ในยุคดิจิทัล 4.0 เทคโนโลยี IoT จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งการวิเคราะห์การผลิตที่แม่นยำ แต่จะเริ่มต้นได้นั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูล และสร้างการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัลในยุคของอุตสาหกรรมใหม่ หรือที่เรียกว่า “Digital 4.0” นั่นเอง
ปัจจุบัน บรรดาผู้ผลิตในแต่ละอุตสาหกรรมตระหนักถึงผลกระทบของการเข้ามาของเทคโนโลยี และได้พยายามนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสทางธุรกิจ รองรับต่อการเติบโตในอนาคต ซึ่งหมายถึงผลกำไรและความสามารถในการปรับตัวไปพร้อมกับการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล (Digitization) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มหนึ่งที่มองเห็นในขณะนี้คือผู้คนกำลังหันมาใช้คำศัพท์ ดิจิทัล 4.0 (Digital 4.0) อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ ไอโอที (Internet of Things : IoT) หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ สำหรับอุตสาหกรรม หรือ ไอไอโอที (Industrial Internet of Things : IIoT) มากยิ่งขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาหลายๆ โรงงานในอุตสาหกรรมหลายๆ แห่ง ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตด้วยการใช้ “เซนเซอร์” (sensors) เข้ามาทำงานวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จนเกิดเป็นการทำงานใหม่ที่เรียกว่า “กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง” (Continuous Process) ที่สามารถสร้างกระบวนการทำงานที่ไม่มีการหยุดพัก ประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวได้กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างพากันกระโดดเข้ามาใช้งานระบบดิจิทัล จนทำให้เกิดการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าระบบดิจิทัลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจตอบสนองต่อเทรนด์พลังงานที่เปลี่ยนแปลง และกระแสการพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนและปฏิวัติโอกาสทางธุรกิจด้วย ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) ได้อย่างสมบูรณ์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงมุ่งเน้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการใช้งานในด้านต่างๆ
โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 (1987) เป็นต้นมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้นำเสนอ ระบบ ดีซีเอส ฟอกซ์โบโร (DCS Foxboro I / A Series) ที่สามารถควบคุมและมอนิเตอร์แบบ “เปิด” ได้เป็นครั้งแรกของโลก จนมาถึง พ.ศ.2540 (1997) ได้เริ่มต้นแนวคิด “ระบบโรงงานที่โปร่งใส” (Transparent Factory) และในปี พ.ศ. 2550 (2007) ได้เผยโฉม EcoStruxure และซิสเต็มแพลตฟอร์ม (System Platform) ในปี พ.ศ. 2552 (2009) ซึ่งทำให้เกิดการปฏิวัติวิธีการสร้างแอพพลิเคชันอุตสาหกรรม และสามารถนำข้อมูลกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้นำอย่างแท้จริงในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรมมาโดยตลอด
อย่างไรก็ดี สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันนี้คือ ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อสื่อสารและการวิเคราะห์ข้อมูลลดลงเป็นอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผลและเก็บข้อมูล ตลอดระยะเวลา 10 ปี มีอัตราการ รับ-ส่ง ข้อมูลของโทรศัพท์มือถือที่เปลี่ยนไปมากจนปัจจุบัน ถ้าเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว
สำหรับบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีเหล่านี้จะนำไปสู่ประสิทธิภาพการผลิตจากระบบหนึ่งสู่ระบบหนึ่งที่ดียิ่งขึ้น (วิศวกรรมเพื่อการดำเนินงานจนถึงการบำรุงรักษา) ซึ่งจะทำให้ห่วงโซ่แห่งคุณค่าโดยรวมทั้งหมดดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากระบบการผลิตที่สามารถปรับรูปแบบตามสถานการณ์ได้รวดเร็วเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น
ผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อที่ดีที่สุด
แนวคิด IOT สำหรับบริษัทอุตสาหกรรม นั้นควรเริ่มต้นด้วย ”สิ่งที่ดีที่สุด” ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ได้ เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงาน และสร้างผลกำไรได้ดีมากขึ้น ซึ่งสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตเครื่องจักรแบบ “รับจ้างผลิต” (OEM) จะเห็นได้ชัดว่าสิ่งที่จะสร้างผลกำไรให้เพิ่มขึ้นนั้นมาจากสิ่งที่เล็กที่สุด
สิ่งนั้นคือ ปุ่มสวิทช์ ที่แม้จะดูเรียบง่าย แต่สามารถสร้างประสิทธิภาพ ความไว้วางใจ และสามารถเชื่อมต่อและเชื่อมวงจรการทำงานของเครื่องจักรเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดีผ่านผลิตภัณฑ์ของเรา ด้วยเหตุผลว่า
- มีความทนทาน แม้ในสภาพแวดล้อมที่ต้องความทนทาน โดยระบบจะมีเสถียรภาพและทำงานได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประหยัดพลังงานไฟฟ้า และช่วยลดเวลาในการบำรุงรักษาลง
- ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก เพราะสามารถติดตั้งและบำรุงรักษาได้ง่าย
- ออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย ทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และสามารถใช้ควบคุมระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน
ประสิทฺภาพที่เพิ่มมากขึ้นของปุ่มสวิตซ์
ด้วยความสามารถเหล่านี้ แผงควบคุมและเครื่องจักรจะถูกยกระดับไปอีกขั้น
- มีพอร์ทเชื่อมต่อ USB ใหม่และพอร์ท RJ45 ทำให้การเชื่อมต่อกับเครื่องจักรง่ายดายและปลอดภัยขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้สามารถนำคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลมาเชื่อมต่อกับเครื่องจักรจากทางด้านหน้าได้ ทำให้สามารถส่งออกข้อมูลหรือปรับปรุงเวอร์ชั่นได้ เมื่อใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์เช่น PLC, HMI หรือ VSD
- ปุ่มสวิตซ์ ที่ถูกออกแบบใหม่มีความทันสมัยและสวยงาม ซึ่งส่งผลต่อภาพรวมของแผงควบคุมและเครื่องจักร และทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่ายขึ้น
- สัญญาณเตือนแบบเสียงและแสงแบบใหม่ สามารถติดตั้งได้ง่าย เพื่อเป็นสิ่งใช้ระบุสถานะการทำงานที่ชัดเจน
ซึ่งเมื่อ ปุ่มสวิตซ์ เล็กๆ ได้เชื่อมต่อ ก็จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ จากปุ่มกดที่เล็กที่สุด สู่ระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรม ที่สามารถสร้างผลลัพธ์ ประสิทธิภาพ เสถียรภาพ โดยสามารถติดตั้งและบำรุงรักษาได้ง่ายดายตลอดอายุการใช้งาน
ค้นหาผลิตภัณฑ์ควบคุมจากระยะไกล และอุปกรณ์ส่งสัญญาณของเราได้ ที่นี่
บทความโดย
Jim Clark ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ที่มา : https://blog.schneider-electric.com