มนุษย์เรามีเวลาเฉลี่ยบนโลก 20,000 กว่าวัน และต้องใช้งานสายตาทุกวันตลอดอายุขัย เริ่มตั้งแต่ลืมตาตื่นตอนเช้าจนกระทั่งหลับตานอนตอนกลางคืน ตาของเราเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญที่สุดของมนุษย์ เพื่อให้เรามองเห็นตนเองและผู้อื่น อ่านหนังสือ ขีดเขียน เสพย์สื่อ ทีวี ศิลปะ ภาพยนตร์ เดินทาง ขับรถ มองเห็นโลกกว้าง เมื่อเดินทางท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์อย่างสุดจะประเมินค่าได้
ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนเราอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ ลองสังเกตดูว่าในหนึ่งวัน คนเราใช้สายตาจ้องจอสมาร์ทโฟน จอคอมพิวเตอร์ บางทีอาจจะมากกว่าเวลาที่เราใช้มองสิ่งแวดล้อมรอบกาย เสียอีก ในแต่ละวันเราใช้งานสายตาอย่างหนักหน่วง จนเกิดอาการ “ล้า” หรือ “ปวดตา” ซึ่งเป็นสัญญาณร้าย ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาอย่างที่เราคาดไม่ถึง อาทิ ปัญหาสายตาสั้น – ยาวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปวดหัวเพราะตาเชื่อมกับสมองโดยตรง ใช้ตามากก็ใช้สมองประมวลผลสิ่งที่เห็นมากเป็นเงาตามตัว เพราะตื่นมาอย่างแรก เราก็ต้องใช้สายตา จนกระทั่งกลับเข้านอน ตาก็เป็นอวัยวะสุดท้ายที่จะบอกกับเราว่า ‘วันนี้หมดไปอีกหนึ่งวันแล้วนะ’ 6 – 8 ชั่วโมงนั่นจึงถือเป็นเวลาพักผ่อนของสายตา อีก 16 – 18 ชั่วโมงที่เราใช้งานสายตากันแบบไม่ได้พักอีกครั้ง เป็นอย่างนี้ไปจนเราหมดอายุขัย คิดดูว่าคนเราใช้สายตากันหนักขนาดไหน หันมาให้ความสำคัญกับการดูแล “ตา” กันซักหน่อย เพื่อให้ใช้งานได้ในระยะยาวและอยู่กับเราได้อีกนาน
จ้องจอนานเกินไป เสี่ยงเป็น คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
แพทย์หญิงอุษณีย์ เหรียญประยูร จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสายตา ศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬา ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อธิบายว่า “ในปัจจุบัน มีประชากรที่มีปัญหาจากการใช้สายตาจ้องจอนานเกินไปประมาณ 60 ล้านคนทั่วโลก และพบปัญหานี้ได้ร้อยละ 75-90 ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบันประชาชนนิยมการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนมากขึ้น ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและความบันเทิง ทำให้จักษุแพทย์ตรวจพบปัญหาสุขภาพสายตาที่เกิดจากการใช้สายตาจ้องจอเป็นเวลานานได้บ่อยขึ้นและพบได้ในผู้ป่วยทุกเพศ ทุกช่วงอายุ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) หรือ ซีวีเอส (CVS) คือกลุ่มอาการทางตาที่สัมพันธ์กับการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้สายตามองจอระยะใกล้เป็นระยะเวลานาน อาการประกอบด้วย ปวดศีรษะ ตาแห้ง เคืองตา เมื่อยล้าตา มองภาพไม่ชัด ตาแดง น้ำตาไหล เห็นภาพซ้อน ความสามารถในการปรับโฟกัสช้าลง และการมองเห็นสีเปลี่ยนไป อาการดังกล่าวมักจะเริ่มเมื่อผู้ป่วยใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลาสองถึงสามชั่วโมง และจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่หยุดหรือพักการใช้สายตา”
“เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพสายตาที่เกิดจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ควรพักสายตาทุก 20 นาที ด้วยการมองไปที่ไกลจากคอมพิวเตอร์ 20 ฟุต เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที ตั้งจอคอมพิวเตอร์ห่างจากตาอย่างน้อย 20 – 24 นิ้ว ปรับมุมของจอให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 14 – 20 องศา ปรับตำแหน่งของจอเพื่อลดแสงสะท้อน ใช้ผลิตภัณฑ์หรือหน้าจอที่ช่วยลดแสงสะท้อน ปรับความสว่างของจอและห้องให้เหมาะสม กระพริบตาถี่ขึ้น ประมาณ 10-15 ครั้งต่อนาที โดยต้องกระพริบตาให้เปลือกตาปิดสนิท หากเริ่มมีอาการของปัญหาสุขภาพสายตาข้างต้น ควรไปพบจักษุแพทย์” แพทย์หญิงอุษณีย์ กล่าวเสริม
ใช้มอนิเตอร์จอโค้ง ช่วยลดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา
นายบุญเลิศ วิบูลย์เกียรติ รองประธาน ธุรกิจลูกค้าองค์กร ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและไอทีบริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า “ซัมซุงได้ศึกษาไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบัน พบว่า คนยุคนี้ใช้สายตาจ้องผ่านจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และแนวโน้มมีแต่จะเพิ่มขึ้น อีกในอนาคต ซึ่งแสงสีฟ้าที่สะท้อนกลับจากจอเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาอย่างมากมาย ซัมซุงจึงพัฒนานวัตกรรมมอนิเตอร์จอโค้ง ที่คิดค้นมาเพื่อตอบโจทย์เรื่องสุขภาพโดยเฉพาะ ซัมซุง มอนิเตอร์ จอโค้ง (Samsung Curved Monitor) ที่โค้งรับกับสายตา ทำให้มองเห็นและสามารถรับชมภาพจากทุกมุมได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังลดอาการจอสะท้อน เพราะรูปทรงโค้งที่แตกต่างจากจอทั่วไป ทำให้การหักเหของแสงจากสภาพแวดล้อมรอบๆ สะท้อนสู่สายตาลดลง ความพิเศษยิ่งกว่าคือมีรัศมีความโค้งถึง 1800R โค้งเยอะที่สุด เป็นความโค้งที่ลึกกว่ารุ่นอื่นๆ ทำให้มีผลต่อการรับรู้มิติความลึกและตัดการรบกวนรอบข้างแก่ผู้ใช้งานได้อย่าง ยอดเยี่ยม สามารถลดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา ที่คนยุคนี้กำลังประสบอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
ถึงจะหลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้ แต่ก็สามารถดูแลสายตาของเราเองได้ง่ายๆ แค่เลือกใช้จอมอนิเตอร์ที่ช่วยถนอมสายตา เพื่อรักษาดวงตาให้เรามองโลกสวยได้อีกนานๆ