กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทุ่มงบ 1 พันล้าน หนุน StartUp ช่วยให้ภาครัฐบริการสาธารณะได้ดีขึ้น ทําให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐได้สะดวก คาดโต 3 หมื่นล้าน…
สป.วท. ทุ่ม 1 พันล้าน ดึง StartUp ช่วยรัฐ
ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า สิ่งที่วันนี้รัฐบาลให้ความสำคัญคือ การสร้างความพร้อมให้ทุกภาคส่วน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและเอื้อต่อภาคธุรกิจในยุคดิจิทัล การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย
และการขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ เพื่อการก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเป้าหมายในการสร้างเศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด และที่สำคัญยกระดับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย INNOVATION NATIONของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี คือ
- การผลักดันให้สังคมสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม
- การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21
จากเศรษฐกิจของโลกที่เปลี่ยนไวเป็นเท่าทวีคูณ คือข้อพิสูจน์ว่า ประเทศเราจะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของ GDP ของประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5% เท่านั้น ทั้งนี้มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตถูกกว่า
หรือโยกกลับไปผลิตเองโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยทดแทนแรงงาน หรือแรงงานผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมลดลงจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย เพื่อยกระดับประเทศสู่การปฏิรูปประเทศไทยด้วยนวัตกรรม (Reinventing Thailand via Innovation)
- จากที่เคย ทำมาก…ได้น้อย เปลี่ยนเป็น ทำน้อย…ได้มาก
- เปลี่ยนจาก สินค้าโภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้านวัตกรรม
- พัฒนาภาคอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
- พัฒนาภาคการเกษตร ยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตร Smart Farming
- พัฒนาภาคบริการ และการท่องเที่ยว ยกระดับบริการให้มีมูลค่าสูง ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับวัฒนธรรม ต่อยอดภูมิปัญญาวิถีไทย
- เปลี่ยน SME สู่ Smart Enterprise และ Startup ที่มีศักยภาพสูง
- เชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ พัฒนาคุณภาพการบริการที่สะดวก รวดเร็ว
- พัฒนาย่านนวัตกรรม เชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่
- เชื่อมโยงเครือข่ายสู่ระดับนานาชาติ
ประเทศไทย เริ่มทำ “นวัตกรรม” มาแล้ว แต่วันนี้ ต้องก้าวไปข้างหน้า จะต้องแข็งแกร่งขึ้น เพื่อให้ประเทศเติบโต โดยทุกหน่วยงานต้องมาร่วมกัน ต้องบูรณาการกัน เพื่อให้ประเทศดีขึ้น
“นวัตกรรม” เป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่ของภาครัฐ หรือเอกชน เพราะปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามา การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ครอบคลุมแทบทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่ภาคเกษตรกรรม คมนาคม การศึกษา การแพทย์ ไปจนถึงธนาคารและการเงิน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็น “นวัตกรรม” ที่อยู่รอบตัวเราทุกคนทั้งสิ้น
นวัตกรรม เป็นตัวแปรที่ช่วยขยายขีดความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ จนเกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเรายังได้เห็นบริษัทเล็กๆ ทั่วโลก แซงขึ้นมาอยู่แถวหน้าของวงการธุรกิจในเวลาสั้นๆ บริษัทเล็กๆ เหล่านี้พัฒนาธุรกิจอย่างก้าวกระโดด ธุรกิจเหล่านี้ คือ “สตาร์ทอัพ”
Government Procurement Transformation ปลดล็อคข้อจำกัด พัฒนาสตาร์ทอัพ สู่ตลาดภาครัฐ”
งานนี้จะช่วยเบิกทางสตาร์ทอัพสู่เส้นทางจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สร้างมิติใหม่ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพทางนวัตกรรมของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภาครัฐ (Government Technology) ช่วยให้ภาครัฐบริการสาธารณะได้ดีขึ้น ทําให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐได้สะดวก โดยจัดแสดงนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพที่ประสบความ
สำเร็จทางธุรกิจและพร้อมให้บริการแก่ภาครัฐและเอกชน กว่า 80 ราย ใน 7 โซลูชั่น ตั้งเป้าให้เกิดการซื้อขายระหว่างภาครัฐกับสตาร์ทอัพภายในงาน 1,000 ล้านบาท และเผยเป้าหมายตลาดภาครัฐสำหรับสตาร์ทอัพทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภาครัฐ สามารถเติบโตได้ถึง 30,000 ล้านบาท (หรือ 1% ของงบประมาณภาครัฐ)
สิ่งที่วันนี้รัฐบาลให้ความสำคัญคือ การสร้างความพร้อมให้ทุกภาคส่วน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและเอื้อต่อภาคธุรกิจในยุคดิจิทัล การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย และการขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ เพื่อการก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0
โดยมีเป้าหมายในการสร้างเศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด และที่สำคัญยกระดับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย INNOVATION NATION ซึ่ง “นวัตกรรม” เป็นตัวแปรที่ช่วยขยายขีดความสามารถและความคิดสร้างสรรค์จนเกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมา
โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทเล็กๆ ทั่วโลกได้แซงขึ้นมาอยู่แถวหน้าของวงการธุรกิจในเวลาสั้นๆ บริษัทเล็กๆ เหล่านี้พัฒนาธุรกิจอย่างก้าวกระโดด ธุรกิจเหล่านี้ ก็คือ “สตาร์ทอัพ” ซึ่งตลอดระยะเวลา 3-4 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พัฒนาและส่งเสริมสตาร์ทอัพ
เพื่อเป็นนักรบเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ และเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาสตาร์ทอัพในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภาครัฐ (หรือ GovTech) ที่เริ่มมีการตื่นตัวมากขึ้น เพื่อช่วยให้ภาครัฐบริการสาธารณะได้ดีขึ้น ทําให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐได้สะดวก
งานนี้ก้าวเริ่มต้นแรกที่สำคัญของการนำนวัตกรรมของสตาร์ทอัพมาให้ภาครัฐ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาข่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและพัฒนาการให้บริการแก่ประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งจะเป็นการเพิ่มการลงทุนให้กับระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ โดยภาครัฐจะเป็นตัวเร่งการตลาด (Government as a Market Accelerator)
โดยตั้งเป้าให้เกิดการซื้อขายระหว่างภาครัฐกับสตาร์ทอัพเป็นครั้งแรกภายในงานนี้ ไน้อยกว่า 1,000 ล้านบาท พร้อมเผยเป้าหมายตลาดภาครัฐสำหรับสตาร์ทอัพทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภาครัฐ (หรือ GovTech) สามารถเติบโตได้ถึง 30,000 ล้านบาท (หรือ 1% ของงบประมาณภาครัฐ)
ด้าน รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ได้ประชุมร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และหารือแนวทางการจัดงานร่วมกับเลขาธิการ ก.พ.ร. และปลัดกระทรวงต่างๆ ร่วมมือกันเริ่มต้นจัดงานสตาร์อัพแฟร์นี้เป็นครั้งแรก
โดยภายในงานจะมี STARTUP Zone จาก 80 สตาร์ทอัพ จัดแสดงนวัตกรรมที่พร้อมให้บริการแก่ภาครัฐ และเอกชน ใน 7 โซลูชั่น (Solution) ได้แก่
- การพัฒนากำลังคนภาครัฐและการสื่อสารนโยบายสาธารณะ
- การพัฒนาการท่องเที่ยวและส่งเสริมวัฒนธรรมและพื้นที่เรียนรู้
- การบริการสาธารณูปโภค
- การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ
- รัฐบาลดิจิตอล
- ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
- การพัฒนาตลาดในประเทศ
พร้อม Business Matching การให้บริการจับคู่ธุรกิจระหว่างภาครัฐกับสตาร์ทอัพ Procurement Pavilion ให้ความรู้เรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พร้อมการสนับสนุนสตาร์ทอัพจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.,
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย EGAT, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล DGA, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, รพ.อภัยภูเษศ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA เวทีการสัมมนา ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา GovTech และกรณีประสบความสำเร็จและการให้บริการในโซลูชั่นต่างๆ
โดยสตาร์ทอัพที่มีผลงานกับภาครัฐ และเวทีการแข่งขัน GovTech Awards ชิงความเป็นหนึ่งที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปพร้อมกับรัฐบาล โดยสตาร์ทอัพมืออาชีพ ใน 3 โจทย์หลัก ได้แก่
- Digital Government การบริหารและบริการของภาครัฐ เพื่อบริการประชาชนได้อย่างตรงความต้องการและเข้าถึงได้สะดวกขึ้น ในกลุ่ม G2G : ภาครัฐสู่ภาครัฐ G2B : ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ G2E : ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ และ G2C : ภาครัฐสู่ประชาชน
- Ease of Doing Business การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนมีความคล่องตัวและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
- Public Services การบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ด้านการแพทย์ ด้านอาหาร ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะประกาศผลการแข่งขันในวันสุดท้ายของการจัดงาน
การดำเนินงานต่อไปในปี พ.ศ. 2562 ถึงเป้าหมายของการพัฒนาสตาร์ทอัพ คือ Thailand: STARTUP NATION ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น STARTUP Global Hub โดยรัฐและประชารัฐจะต้องร่วมกัน ขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรม และผลักดันให้นวัตกรรมไทยขยายการลงทุนสู่ตลาดต่างประเทศ
ส่งเสริมให้สตาร์ทอัพไทยก้าวข้ามตลาดของไทย 70 ล้านคน ไปสู่ตลาดที่ใหญ่กว่าทั้งในระดับภูมิภาคเอเชีย และตลาดโลกให้ได้ พร้อมกำหนด Position ของประเทศไทยเป็นแพลทฟอร์มสำหรับสตาร์ทอัพจากทั่วโลกเพื่อเข้าสู่ตลาดเอเชีย (Thailand is Startup’s Global Platform of Asia
และมีเป้าหมายภายในปี พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) เพิ่มจำนวนวิสาหกิจเริ่มต้นที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเป็น 1,000 ราย เพิ่มการจ้างงานผู้มีทักษะสูง 50,000 ตำแหน่ง สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ 5% ของ GDP ประเทศไทย ดร. สุวิทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเสริม