ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Eindhoven ได้สร้างรถไฟฟ้าต้นแบบที่สามารถขจัดและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างที่รถวิ่งได้ นอกจากนี้ยังออกแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถสามารถนำไปรีไซเคิลได้ ตามแนวคิดการสร้างรถยนต์ที่สร้างคาร์บอนเป็นศูนย์ครับ
.
รถยนต์ต้นแบบนี้มีชื่อว่า ZEM วัสดุหลัก ๆ ของตัวรถยนต์มาใช้พลาสติกรีไซเคิลโดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ทีมงานยังได้สร้างแผ่นโมโนค็อกและแผงตัวถังโดยใช้เทคนิคการผลิตแบบเพิ่มหนาแน่น แต่ใช้วัสดุน้อยลด เพื่อลดของเสียจากกระบวนการผลิตและทำให้เกิดการปล่อย CO2 ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
.
ในขณะเดียวกัน หากรถหมดอายุในการใช้งานแล้ว พลาสติกภายในตัวรถสามารถนำไปหั่นฝอย ใช้ความร้อนทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน และนำไปเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และนำไปพิมพ์ชิ้นส่วนรถได้ใหม่ ทีมงานยังใช้โพลีคาร์บอเนตเป็นวัสดุทางแทนกระจก โดยทีมงานบอกว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า
.
นอกจากนี้ ทีมงานยังได้ติดตั้ง infotainment (ส่วนควบคุมดิจิทัลในตัวรถ) แบบแยกส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบแยกส่วน และระบบไฟแบบโมดูลาร์ ซึ่งสามารถนำกลับใช้ใหม่ได้ทั้งหมด
.
ตัวรถติดตั้งโมดูลาร์แบตเตอรรี่ขนาด 2.3 กิโลวัตต์ชั่วโมง มีมอเตอร์ขนาด 22 กิโลวัตต์ แต่ไม่มีข้อมูลนะว่า มันวิ่งได้ไกลสูงสุดเท่าไหร่ต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง แต่หลังคาของรถจะมีแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถชาร์จรถไปด้วยระหว่างที่รถวิ่งได้
.
ในส่วนของการกำจัดก๊าซ CO2 แผงหน้ารถจะใส่เทคโนโลยีที่จะดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ลงไป มันสามารถดักจับ CO2 ได้มากถึง 2 กิโลกรัมทุก ๆ การวิ่งที่ 20,600 กิโลเมตร หากวิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งอาจจะดูไม่มากนะครับ แต่ว่าหากว่ารถหลายล้านคันบนโลกนี้ใช้ตัวดักจับ CO2 เหมือนกัน ก็คงจะช่วยลดคาร์บอนได้ไม่น้อยครับ
.
เอาจริง ๆ ต้องยอมรับว่า แนวคิดนี้เหมือนเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว เมื่อหลายปีก่อน ญี่ปุ่นได้มีการตัวกรองไปติดไว้ที่ปลายท่อของรถสาธารณะ เพื่อลดอากาศเสียที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ดีเซล แต่ปัจจุบันที่หลาย ๆ ประเทศเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์เบนซิลที่ปล่อยของเสียออกมาน้อยกว่ามาก จึงทำให้แนวคิดนี้ถูกล้มโลกไปครับ
.
รถยนต์นั่งต้นแบบ Zem ถูกผลิตขึ้นโดยคำนึงถึงคาร์บอนต่ำในระหว่างการผลิต การใช้งาน และการสิ้นสุดอายุการใช้งาน แม้ในกระบวนการผลิตจะเกิด CO2 ขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตชิ้นส่วนรวมทั้งแบตเตอรี่ แต่ก็จะชดเชยด้วยการดูดคาร์บอนกลับมาระหว่างการใช้งาน เพื่อเป้าหมายในการทำ CO2 ให้เป็นศูนย์ให้ได้ครับ
.
ที่มาข้อมูล