ไทยมีลุ้น เป็นเจ้าของ Super Computer เร็วที่สุดในอาเซียน ใช้หนุนงานวิจัย

Super Computer
ประเทศไทยกำลังจะมี Super Computer หรือ High Performance Computer (HPC) ที่เร็วที่สุดในอาเซียนแล้วนั่นคือ Frontier ครับ ซึ่งเป็น Super Computer จากทาง HPE มันจะถูกใช้งานโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.ในด้านของงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งจะทำให้สามารถคำนวนงานผลของงานวิจัย ผลทางคณิตศาสตร์ หรืออื่น ๆ ที่เป็นข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ในพริบตา ช่วยย่นระยะเวลาและทำได้ผลการวิจัยเร็วขึ้น
.
ในอนาคต เราจะสามารถเห็นเทคโนโลยี HPC เข้ามาใช้ในการทำงานในองค์กรกันมากขึ้น โดยนำไปใช้ร่วมกับทั้ง AI และ ML ช่วยลดระยะเวลาในการประมวลผลจากที่ใช้เวลานานเป็นวัน ๆ ให้เหลือเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงผ่านทางเทคโนโลยี HPC ปัจจุบันจะเริ่มเห็นการใช้งานในหน่วยงานทั้งอุตสาหกรรมทางการเงิน หรือ หน่วยงานด้านการศึกษาแล้ว
เทคโนโลยี High Performance Computer ถูกนำมาโชว์ในงาน HPE Discover More 2022 อัปเดตเทคโนโลยี การจัดการข้อมูล โชว์นวัตกรรมต่าง ๆ ของทาง HPE และพาร์ทเนอร์ที่ได้ขนโซลูชั่นต่าง ๆ มาร่วมจัดแสดงโชว์ ทั้งเรื่องการบริหารจัดการคลาวด์ การบริหารจัดการข้อมูล การทำ Data Modernization (เอาข้อมูลไปสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร) ระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ ระบบ Backup & Recovery และ High Performace Computing (HPC)
.
ผู้บริหารของทาง HPE คุณ สุรชัย อรรถมงคงชัย ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจว่า ในปัจจุบันธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการทำ Digital Transformation ที่ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ สามารถรันอยู่บน Digital Platform ได้ หากเปลี่ยนช้า อาจทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ตามมา สิ่งสำคัญคือข้อมูลที่จะเอามาสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจมากขึ้น โดย HPE ได้เริ่มให้ความสำคัญในเรื่องของการทำ Data Modernization โดยได้แนะนำตั้งแต่การปรับโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินงาน ทั้งเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งมีการนำเทคโนโลยีประมวลผลเข้ามาใช้งาน เทคโนโลยีการจัดเก็บและสำรองข้อมูล และการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาทำการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ
.
เรื่องถัดมาคือเรื่องของการให้ความสำคัญกับ Data Security โดยปัจจุบัน Ransomware ถือเป็นเรื่องภัยร้ายในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก องค์กรไทยหลายแห่งถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์มากขึ้นเรื่อย ๆ เพียงแต่ไม่ได้เป็นข่าวเท่านั้น โดยจากสถิติมีการประเมินว่าทุก ๆ 11 วินาทีจะมีใครหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ดังนั้นองค์กรไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูล เพราะมูลค่าความเสียที่เกิดขึ้นนั้น อาจมากกว่าการลงทุนระบบความปลอดภัยเสีย ซึ่ง HPE และพาร์ทเนอร์ มีโซลูชั่นที่รองรับกับการโจมตีของ Ransomware ทั้งเรื่องของการทำ Backup & Recovery และการตรวจสอบและป้องกันที่มั่นใจได้ว่างองค์กรจะไม่เกิดความเสียหาย
.
ภายในงานได้มีแนะนำโซลูชั่นที่น่าสนใจอย่างมากคือ
+ ZETRO ระบบป้องกันแรนซัมแวร์และการกู้คืนจาก HPE ที่ สามารถกู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
+ COHESITY โซลูชั่นที่ออกแบบมาสำหรับทำ Data Protection โดยยืนยันได้ว่าข้อมูลขององค์กรจะปลอดภัยจาก Ransomware ได้ร้อยเปอร์เซ็น
+ HPE Greenlake Platform แพลทฟอร์มที่สามรถบริหารจัดการทุกอย่าง ทั้งเรื่องของการบริหารจัดการระบบคลาวด์ การจัดการข้อมูล และการบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ พร้อมทั้งยังสามารถจ่ายค่าบริหารได้แบบ Pay per Use ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและเกิดความคล่องตัวทางการเงินได้มากขึ้น
.
ทั้งนี้ ในเรื่องของการเริ่มต้นใช้งานระบบต่าง ๆ ธุรกิจอาจเกิดคำถามมากมายว่า จะต้องเริ่มจากไหน ใช้งานอะไร ต้องซื้ออะไรบ้าง HPE สามารถเข้าไปให้คำปรึกษาเพื่อดูว่า Painpoint ของลูกค้านั้นเป็นแบบไหน จากนั้นจึงแนะนำ Solution ที่เหมาะสมกับการใช้งานของธุรกิจ โดยในปัจจุบันมีธุรกิจ Startup เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะมีการใช้งานใช้งาน Application เพียงสองสามอย่าง ก็สามารถมาใช้งาน HPE ได้โดยคิดตามงานใช้งานจริง ซึ่งจะได้ทั้งเรื่องของการจัดการข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูล การจัดเก็บและการกู้คืนข้อมูล ทำให้ไม่ต้องลงทุนระบบแพง ๆ
.
นอกจากประเด็นที่น่าสนใจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในงานนี้แล้ว ยังมีส่วนอื่น ๆ ที่เป็นอีโคซิสเต็มที่ทางเอชพีอีทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ โดยจะเป็นในลักษณะที่เป็นโซลูชั่นเชิงลึก เช่น การทำ ระบบภาษี และเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีด้านการแพทย์, รวมถึงการร่วมมือกับผู้ให้บริการเซอร์วิสท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นต้น