Digital Forensics & Incident Response, Managed Detection & Response, and Cyber Investigations.

ระบบ Threat Intelligence ของ Group-IB ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในประเภทเดียวกันโดย Gartner, Forrester และ IDC ส่วนผลิตภัณฑ์ Managed XDR ของ Group-IB ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับการค้นหาเชิงรุกและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนและไม่เคยรู้จักมาก่อน ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดในประเภทผลิตภัณฑ์ทางด้าน Network Detection and Response โดย KuppingerCole Analysts AG ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ชั้นแนวหน้าของยุโรป และในขณะเดียวกันก็ได้ให้การยอมรับ Group -IB ในฐานะเป็น Product Leader และ Innovation Leader  อีกด้วย

อีกทั้งผลิตภัณฑ์ Fraud Protection ของ Group-IB ยังได้รับการเสนอชื่อ (Representative Vendor) ให้อยู่ในรายงานผลิตภัณฑ์การตรวจจับการฉ้อโกงออนไลน์ของ Gartner นอกจากนี้ Group-IB ยังได้รับรางวัล Innovation Excellence Award จาก Frost & Sullivan สำหรับผลิตภัณฑ์ Digital Risk Protection (DRP) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI-driven) สำหรับการระบุและบรรเทาความเสี่ยงทางดิจิทัล และต่อต้านการโจมตีการแอบอ้างแบรนด์ โดยใช้เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรของบริษัทเป็นแกนหลัก ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของ Group-IB สร้างขึ้นจากประสบการณ์จริงถึง 19 ปีของบริษัทในการสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลก และมากกว่า 70,000 ชั่วโมงของการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สะสมอยู่ในห้องปฏิบัติการ DFIR ชั้นนำของบริษัท, รวมถึงแผนกสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง และทีมงาน CERT-GIB ของบริษัทที่บริการช่วยเหลือเหตุฉุกเฉินทางเทคนิคโดยสามารถให้การดูแลได้ตลอดเวลา

Group-IB เป็นพันธมิตรที่ทำงานอย่างแข็งขันในการสืบสวนสอบสวนระดับโลกที่นำโดยองค์กรบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น Europol และ INTERPOL นอกจากนั้น Group-IB ยังเป็นสมาชิกของ EuropolEuropean Cybercrime Centre’s (EC3) Advisory Group on Internet Security ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่าง Europol และพันธมิตรชั้นนำที่ไม่ใช่ผู้บังคับใช้กฎหมาย

ประสบการณ์ของ Group-IB ในการตามล่าภัยคุกคามและแสวงหาข่าวกรองทางไซเบอร์ได้หลอมรวมกันเป็นระบบนิเวศของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ ระบุ และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ภารกิจของ Group-IB คือการปกป้องลูกค้าในไซเบอร์สเปซให้มีความมั่นคงปลอดภัยทุกวัน ด้วยการสร้างและใช้ประโยชน์จากโซลูชันและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ