วันพุธที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา Google Photos ประกาศว่าจะหยุดให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลฟรีไม่จำกัด สำหรับรูปภาพ High Resolution ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2021 เป็นต้นไป รูปภาพที่อัปโหลดหลังจากวันนั้นจะถูกนับรวมในพื้นที่ฟรี 15GB และหากบัญชีของคุณไม่มีการเข้าใช้งานหรือจัดเก็บเกินขีดจำกัด 15GB เป็นเวลา 2 ปี คุณอาจถูก Google ลบรูปภาพหลังจากส่งคำเตือน คำถามคือถ้าคุณใช้งานพื้นที่ฟรีจนเต็มแล้วหละ?
คราวนี้ถึงเวลาที่คุณต้องเลือกว่าจะยอมจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน หรือมองหาตัวตายตัวแทนระยะยาวอื่นๆ
เมื่อได้ยินข่าวนโยบายใหม่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่คุณคนเดียว แต่ผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกคงเริ่มสงสัยว่าควรจะวางแผนจัดเก็บรูปภาพอย่างไรดี ทั้งรูปภาพเดิมที่เก็บไว้และรูปภาพอื่น ๆ ในอนาคต เราได้รวบรวมตัวเลือกในตลาด พร้อมสิ่งที่คุณต้องคำนึงถึงไว้แล้ว เรามาดูกัน!
คลาวด์สาธารณะอื่น? พื้นที่เก็บฟรีไม่จำกัด ไม่มีในโลก
หากคุณไม่อยากเสียเงินและเริ่มคิดจะย้ายไปเก็บที่คลาวด์ฟรีเจ้าอื่น คุณอาจต้องคิดใหม่เพราะแม้ผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ tier-1 ส่วนใหญ่ อย่าง OneDrive, Amazon Drive, Dropbox หรือ iCloud จะให้บริการพื้นที่เก็บฟรี แต่ก็ไม่มีเจ้าไหนที่ให้ขนาดพื้นที่จัดเก็บมากกว่า 15GB ของ Google ซึ่งหมายความว่าสุดท้ายแล้วไม่ว่าคุณจะโยกย้ายไปที่คลาวด์สาธารณะเจ้าไหน เมื่อถึงจุดหนึ่งคุณก็จำเป็นต้องเสียเงินอัปเกรดพื้นที่นั้นอยู่ดี
ทั้งนี้สำหรับ Google Drive เอง ดูเหมือนว่าจะมีการแผนอัปเกรดให้เลือกหลายแผน แต่ถ้าคุณใช้งาน Laptop ที่ใช้ SSD เช่น Macbook หรือสมาร์ทโฟนที่รองรับการจัดเก็บ 256GB แล้วนั้นก็เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 120 เหรียญสหรัฐต่อปี (~3,700 บาท) เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของคุณบนคลาวด์ เมื่อคำนวณค่าธรรมเนียมสะสมรายปีแล้วนั้นก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง
กลับไปใช้ External Hard Drive? แต่ก็เสี่ยงและยุ่งยาก
หากคุณไม่อยากง้อคลาวด์สาธารณะที่มีค่าใช้จ่ายสะสมแล้ว คงหนีไม่พ้นวิธีการเก็บข้อมูลรูปแบบเดิม ๆ อย่าง External Hard Drive แต่เพราะความไม่สะดวกสบายหลาย ๆ อย่าง ทั้งข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลพร้อม ๆ กันเหมือนระบบคลาวด์ ความยากให้การค้นหาไฟล์ข้อมูลเมื่อต้องการ ความเสี่ยงของข้อมูลสูญหาย ทั้งต้องกังวลเรื่องไวรัสและอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากผู้ใช้งาน แถมการโยกย้ายรูปภาพทั้งหมดที่เก็บไว้บนระบบคลาวด์สาธารณะไปยัง External Hard Drive หลายๆ ตัวนั้นก็มีความยุ่งยากอยู่ไม่น้อยทีเดียว
รูปภาพเยอะ? NAS อาจเป็นทางออกในระยะยาวของคุณ
เพราะทั้ง 2 ทางเลือกข้างต้นอาจยังไม่ตอบโจทย์ในการจัดเก็บรูปภาพของคุณในระยะยาว การเป็นเจ้าของคลาวด์ส่วนตัวโดยการใช้ Network-Attached Storage (NAS) ก็เป็นอีกหนึ่งทางออกที่น่าสนใจ สิ่งนี้คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเทราไบต์ (TB) ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านหรือสำนักงานที่มีความปลอดภัยสูง เพราะคุณมีสิทธิ์ความเป็นเจ้าของข้อมูลของคุณ 100 เปอร์เซ็นต์ แถมมาพร้อมคุณสมบัติการปกป้องและกู้คืนข้อมูลในตัว และยังครอบคลุมของการเข้าถึงข้อมูลของคุณไม่ต่างจากคลาวด์สาธารณะที่คุณใช้อยู่ มาดู 3 เหตุผลหลักที่คุณควรมี NAS ในครอบครอง!
ข้อมูลปลอดภัย ด้วยฟีเจอร์การปกป้องและกู้คืนข้อมูลที่ยืดหยุ่น
คุณเคยเผลอลบไฟล์โดยไม่ตั้งใจ ฮาร์ดแวร์อยู่ ๆ ก็ล้มเหลว หรือโดนไวรัสโจมตีหรือไม่ หากคุณไม่อยากเสี่ยงให้รูปภาพที่เก็บไว้รั่วไหลเหมือนข่าวคนดัง หรือเป็นผู้โชคร้ายโดนแฮคข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะเหมือนข่าวครึกโครมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริการคลาวด์สาธารณะที่ปลอดภัยสูงนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด การหันมาใช้โซลูชันใหม่อย่าง NAS นั้นคือคำตอบของคุณ เพราะผู้ให้บริการ NAS หลายเจ้า เช่น Synology มีแอปพลิเคชันสำรองและกู้คืนข้อมูลที่ครอบคลุมแถมมาด้วย ซึ่งช่วยให้คุณสามารถตั้งค่าการปกป้องรูปภาพและข้อมูลต่าง ๆ ของคุณได้ตามต้องการ หมดกังวลเรื่องรูปภาพสูญหายหรือเสียหายไปได้เลย
ไม่ต้องจ่ายแพง ลงทุนครั้งเดียวไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
คำนวณคร่าว ๆ ว่าหากคุณต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 2TB คุณอาจต้องเสียค่าใช้จ่าย 120 เหรียญสหรัฐต่อปี (~ 3,700 บาท) สำหรับแผนพื้นที่บน Google Drive 2 TB เพื่อความคุ้มค่าและรักษาคุณภาพของรูปภาพทั้งหมดของคุณ แต่ถ้าหากคำนวณค่าใช้จ่ายสะสมทั้งหมด 5 ปีเพื่อคงสภาพพื้นที่จัดเก็บของคุณแล้ว คุณอาจต้องจ่ายถึง 600 เหรียญสหรัฐ (~18,100 บาท) ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย
แต่หากคุณเปลี่ยนมาใช้งาน NAS คุณเพียงลงทุนเพียงค่าฮาร์ดแวร์เริ่มต้นเท่านั้น โดยราคาของอุปกรณ์ NAS แบบ 2 ช่อง พร้อมไดร์ฟความจุ 2 TB อีก 2 ตัวเพื่อการทำ RAID (การป้องกันข้อมูลสูญหายด้วยไดร์ฟ) รวม ๆ กันแล้ว ราคาเพียงไม่ถึง 450 เหรียญสหรัฐ (~ 13,000 บาท) ซึ่งถือว่าถูกกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียให้กับคลาวด์สาธารณะในระยะยาวอยู่มาก ไม่นับรวมกับการรับประกันของอุปกรณ์ NAS ที่แถมมา 2 ถึง 5 ปี ทำให้ NAS เป็นฮีโร่ที่น่าจับตามองและเป็นการลุงทุนที่คุ้มค่า
มาพร้อมฟีเจอร์การจัดการภาพถ่ายที่ครอบคลุม
ไม่ต่างจากคลาวด์สาธารณะอย่าง Google Photos เพราะผู้จำหน่าย NAS บางรายมีให้บริการแอพมือถือและอุปกรณ์จัดการรูปภาพที่ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการรูปภาพต่าง ๆ แต่ยังสามารถแชร์และเข้าถึงรูปภาพที่เก็บไว้ได้จากทุกที่ พร้อมกัน ๆ หลายคน สามารถเรียกดูและอัปโหลดรูปภาพในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ NAS ยังมีฟีเจอร์จดจำภาพและการวิเคราะห์เชิงลึกที่ช่วยจัดกลุ่มรูปภาพของคุณตามหมวดหมู่และหัวข้อที่คล้ายคลึงกันได้
สรุปง่าย ๆ ได้ว่า อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่นปรับขนาดได้และมีประสิทธิภาพสูงอย่าง NAS นั้น ตอบโจทย์โซลูชันการจัดการภาพถ่ายทั้งหมดของคุณในเครื่องเดียว คุณไม่ต้องกังวลใจว่าผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะเจ้าไหนจะเริ่มเรียกเก็บเงินค่าบริการเพิ่มเติม หรือจะต้องโยกย้ายรูปภาพหรือข้อมูลของคุณไปที่อื่น รวมถึงปัญหายิบย่อยเรื่องรูปภาพสูญหายกระจัดกระจายหลายช่องทาง หรือค่าธรรมเนียมในระยะยาวอีกต่อไป
นอกจากประโยชน์ทั้งหมดข้างต้นแล้ว ผู้จำหน่าย NAS อย่าง Synology ได้พัฒนาและออกแบบระบบปฏิบัติการให้คุณสามารถใช้งานง่าย เช่นเดียวกับการใช้งานพีซีของคุณ ดังนั้นถึงเวลาบอกลากลลวงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรี และสร้างที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ส่วนตัวของคุณเองด้วย NAS