ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้าด้วย 5G และเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว

โดย ฐิติพันธุ์ วรกุลลัฎฐานีย์  ผู้บริหารฝ่ายขายองค์กร (Enterprise Sales Leader) บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทย

ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจและโรคระบาดที่เกิดขึ้น กระนั้นประเทศชาติยังเดินหน้าเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดได้ในอนาคต พร้อมมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในโลกแห่งดิจิทัลที่ก่อตัวขึ้นตามเป้าหมายของประเทศอย่างแผนยุทธศาสตร์ชาติไทยแลนด์ 4.0

ขณะที่การการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลง ยังดำเนินต่อไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อเศรษฐกิจของชาติ  ตอนนี้นับเป็นเวลาที่ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งเสริมในด้านความยืดหยุ่นให้กับภาคอุตสาหกรรมหลักและความมั่นคงของชาติ ที่สามารถแสดงให้เห็นขอบเขตงานเหล่านี้ได้ด้วยโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลผ่านการใช้ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0

อย่างไรก็ตาม การยอมรับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง ในที่นี้ จะกล่าวถึงศักยภาพของเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว (private wireless networks) ซึ่งสนับสนุนโดยรัฐบาลและผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของประเทศไทย รวมถึงเทคโนโลยี 5G ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมได้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

การปรับใช้ติดตั้งโซลูชันอัจฉริยะผ่านเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว

การเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลของภาคห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญกำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะที่แนวคิดใหม่ที่พึ่งได้รับการค้นพบก่อนหน้าโลกจะเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤติ  อย่างการออกแบบเสมือนจริง ระบบปฏิบัติการระยะไกล รวมถึงการทดสอบแบบผสมผสานในสถานที่จริงและแบบระยะไกล (ไฮบริด) กำลังกลายเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป เพราะผู้คนต่างมองหาสิ่งเติมเต็มหรือทดแทนการปฏิบัติงานทางกายภาพที่มีอย่างจำกัด

เครือข่ายไร้สายไร้สายแบบส่วนตัว เป็นเหมือนพื้นฐานที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของระบบปฏิบัติการห่วงโซ่อุปทานให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น โดยช่วยอำนวยความสะดวกให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในปัจจุบันที่ต้องใช้การตรวจวิเคราะห์และการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์กับเครื่องจักรและสินทรัพย์ต่าง ๆ แบบระยะไกล นอกจากนี้ เครือข่ายดังกล่าวยังมีความสำคัญต่อการใช้โซลูชันขั้นสูง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ และระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตนเอง (AI/ ML) เพื่อการตรวจจับความผิดพลาดระหว่างการปฏิบัติงาน  รวมถึงบริการช่วยเหลือแบบระยะไกลร่วมกับประสบการณ์ของผู้ใช้ที่ทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) และ/หรือ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR)

สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้การเชื่อมต่อที่มีสมรรถนะและมีอิสระสูงซึ่งเป็นคุณสมบัติของเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว เครือข่ายดังกล่าวนี้ใช้อุปกรณ์เฉพาะและให้บริการกับองค์กร พื้นที่ หรือมีขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาที่เครือข่ายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต้องเผชิญ ขณะเดียวกัน ยังช่วยต่อยอดการนำไปใช้งานในรูปแบบใหม่และมีมูลค่ายิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะสมกับยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่การเชื่อมต่อจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเลเยอร์เครือข่าย 5G

ความแตกต่างของ 5G

5G จะช่วยยกระดับการทำงานทั้งด้านประสิทธิภาพและข้อมูลเชิงปริมาณของการปฏิบัติการ นอกเหนือจากการสร้างเสริมให้เกิดความร่วมมือกันแล้ว ยังรวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน การสนับสนุนโดยผู้เชี่ยวชาญจากระยะไกล และการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมผ่านรูปแบบการทำงานเชิงรุกและเชิงพยากรณ์อีกด้วย

อย่างเช่น 5G สามารถทำให้ชุดข้อมูลแบบเรียลไทม์ซึ่งมีความสำคัญมากต่อผู้ปฏิบัติงานในห่วงโซ่อุปทานด้วยข้อมูลที่ทันท่วงทีสำหรับการตัดสินใจที่ต้องได้รับการแจ้งต่อ และต้องอาศัยข้อมูลประกอบ นั่นเพราะ 5G มีการออกแบบระบบที่น่าเชื่อถือระดับสูงมากและระดับความหน่วงที่ต่ำมาก จึงช่วยให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์ เครื่องจักร และระบบเซ็นเซอร์เป็นไปอย่างไร้รอยต่อและข้อมูลยังถูกต้องครบถ้วน

ตัวอย่างการใช้งาน 5G ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ได้แก่ การผลิต

ผู้ผลิตสามารถเก็บรวบรวม ใช้งาน หรือจัดเก็บข้อมูลที่หน้างาน ซึ่งจะทำให้การส่งต่อข้อมูลเหล่านั้นมีความปลอดภัย และช่วยให้เครือข่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ส่วนหน้าโรงงานเอง ยังสามารถกำหนดการควบุคมคุณภาพได้ตลอดทุกช่วงกระบวนการผลิต ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของสินค้าที่ไม่เหมาะกับการกระจายสินค้าและเหลือทิ้ง อีกทั้งยังสามารถใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่หลากหลายอย่าง Internet of Things (IoT), บิ๊กดาต้า, ระบบ Edge Computing และการเชื่อมต่อที่ได้รับการปรับปรุงแล้วผ่านเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวเพื่อให้สามารถขยายขอบเขตของระบบการทำงานแบบอัตโนมัติในการปฏิบัติงานของโรงงานได้อีกด้วย  และเทคโนโลยีเหล่านี้ยังสามารถระบุด้วยว่าอุปกรณ์ใดที่เริ่มจะทำงานไม่ปกติ เพื่อที่จะได้ทำการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมต่อไป

การคลังสินค้าและโลจิสติกส์

จากที่ประเทศไทยตั้งเป้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญ การลดความชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นผู้ดำเนินธุรกิจด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้าสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 5G อาทิ การใช้เซ็นเซอร์อัจฉริยะที่ช่วยในการติดตามตรวจสอบสินค้าแบบเรียลไทม์ได้อย่างแม่นยำ

ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ซึ่งใช้ AI/ ML ที่รองรับ 5G จะสามารถบริหารจัดการด้านการวางแผนเส้นทางและน้ำหนักบรรทุกที่เหมาะสมให้กับยานพาหนะได้โดยอัตโนมัติ เพื่อขั้นตอนการวางแผนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการเพิ่มผลผลิตและส่งสินค้าได้ตรงตามเวลา ส่วนคลังสินค้าสามารถใช้เครือข่ายที่ช่วยให้เครื่องมืออย่างหุ่นยนต์ทำงานได้ดี (อย่างเช่น หุ่นยนต์อัตโนมัติที่ทำงานได้ด้วยเทคโนโลยี IoT) ที่เคลื่อนที่ไปได้ทั่วบริเวณคลังสินค้าที่สลับซับซ้อน

เพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศด้วย 5G

ประเทศไทยกำลังมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมนวัตกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศที่ดียิ่งขึ้น เนื่องด้วยความเสี่ยงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งไม่เพียงเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าและต้องติดอยู่กับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทั้งจากในและนอกประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องมีการเตรียมความพร้อมให้เครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัยเพื่อเป็นช่องทางสำหรับการบริหารสถานการณ์วิกฤติต่าง ๆ อย่างเช่นสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

ประเทศไทยมีการวางแผนเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลให้มากขึ้นในด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งดำเนินการผ่านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบยานพาหนะไร้คนขับ จรวด และขีปนาวุธนำวิถี ข้อมูลและการสื่อสารสำหรับภารกิจวิกฤติ สถานการณ์จำลอง และ VR รวมถึงยานรบ และระบบป้องกันภัย

เครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวที่เสริมประสิทธิภาพด้วย 5G สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านการป้องกันประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเครือข่ายการสื่อสาร ด้วยเหตุนั้นบุคลากรด้านความมั่งคงหรือฝ่ายป้องกันประเทศจะสามารถใช้งานเพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ ๆ หรือที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ การพัฒนายุทธศาสตร์ใหม่และการเชื่อมต่อที่น่าเชื่อถือได้ระดับสูงมากของ 5G ที่เอื้อให้ข้อมูลจำนวนมากสามารถส่งผ่านจากสถานที่ห่างไกล ช่วยพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น การนำเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวที่มีความปลอดภัยมาใช้งานจะช่วยให้เข้าถึงเครือข่ายที่มีศักยภาพสูงที่มีความหน่วงต่ำมากได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้กองกำลังป้องกันประเทศสามารถทำปฏิบัติการที่สำคัญได้ด้วยระบบอัตโนมัติ ที่เพิ่มศักยภาพงานได้ทั้งในแง่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs) – ผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0

ประเทศไทยกำลังพิสูจน์ตัวเองในฐานะผู้นำด้าน 5G จากที่รัฐบาลและผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของประเทศได้วางรากฐานในการเพิ่มต้นแบบการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ประเทศชาติพร้อมที่จะเร่งเครื่องให้กับอุตสาหกรรมหลักและการป้องกันประเทศด้วยเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว ที่ไม่เพียงแค่เสริมขีดความสามารถด้านการปฏิบัติงาน แต่ยังเสริมทั้งด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลอีกด้วย กระนั้นก็ยังมีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ด้วย

อย่างไรก็ดี สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนจากรัฐบาลในการเปิดคลื่นความถี่เฉพาะสำหรับการใช้งานขององค์กร ซึ่งจะช่วยให้องค์กรเหล่านั้นปรับสเกลการดำเนินงานเชิงดิจิทัลได้ในต้นทุนที่บริหารจัดการได้ โดยไม่ไปขัดขวางคลื่นความถี่เมื่อยามที่พวกเขากำลังพัฒนาเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวอย่างชัดเจน

ด้วยการผลักดันนี้ ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของประเทศไทยสามารถช่วยประเทศชาติในการเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมไปกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับโลก  นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถวิเคราะห์ต่อไปว่า 5G สามารถรองรับการใช้งานที่มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นในภาคส่วนที่สำคัญ เมื่อประเทศชาติเดินหน้าอย่างเต็มกำลังสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่