จับผิด…ภาพส่งต่อหรือเพื่อนแชร์ จริงหรือหลอก ก่อนตัดสินใจเชื่อ!!

ด้วยเพราะปัจจุบันโซเชียลเน็ตเวิร์กได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะสามารถรู้ข่าวต่างๆ ได้เร็วกว่าดูข่าวจากทีวี แต่เพราะ “เร็ว” และ “ง่าย” หลายครั้งโซเชียลเน็ตเวิร์กจึงกลายเป็นแหล่งปล่อยข่าวลือ ข่าวกุ ยิ่งช่วงอุณหภูมิการเมืองร้อนๆ อย่างปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาที่มีผู้ไม่หวังดีจงใจเสี้ยมให้คนไทยตีกันเองด้วยการขุดเอารูปเก่าจากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อครั้งอดีตมาใช้ใหม่ หรือบางครั้งนำรูปจากข่าวประเทศอื่นมาเนียนเป็นเหตุการณ์ในบ้านเราก็มี แล้วเราจะทำอย่างไรดีเพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีเหล่านั้น ?

เว็บ arip.co.th ได้แนะนำวิธีตรวจสอบแหล่งที่มาของภาพ ว่าคือรูปใหม่ หรือไปขุดเอารูปเก่ามาเล่าใหม่ ผ่านบริการ http://images.google.com/

เมื่อเปิดเว็บไซต์แล้วให้เรากด Search by image

Goo1

 

สามารถเลือกวิธีการค้นหาได้ 2 แบบคือ “วาง URL ของภาพ” หรือ Paste image URL และ “อัพโหลดภาพ” หรือ Upload an image ซึ่งเป็นการเปิดภาพที่เราได้เซฟไว้ในเครื่องเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการค้นหาภาพเหมือน ซึ่งถ้าไฟล์อัพโหลดเสร็จ เว็บจะแสดงผลการค้นหาให้เราเลย

Google imageจะแสดงผลการค้นหาให้เราดูว่ารูปภาพที่เราค้นหาเคยไปโผล่ในเว็บอะไรมาก่อนบ้าง ซึ่งเราสามารถไล่ดูวันที่เปรียบเทียบได้ว่ารูปที่กำลังส่งต่อมานั้นเป็นรูปจากข่าวเก่าหรือเปล่า

google image

 

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here