Grab จับมือ Lyft ให้บริการนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แกร็บ (Grab) ผสานการให้บริการกับ ลิฟท์ (Lyft) แอพพลิเคชั่นด้านการขนส่งที่ให้บริการในกว่า 200 เมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ลูกค้าทั้งสองฝ่ายสามารถใช้บริการแบบข้ามแอพลิเคชั่นได้

grab-2

แกร็บ (Grab) แพลทฟอร์มด้านบริการขนส่งชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศผนึกกำลังการให้บริการ กับ ลิฟท์ (Lyft) แอพพลิเคชั่นด้านการขนส่งที่ให้บริการในกว่า 200 เมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา เดินหน้าข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการโดยสารระดับโลก โดยขณะนี้ ลูกค้า แกร็บ สามารถเรียกใช้บริการโดยสาร ลิฟท์ (Lyft) และ ลิฟท์ พลัส (Lyft Plus) ผ่านแอพพลิเคชั่น แกร็บ เอง ในกว่า 200 เมืองของประเทศสหรัฐอเมริการวมทั้ง ซานฟรานซิสโก, ลอสแองเจลิส และนิวยอร์ก  และในทางกลับกัน ลูกค้าลิฟท์ (Lyft) ก็สามารถเรียกใช้บริการ แกร็บ คาร์ (GrabCar) และ แกร็บ แท็กซี่ (GrabTaxi) ผ่านแอพพลิเคชั่น ลิฟท์ (Lyft) ของตนเอง เมื่อเดินทางอยู่ใน 30 เมือง ใน 6 ประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แกร็บให้บริการเช่นกัน

“แกร็บ (Grab) พร้อมมอบอิสรภาพการเลือกใช้บริการที่ยืดหยุ่นและความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า รวมถึงประสบการณ์ในการเดินทางที่ราบรื่นแม้อยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากเราต้องการนำเสนอบริการที่ดียิ่งไปกว่าสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังไว้” ฮุย หลิง ตัน ผู้ร่วมก่อตั้ง แกร็บ (Grab) กล่าว “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นตลาดท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในระดับสูง ดังนั้น ขณะที่เราต้อนรับนักเดินทางและนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสบริการโดยสารแท็กซี่และรถยนต์ในภูมิภาคของเรา เราก็มองหาโอกาสที่จะนำเสนอบริการโดยสารที่ราบรื่นในต่างประเทศ ผ่านการผสานจุดแข็งและประสบการณ์ที่มีอยู่ร่วมกับพันธมิตรใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน”

ภายใต้การผสานการทำงานของ แกร็บ (Grab) และ ลิฟท์ (Lyft) ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้บริการโดยสารผ่านแอพลิเคชั่นที่มีด้วยภาษาของประเทศตนเองได้ รวมทั้งสามารถจ่ายค่าบริการผ่านบัตรเครดิตและช่องทางการชำระเงินอื่นๆ อาทิ เพย์พาล, วอลเล็ต (PayPal ,Wallet) เพื่อสัมผัสการเดินทางที่ราบรื่นแบบไม่ต้องกังวลในเรื่องสกุลเงิน ภาษา หรือแม้แต่การดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่ หรือเปิดบัญชีชำระเงินใหม่

การผสานบริการแบบสองทางระหว่าง แกร็บ (Grab) และ ลิฟท์ (Lyft) ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของการจับคู่ผสานบริการแบบสองทางที่เริ่มเปิดให้บริการ ภายหลังจากที่ ตีติ ชูซิ่ง (Didi Chuxing) ผู้ให้บริการแอพโดยสารในจีน, แกร็บ (Grab) จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ลิฟท์ (Lyft) จากสหรัฐอเมริกา และ โอล่า (Ola) จากอินเดีย ประกาศความร่วมมือให้บริการโดยสารระดับโลกเมื่อเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการต่างๆ เหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงนักเดินทางจากประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ที่มีจำนวนรวมกันหลายล้านคนต่อปี

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here