เอปิค เกมส์ (Epic Games) แนะนำให้อุตสาหกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมของไทยใช้ Real-Time Technology

โดย Quentin Staes-Polet, ผู้จัดการทั่วไปแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและอินเดียของ Epic Games

การออกแบบสถาปัตยกรรมถือเป็นงานของมืออาชีพที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ ความแม่นยำและการทำงานร่วมกันค่อนข้างสูง

แต่ทุกวันนี้งานนี้กลับมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากการเดินทางและการประชุมแบบตัวต่อตัวต้องถูกจำกัด ยิ่งไปกว่านั้นกำหนดเวลาในการทำงานดูเหมือนจะสั้นลงเรื่อย ๆ เนื่องจากสถาปนิกและวิศวกรถูกคาดหวังให้ทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

ปัญหาความยากลำบากนี้ที่สถาปนิกต้องเผชิญส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเช่นกัน อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของไทยประสบกับความไม่แน่นอนมากขึ้นกว่าเดิมด้วยความเชื่อมั่นของผู้ซื้อต่อสภาวะเศรษฐกิจที่ลดลงในปัจจุบันและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ในช่วงเวลาเช่นนี้ตัวช่วยใหม่ที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถชมและสัมผัสพื้นที่ในรูปแบบ 3 มิติที่สมจริงนั้นมีประโยชน์อย่างแน่นอน – โดยช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น

ทั่วโลกพบว่า วิธีการที่ผู้คนกับเทคโนโลยีปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในช่วงที่เกิดโรคระบาดได้เปิดโอกาสใหม่ ๆ ขึ้นมากมายและสร้างการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจการออกแบบสถาปัตยกรรมและอสังหาริมทรัพย์ ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อผลักดันให้เกิดการฟื้นตัวโดยเร็วที่สุด

ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเรียลไทม์ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ

อาคารระฟ้าสูงตระหง่านที่เราเห็นรอบตัวเราในกรุงเทพมหานคร แต่ละอาคารไม่ได้เป็นผลมาจากวิชั่นของคน ๆ เดียว แต่เกิดจากความเชี่ยวชาญและความเข้าใจของคนหลายกลุ่มที่ทำงานร่วมกันทำการแปลงออกมาเป็นอาคารทางกายภาพอันหนึ่งอันเดียวกัน บ่อยครั้งที่กระบวนการทำงานร่วมกันนี้เป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากความเห็นที่ต่างกันทำให้งานที่ออกมาไม่เป็นไปตามระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนด – อันเนื่องจากสถาปนิก วิศวกรและผู้ก่อสร้างถูกขับเคลื่อนด้วยมุมมองในการทำงานที่แตกต่างกัน ต่อแต่นี้ไปทุกฝ่ายจะสามารถทำงานและมองเห็นไปพร้อม ๆ กันได้ในทุก ๆ รายละเอียดของโครงการ ทำการปรับปรุงแก้ไขและตรวจสอบให้สอดคล้องกันได้ในทันที

ตามข้อเท็จจริงจากการวิจัยพบว่ากระบวนการและระบบการทำงานร่วมกัน (หรือถ้าขาด) เป็นหนึ่งในความเจ็บปวดที่สำคัญที่สถาปนิก วิศวกร ศิลปินและผู้รับเหมาก่อสร้างต้องเผชิญโดยมีเพียง 6% เท่านั้นที่พึ่งพอใจกับระบบการทำงานร่วมกันในอุตสาหกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมและอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เป็นอยู่ ปัญหานี้กลายเป็นเรื่องที่ท้าทายยิ่งขึ้นเนื่องจากปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถพบปะกันได้แบบตัวต่อตัว

นี่คือจุดที่เทคโนโลยีขั้นสูงสามารถเข้ามาช่วยได้ ตัวอย่างหนึ่งคือเทคโนโลยีการเรนเดอร์ภาพแบบเรียลไทม์ (Real-Time Rendering technology) ซึ่งสามารถช่วยทำให้ภาพในวิชั่นนั้นถูกจำลองออกมาให้เห็นอย่างสมบูรณ์แบบได้ก่อนที่กระบวนการสร้างจริงจะเริ่มขึ้น สิ่งที่น่าสนใจคือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในงานออกแบบสถาปัตยกรรมมีอยู่แค่เพียงในระดับที่ส่วนใหญ่ยอมรับว่ามีไว้ใช้บ้างก็ดีแต่ไม่จำเป็นถึงขั้นคอขาดบาดตายและถูกมองว่าเป็นเพียงวิธีการนำเสนองานให้ลูกค้าดูเท่านั้น

อย่างไรก็ตามสำหรับบริษัทที่กำลังต้องการจะปลดล็อกพลังของตน เทคโนโลยีแบบเรียลไทม์สามารถเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้มากมายและสร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานการออกแบบสถาปัตยกรรม

การใช้เทคโนโลยีแบบเรียลไทม์สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่เริ่มวงจรชีวิตการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม เมื่อทีมงานพยายามถ่ายทอดแนวคิดในการออกแบบอาคารที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ลูกค้าได้ชมโดยการสร้างภาพเสมือน

ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติงานด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมของบริษัทในประเทศอังกฤษชื่อ Allford Hall Monaghan Morris (AHMM) ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแบบเรียลไทม์เพื่อทดสอบตัวเลือกภาพร่างรูปทรงอาคารที่สมบูรณ์ในแบบต่าง ๆ  (Massing options) แต่ละภาพสำหรับโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ล่าสุดของพวกเขาในทำเลใจกลางเมืองที่มีมูลค่าสูงมาก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในทำเลที่ตั้งหลักนี้คือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ารูปแบบอาคารที่จะเลือกมาก่อสร้างสุดท้ายแล้วเหมาะสมเข้ากันได้กับบริบทของภูมิทัศน์ที่มีอยู่รายรอบอย่างกลมกลืน รวมถึงข้อควรพิจารณาต่าง ๆ เช่นปัญหาการจราจรติดขัด Massing เป็นสิ่งสำคัญในการทดสอบความสมบูรณ์ของภาพเสมือนจากการออกแบบ นอกเหนือจากการส่งผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ เช่นผนังและฐานราก การใช้การเรนเดอร์ภาพแบบเรียลไทม์ทำให้การทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายทำได้รวดเร็วและราบรื่นขึ้น เมื่อแผนการออกแบบและแผนการดำเนินงานหลักถูกเปลี่ยนไป ภาพเสมือนจะถูกอัปเดตภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงทำให้บริษัทมีไฟล์ทำงานไฟล์เดียวที่ถูกออกแบบล่าสุดอยู่เสมอ

จินตนาการใหม่ถึงกระบวนการทำงานร่วมกันในการออกแบบสถาปัตยกรรม

เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการขนาดใหญ่จำนวนมากขึ้นที่ต้องทำงานร่วมกันในแบบข้ามพรมแดนประเทศ แนวทางการปฏิบัติงานด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมจึงจำเป็นต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้แบบเรียลไทม์โดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับรอบการตรวจสอบภายหลาย ๆ รอบที่เสียเวลามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกหลังการแพร่ระบาดที่การเดินทางข้ามประเทศยังคงทำได้อย่างจำกัด

ดังนั้นเทคโนโลยีแบบเรียลไทม์สามารถเข้ามาช่วยให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนทำการแก้ไขและทำเซสชันการตรวจสอบได้จากระยะไกล ทีมงานสามารถแบ่งปันงานการออกแบบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพื่อตรวจสอบและทบทวนข้อเสนอแนะร่วมกัน สิ่งนี้ช่วยให้แผนกต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันและทำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างตรงจุดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการสร้างสรรค์และเร่งเวลาออกสู่ตลาด

การใช้ซอฟต์แวร์สร้างภาพเสมือน (Visualization Software) ที่มีความสามารถในการจัดการชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้แบบเรียลไทม์ ยังสามารถช่วยในการปรับและขยายขนาดได้ในการวางผังเมืองอัจฉริยะ การก่อสร้างเมืองและโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงแม้กระทั่งการเมืองสร้างเมืองฝาแฝดที่เป็นดิจิทัล (Digital Twins) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับต้น ๆ ประการหนึ่งของการขับเคลื่อนตามนโยบาย Thailand 4.0 ในปัจจุบันของประเทศไทย เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างเมืองเสมือนแบบ 3 มิติให้แก่เมืองเฮลซิงกิ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฟินแลนด์ได้สำเร็จมาแล้ว

 

เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดแบบเรียลไทม์

ผลกระทบของเทคโนโลยีแบบเรียลไทม์ในอุตสาหกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมยังขยายไปถึงแอปพลิเคชันการสร้างภาพเสมือนให้ลูกค้าชมอีกด้วย ตัวอย่างเช่นในปัจจุบันนี้เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ซื้อบ้านทั้งในและต่างประเทศที่จะเดินทางมายังสถานที่พวกเขาตั้งใจจะซื้อ พวกเขามักจะกังวลในการซื้อบ้านที่ยังไม่ได้สร้างสำเร็จออกมาจากแบบและจำเป็นต้องใช้จินตนาการเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ การสร้างภาพน่าประทับใจโดยศิลปินโชว์ภาพแนวระนาบและภาพ 2 มิติสามารถช่วยได้ แต่อาจไม่เป็นประโยชน์มากเท่าที่ควรสำหรับตัวแทนและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงนักออกแบบการตกแต่งภายในในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อได้เพียงพอ

เทคโนโลยีเรียลไทม์สามารถช่วยทำให้ผู้ซื้อบ้านไม่ต้องคาดเดาอีกต่อไป ผู้ซื้อบ้านสามารถชมภาพเสมือนของการตกแต่งภายใน ภาพแผนผังเฉพาะแต่ละชั้นและสัมผัสรับรู้ถึงบรรยากาศของพื้นที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวันในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบและสมจริงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้ชุด VR Headset เพื่อช่วยสร้างสรรค์ประสบการณ์ให้ลูกค้าได้สัมผัสกับพื้นที่ก่อนที่จะชำระเงินดาวน์ สำหรับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์นั้นหมายถึงการลดเวลาในการหาลูกค้าใหม่ ๆ ลงไปได้มากและเพิ่มความสามารถในการจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องเรือนและการตกแต่งภายในที่แตกต่างกันได้อย่างง่ายดายตามความต้องการของลูกค้า

ในอุตสาหกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมและอสังหาริมทรัพย์นั้น สิ่งที่อาจเปลี่ยนใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อนั้นแฝงอยู่ในเรื่องของรายละเอียด

เทคโนโลยีการแสดงภาพแบบเรียลไทม์ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมีความแม่นยำสูงอย่างเหนือชั้น – ช่วยให้พวกเขาทำซ้ำภาพที่สร้างสรรค์ในวิชั่นของพวกเขาออกมาเป็นบ้านและอาคารที่เป็นจริงทางกายภาพอย่างสมบูรณ์ – โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการตกหล่นผิดพลาดในเรื่องคุณลักษณะต่าง ๆ ที่นำเสนอลูกค้าหรือความผิดพลาดที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพงภายหลัง ในขณะเดียวกันกลับช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและจำเป็นที่สุดในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เป็นหนทางแห่งการปฏิวัติวิธีการทำงานที่ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถดำรงอยู่ได้เมื่อต้องประสบกับสิ่งที่คาดไม่ถึงต่าง ๆ ในอนาคต