การบริหารสู่ความสำเร็จของ ธอส. เพื่อทำให้คนไทยมีบ้าน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ GH Bank เป็นสถาบันการเงินของรัฐที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างโอกาสให้คนไทยมีบ้านเป็นของตัวเอง ภายใต้การบริหารของนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ทำให้ ธอส. กลายเป็น ใน 3 ของส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยคงค้าง สามารถชี้นำหรือกำหนดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของตลาดได้

Highlight 

  • การคิดอย่างเป็นระบบ
  • พัฒนาเทคโนโลยีเท่าที่คุ้มค่า ไม่มองเป็นเทคโนโลยีแฟชั่น
  • เพิ่มความหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกประเภท

แนวทางการบริหารสู่ความสำเร็จ

จากพื้นฐานความรู้ในด้านการเงินและด้านเทคโนโลยี ทำให้คุณฉัตรชัยสามารถมองเห็นแนวโน้มของธุรกิจธนาคารได้ไม่ยาก โดยทักษะที่ได้รับมาตั้งแต่เรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่สหรัฐอเมริกาคือ การคิดอย่างเป็นระบบ หรือ Systematic thinking เพราะทุกเรื่องที่ต้องตัดสินใจ ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล  

ธอส. ได้เร่งพัฒนาด้านบริการทางดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคารในด้านบริการให้มีความทันสมัย ธนาคารประสบความสำเร็จในการนำระบบปฏิบัติงานหลัก GHB System ขึ้นใช้งานได้ตามกำหนดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 และสามารถให้บริการลูกค้าได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ GHB System ถือเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของธนาคาร ซึ่งบุคลากรของ ธอสทั้ง 4,800 ชีวิต มีส่วนร่วมในการพัฒนาเอง ไม่มีการจ้างที่ปรึกษา โดยใช้ระยะเวลาเพียง 18 เดือนจึงแล้วเสร็จตามสัญญา   

นโยบายธนาคารอาคารสงเคราะห์

GHB System สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจของ ธอสไปได้อย่างน้อย 10 ปี พร้อมรับการแข่งขันในธุรกิจสถาบันการเงิน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ  ซึ่งปัจจุบันธนาคารได้พัฒนา Mobile Application : GHB ALL แอปพลิเคชันเดียวที่ครบ จบ รวมทุกบริการของ ธอสออกแบบมาให้ลูกค้าของธนาคารโดยเฉพาะ ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน 

รวมถึงการชำระด้วย เครื่องชำระหนี้เงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ LRM และ เครื่องชำระหนี้เงินกู้ไร้เงินสด QR Non Cash Payment ที่ถือเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าได้เป็นอย่างมาก ขณะที่ด้านเงินฝาก ธนาคารได้เริ่มนำเครื่องฝากเงินฝากแบบมือถือ Mobile Deposit มาให้บริการรับเงินฝากแก่ลูกค้าตามชุมชนต่าง   

ส่วนงาน Back Office ก็มีการนำระบบ ERP-HR มาปรับใช้เพื่อเป็นเครื่องมือบริหารจัดการกระบวนงานด้านทรัพยากรบุคคลให้คล่องตัวยิ่งขึ้น และยังนำมาช่วยสนับสนุนเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานภายในองค์กรโดยใช้เทคโนโลยี Digital Dashboard เพื่อติดตามการดำเนินงานในเรื่องต่าง  แบบ Real Time  

ด้วยปัจจัยข้างต้น ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธนาคาอาคารสงเคราะห์ สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้จำนวนสาขาของธนาคารไม่มีผลต่อการบริการลูกค้าอีกต่อไป รวมถึงจัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ขยายสินเชื่อและเงินฝากได้ทะลุเป้าหมาย โดยเฉพาะเมื่อปี 2561 ที่ปล่อยสินเชื่อได้เกิน 2 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของธนาคาร เช่นเดียวกับปี 2562 สามารถบรรลุเป้าการปล่อยสินเชื่อบ้านที่ 2.03 แสนล้านบาทได้สำเร็จ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีสินเชื่อคงค้างมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ยอดเงินฝากกว่า 9 แสนล้านบาท 

สินเชื่อ เงินฝาก ของธนาคารอาคารสงเคราะห์

สู่จุดชี้นำอสังหาริมทรัพย์

จากเป้าหมายของธนาคารที่ตั้งไว้ว่าจะต้องเป็น 1 ใน 3 ของส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยคงค้าง ซึ่งปัจจุบัน ธอส.ได้ก้าวมาสู่จุดนี้ได้สำเร็จ เนื่องจากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลและดำเนินธุรกิจให้เติบโต เพื่อนำผลกำไรที่ได้ส่งมอบให้รัฐบาลเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ  

ในการที่จะชี้นำตลาดได้ องค์กรนั้น  จะต้องครองส่วนแบ่งของตลาดในระดับที่คู่แข่งไม่อาจมองข้าม เพราะจะมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้า เมื่อ ธอสสามารถยืนอยู่ในจุดนี้ได้ทำให้เราสามารถชี้นำ หรือกำหนดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของตลาดได้ ทุกครั้งที่ดอกเบี้ยนโยบายลด เราก็ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ธนาคารแห่งอื่นต้องลดดอกเบี้ยตาม หรือถ้าดอกเบี้ยนโยบายขึ้น เราก็สามารถพยุงการขึ้นดอกเบี้ยไว้ก่อน ทำให้คู่แข่งไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ทันที ซึ่งช่วยลดภาระให้แก่ลูกค้าและประชาชนได้ ทำให้ ธอสสามารถเป็นเครื่องมือในการดูแลประชาชน โดยที่เราไม่จำเป็นต้องครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดเสมอไป เพราะอาจทำให้ต้นทุนมากขึ้นเกินไป” คุณฉัตรชัยกล่าว

เมื่อ ธอส. ก้าวขึ้นมายืนอยู่ในจุดที่สามารถชี้นำตลาด ทำให้สามารถลดภาระให้แก่ลูกค้าและประชาชนได้ ทำให้ ธอส. สามารถเป็นเครื่องมือในการดูแลประชาชนโดยที่ไม่จำเป็นต้องครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดเสมอไป เพราะอาจทำให้ต้นทุนมากขึ้นเกินไป

 

ประวัติฉัตรชัย ธนาคารอาคารสงเคราะห์