ถ้าพูดถึงเรื่องการค้นหาแน่นอนว่า Google คือแหล่งสำหรับใช้ค้นหาข้อมูลและรูปจำนวนมหาศาลได้ง่ายๆ
แต่บนความง่ายก็ใช่ว่าไม่ต้องระวัง เพราะถ้าเราไปเอามาใช้แบบสุ่มสี่สุ่มห้า ก็อาจสะดุดตอไปละเมิดลิขสิทธิแบบไม่รู้ตัวเอาได้
พี่มิ้งค์เคยเขียนถึงเรื่อง “Copy and Paste คือโจรทางวรรณกรรมจริงหรือ?” และ “เช็คก่อนใช้รูป เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม” มาช่วง 2 วีคที่ผ่านมา
ซึ่งตอนที่เขียนเรื่อง “เช็คก่อนใช้รูป เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม” ก็ได้ปิดท้ายด้วยการแนะนำเว็บที่รวบภาพแจกฟรี อยู่ 3 เว็บคือ
- streetwill.co
- lifeofpix
- pixabay
และตอนท้ายพี่มิ้งค์ก็สัญญาว่าจะแนะนำวิธีการตั้งค่าให้ Google ค้นหาภาพฟรีไม่มีลิขสิทธิ์ให้อ่านกัน เพื่อไม่ให้เสียเวลาเข้าเรื่องเลยแล้วกันครับ…
เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยล่วงล้ำเข้าไปใช้คำสั่งพิเศษเหล่านี้ ว่าแล้วมาดูกันเลย
เพราะเราสามารถให้ Google กรองผลการค้นหาเพื่อหารูปภาพ วิดีโอ หรือข้อความที่คุณมีสิทธิ์นำไปใช้ ในการดำเนินการดังกล่าว ให้ใช้ตัวกรองการค้นหาขั้นสูงชื่อ “สิทธิ์ในการใช้งาน”
- ไปที่การค้นหารูปภาพขั้นสูงสำหรับรูปภาพ หรือการค้นหาขั้นสูงสำหรับสิ่งอื่นๆ
- ในช่อง “ทุกคำเหล่านี้” ให้พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา
- ในส่วน “สิทธิ์ในการใช้งาน” ให้ใช้เมนูแบบเลื่อนลงเพื่อเลือกประเภทใบอนุญาตที่คุณต้องการสำหรับเนื้อหา
- เลือกการค้นหาขั้นสูงย้ำอีกครั้งว่าก่อนการนำเนื้อหามาใช้ใหม่ โปรดตรวจสอบว่าใบอนุญาตของเนื้อหานั้นถูกต้องตามกฎหมายและตรวจสอบข้อกำหนดของการนำมาใช้ใหม่ให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ใบอนุญาตอาจกำหนดให้คุณต้องให้เครดิตผู้สร้างรูปภาพเมื่อคุณใช้รูปภาพนั้น Google ไม่สามารถบอกได้ว่าป้ายกำกับของใบอนุญาตนั้นถูกต้องตามกฎหมายไหม เราจึงไม่ทราบว่าเนื้อหานั้นได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
ปิดท้ายกับประเภทของสิทธิ์ในการใช้งาน
- สามารถใช้หรือแชร์ได้อย่างอิสระ: อนุญาตให้คุณคัดลอกหรือนำเนื้อหาไปเผยแพร่ซ้ำได้หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหานั้น
- สามารถใช้ แชร์ หรือแก้ไขได้อย่างอิสระ: อนุญาตให้คุณคัดลอก แก้ไข หรือนำเนื้อหาไปเผยแพร่ซ้ำได้ตามวิธีที่ระบุในใบอนุญาต
- สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์: หากคุณต้องการนำเนื้อหาไปใช้งานในเชิงพานิชย์ โปรดตรวจสอบว่าได้เลือกตัวเลือกที่มีคำว่า “ในเชิงพานิชย์”
แล้วเจอกับพี่มิ้งค์ทุกต้นวีคนะครับ