How Today ฮาวทู ไม่รู้จบ…ฉบับนี้เราจะพามาเรียนรู้กันถึงสิ่งที่เรียกว่า Google wallet ซึ่งหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของ Android อาจจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่กับหลายๆคนอาจจะพอจะเคยได้ยินมาบ้าง หรือไม่เคยเฉียดเข้าไปใกล้ในการใช้งานเลย ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้า Google wallet กันซะหน่อยว่ามันมีไว้ใช้ทำอะไร และใช้ยังไง
สำหรับ Google wallet หน้าที่ของมันก็ตรงตามชื่อเลยก็คือ ทำหน้าที่เป็นกระเป๋าเงินให้กับแอคเคาท์ของผู้ใช้ Google ซึ่งแอคเคาท์ที่ว่านี้ก็คือแอคเคาท์ที่เราใช้ซื้อของใน Play Store นั้นเอง
การ Log in เข้าไปใช้งานก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่พิมพ์คำว่า Google wallet ในการเสิร์ชก็จะปรากฏที่จะพาเราไปที่หน้า Log in ตามภาพ แอคเคาท์ที่ใช้ Log in ก็คือแอคเคาท์ Gmail
เมื่อ Log in เข้ามาแล้ว ในหน้าแรกจะปรากฏส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ เมนู Google(ด้านบนขวามือ) รายละเอียดการซื้อสินค้า แถบเมนูกระเป๋าเงิน และเมนูความช่วยเหลือ
เมนูของ Google ส่วนแรกคือการเรียกใช้โปรแกรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องของ Google เช่น Google+, Gmail หรือ Google Drive เป็นต้น
ถัดมาคือการแจ้งเตือนของ Google+ เช่น การอัพโหลดรูปใหม่ หรือความเคลื่อนไหวต่างๆที่เกิดขึ้นผ่านแอคเคาท์ของ Google
ต่อมาคือการแชร์ ทำได้ทั้งรูปภาพ ปฏิทินกิจกรรมต่างๆ และวิดีโอ
และส่วนสุดท้ายของเมนูนี้ การปรับแต่งบัญชีของผู้ใช้งาน เช่น รูปโปรไฟล์ การเพิ่มบัญชี และการออกจากระบบ
ส่วนสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งของ Google Wallet คือ รายละเอียดการซื้อสินค้าและบริการต่างๆของเราใน Play store ซึ่งจะอยู่ในเมนู ธุรกรรม หากคลิกที่รายการใดรายการหนึ่ง ก็จะมีรายละเอียดการซื้อปรากฏให้เห็นเพิ่มขึ้นมาที่ด้านขวา
รายละเอียดที่เพิ่มขึ้นมาให้ดูจะรวมไปถึง ช่องทางการติดต่อผู้พัฒนาแอพฯนั้นๆ ในกรณีที่เรามีปัญหาการใช้งาน หรือการกดซื้อแอพฯ
ข้อสังเกต: รายการการซื้อเราเห็นในภาพ จะเห็นว่ามีการยกเลิกในบางรายการ ซึ่งบางรายการก็ยกเลิกแบบไม่มีมูลค่า บางรายการก็มี ทั้งนี้ในกรณีที่ยกเลิกแล้วมีมูลค่า 0.00 หมายความว่ารายการนั้น Refund ภายใน 15 นาที แต่หากมีมูลค่าแอพฯตามหลัง คือรายการนั้นยกเลิกหลัง 15 นาที แต่มีการขอ Refund คือเงิน
ถัดมาเราจะมาดูที่เมนู เพิ่มเติม (ขอยก วิธีการชำระเงิน ไปแยกอธิบายเป็นหัวข้อเดี่ยวในหัวข้อถัดไป) เมื่อคลิกเข้าไปจะเห็นอีกหนึ่งเมนูคือ การสมัครรับข้อมูล เป็นการเช็คบริการต่างๆที่เราจ่ายเงินไปเพื่อรับข้อมูลเป็นประจำ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ต่อมาคือ การตั้งค่า (รูปฟันเฟือง) เมนูนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1. ทั่วไป ประกอบไปด้วย การแก้ไขชื่อแอคเคาท์ ที่อยู่ การแจ้งเตือน(บริการข่าวสารผ่าน Gmail) และเปลี่ยน ภาษา
ส่วนที่สองของการตั้งค่า สมุดที่อยู่ ใช้ในการแก้ไขหรือเพิ่มเติมที่อยู่ ที่ใช้ในการส่งบิลบัตรเครดิตหรือส่งสินค้า ที่ซื้อผ่าน Play store ซึ่งหากมีมากกว่า 1 ที่อยู่ ก็สามารถเลือกตั้งค่าได้ว่า จะให้ที่อยู่ไหนเป็นที่อยู่หลัก
และส่วนสุดท้าย ความช่วยเหลือ เป็นการรวบรวมคำถามที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานด้านต่างๆ บนผลิตภัณฑ์ของ Google
จะเห็นว่าการใช้งานกระเป๋าเงินของแอคเคาท์ Google ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย โดยรวมอาจจะเป็นเพราะว่าไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะหากเราจะขอ Refund เงินคืน ก็สามารถทำได้ใน Play store แต่ตัว Google Wallet เองก็ใช่ว่าจะไม่มีความจำเป็นเลยซะทีเดียว เพราะหากเราต้องการเปลี่ยนที่อยู่ในการจัดส่งของ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตรเครดิตก็ต้องมาเปลี่ยนใน Google wallet สถานเดียว (สำหรับวิธีการเปลี่ยนบัตรเครดิตและการชำระเงินสามารถติดตามวิธีการได้ในเรื่องถัดไป)