แผนที่ของจักรวาล ESA เผยโมเสกภาพแรก ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์ Euclid

ส่องแผนที่จักรวาล เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2024 กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Euclid ของ ESA ได้เปิดเผยส่วนแรกของแผนที่จักรวาลอันยิ่งใหญ่ ซึ่งแสดงดวงดาวและกาแล็กซีหลายล้านดวงได้สมบูรณ์ที่สุด

ส่วนแรกของแผนที่ซึ่งเป็นภาพโมเสกขนาดใหญ่ 208 กิกะพิกเซล ได้รับการเปิดเผยที่การประชุมอวกาศนานาชาติในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี

กว่าจะได้ภาพโมเสกแบบนี้กล้องโทรทรรศน์ต้องสังเกตการณ์มากถึง 260 ครั้ง ในพื้นที่132 ตารางองศาของท้องฟ้า ซึ่งมากกว่าพื้นที่ของดวงจันทร์เต็มดวงถึง 500 เท่า

ภาพโมเสกนี้คิดเป็น 1% ของการสำรวจอวกาศเท่านั้นและ Euclid จะคอยบันทึกภาพตลอดทั้ง 6 ปี ระหว่างการสำรวจนี้ กล้องโทรทรรศน์จะสังเกตรูปร่าง ระยะทาง และการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีหลายพันล้านแห่งที่อยู่ห่างออกไป 10,000 ล้านปีแสง เพื่อสร้างแผนที่จักรวาลสามมิติที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

วิเคราะห์ได้ว่าแผนที่ส่วนแรกนี้มีแหล่งกำเนิดของดวงดาวประมาณ 100 ล้านแห่ง ได้แก่ ดาวฤกษ์ในทางช้างเผือกและกาแล็กซีอื่นๆ 14 ล้านแห่ง เพื่อนำไปศึกษาพื้นที่อวกาศได้มากขึ้น 

กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ไวต่อแสงสามารถจับภาพวัตถุจำนวนมากได้อย่างแม่นยำ เมื่อซูมเข้าไปในภาพโมเสก เราจะมองเห็นโครงสร้างอันซับซ้อนได้อย่างชัดเจน

และพื้นที่ในภาพดังกล่าวถูกสำรวจเสร็จสิ้นไปแล้ว 12% ซึ่งรวมถึงพื้นที่ Euclid Deep Field ที่มีแผนกำหนดปล่อยภาพในช่วงเดือนมีนาคม 2025 

ที่มา : esa 

#Euclid  #กล้องโทรทรรศน์อวกาศ #แผนที่จักรวาล #TechhubUpdate