ส่องความสำเร็จ ทีม F1 ระดับโลก ใช้ดาต้า ดันรถให้เร็วขึ้น

ทีม F1 ระดับโลก

เมื่อพูดถึง Formula One  มันคือกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุด มีผู้ชมทั่วโลกสะสมมากกว่า 1.4 พันล้านคน และผู้ชมสดผ่านโทรทัศน์มากกว่า 60 ล้านคน ซึ่งยังไม่รวมผู้ชมที่ดูผ่านโซเชียลมีเดีย

ในโลกแห่งความเร็วของ Formula One ชัยชนะมักถูกตัดสินด้วยความแตกต่างเพียงเสี้ยววินาทีหรือมิลลิวินาที  การแข่งขันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ฝีมือของนักขับหรือสมรรถนะของรถเท่านั้น แต่เบื้องหลังความสำเร็จยังมีเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่การออกแบบ พัฒนา ผลิต ทดสอบ ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลล้วนต้องอาศัยระบบ IT ที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีความเสถียร

Techhub มีโอกาศได้สัมภาษณ์ คุณ Michael Taylor ผู้บริหารฝ่าย IT ของทีม Mercedes-AMG Petronas Formula One  ทีม F1 ระดับโลก ที่เคยคว้าแชมป์โลก 8 สมัยติดต่อกันตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2021  ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน  สิ่งสำคัญคือการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล และนำมาสร้างเป็นแบบจำลองสำหรับออกแบบตัวรถ

Michael Taylor IT Director, Mercedes-AMG Petronas F1 Team

โดยการแข่งขันใน Formula One นั้นดุเดือด ทีมแข่งต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อพัฒนารถแข่งรุ่นใหม่ในทุก ๆ ปี กระบวนการออกแบบจะเริ่มต้นจากแบบจำลองดิจิทัล ที่สร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยทีมได้เลือกใช้งานเซิร์ฟเวอร์จาก  HPE Apollo ซึ่งทำให้ทีมออกแบบสามารถทดสอบแนวคิด และปรับแต่ง Aerodynamic ของรถได้รวดเร็ว ก่อนที่จะนำไปสร้างแบบจำลองในอุโมงค์ลม และผลิตเป็นรถแข่งจริง

CFD จุดสำคัญของการใช้เพื่อคำนวน

เทคโนโลยีที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากคือ CFD (Computational Fluid Dynamics) หรือ พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ  (เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองและวิเคราะห์การไหลของของไหล เช่นของเหลวและก๊าซ )  เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจำลองการไหลของอากาศรอบตัวรถ ซึ่งต้องอาศัยพลังการประมวลผลมหาศาล เซิร์ฟเวอร์ดังกล่าว ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถวิเคราะห์ และปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของรถได้อย่างแม่นยำ

ทีม F1 ระดับโลก

ไม่เพียงแต่ในขั้นตอนการออกแบบ เทคโนโลยี ยังมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล ระหว่างการแข่งขัน รถแต่ละคันจะติดตั้งเซ็นเซอร์กว่า 300 ตัว  เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ความเร็ว อุณหภูมิ และแรงดัน ซึ่งจะถูกส่งกลับมายังทีมวิศวกรแบบเรียลไทม์  โดยมีการใช้ดาต้ามากถึง 30 – 50 TB ต่อสัปดาห์

ข้อมูลมหาศาล จะถูกประมวลผล วิเคราะห์ ด้วยระบบจัดเก็บข้อมูลที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ เพื่อให้ทีมวิศวกรสามารถตรวจสอบสมรรถนะของรถ ระบุจุดบกพร่อง และตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งอาจหมายถึงความแตกต่างระหว่างชัยชนะ และความพ่ายแพ้

 

จากการแข่งขันล่าสุดไม่กี่อาทิตย์ก่อน ความแตกต่างระหว่างอันดับหนึ่งและอันดับสามนั้นน้อยกว่า 1 ใน 10 วินาที นั่นคือ 90 มิลลิวินาที เท่านั้น เห็นได้ชัดว่า ชนะกันแบบเสี้ยววินาทีจริง ๆ

นอกจากนี้ การสื่อสารระหว่างทีมแข่งที่สนาม กับทีมสนับสนุนที่ฐาน Brackley ซึ่งอยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลก ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ทีมวิศวกรที่ Brackley ต้องสามารถติดตามสถานการณ์ และให้คำแนะนำแก่ทีมแข่งได้แบบเรียลไทม์ โดยทีมเลือกใช้โซลูชั่นจาก  HPE Aruba Edge Connect และเครือข่าย MPLS ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีสะดุด เสมือนทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกัน ซึ่งช่วยให้ทีมแข่ง ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ

ความเสถียร จุดเล็ก ๆ ที่พาไปสู่ชัยชนะ

ทีม F1 ระดับโลก

Michael  เล่าต่อว่า ระบบ IT ที่เสถียร และพร้อมใช้งานตลอดเวลา เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับทีมแข่ง Formula One เพราะทุกเสี้ยววินาทีมีความหมาย ทีมมีการใช้ศูนย์ข้อมูลแบบเคลื่อนที่ ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และสื่อสารกับทีมสนับสนุน โดยต้องเดินทางไปกับทีมแข่งในทุกสนามทั่วโลก และต้องสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น แม้ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย เช่น อุณหภูมิสูง ความชื้นสูง หรือแรงสั่นสะเทือน ซึ่งทีมก็ได้เลือกใช้ HPE ProLiant DL8000 และมีการตั้งระบบ Mirroring ที่ช่วยให้ระบบยังคงทำงานได้ แม้ส่วนประกอบบางส่วนจะเกิดขัดข้อง

ทำไมถึงเลือกใช้งาน HPE ?

Michael  บอกว่า จริง ๆ ทีม  Mercedes-AMG Petronas Formula One กับ HPE มีการทำงานร่วมกันมานานมาแล้ว มีการทำงานร่วมกัน  เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการ และผลักดันให้ทีมแข่งประสบความสำเร็จ ซึ่งทีม IT ของ Mercedes-AMG Petronas Formula One  มีขนาดเล็ก และไม่มีความเชี่ยวชาญในทุกด้าน HPE จึงเข้ามาช่วยเติมในจุดนั้น

Techhub ยังมีโอกาศได้สัมภาษณ์คุณ Sandeep Kapoor Vice President   ของ HPE ในงานสัมมนาใหญ่  HPE Discover More AI Bangkok 2024 เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง AI ในปัจจุบัน  Ffpในฐานะผู้บริหารระดับสูง เขาก็ได้ให้ความเห็นเรื่องของ AI ไว้อย่างน่าสนใจครับ

Sandeep Kapoor Vice President , HPE

เขาบอกว่า โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเปรียบเสมือนคลื่นลูกที่สี่ที่ถาโถมเข้าใส่ สร้างแรงสั่นสะเทือนเทียบเท่าหรืออาจมากกว่ายุคอินเทอร์เน็ตที่เฟื่องฟูในปี 1999
แม้เทคโนโลยี AI จะไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ด้วยความก้าวหน้าของโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Networks) และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models) AI ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

การปฏิวัติ AI ครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ หรือแม้แต่ชีวิตประจำวันของเรา องค์กรต่างๆ ทั่วโลกกำลังมองหาวิธีประยุกต์ใช้ AI เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน สร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ให้บริการไฮเปอร์สเกล (Hyperscalers) เช่น Google, Microsoft, และ  Facebook ต่างแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างดุเดือด และคาดว่ากระแสคลื่นลูกใหม่นี้จะขยายตัวไปสู่บริการคลาวด์ ภาครัฐ และในที่สุดจะครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม

ความท้าทายของการนำ AI มาใช้ในองค์กร
  • การเลือก Use Case ที่เหมาะสม การนำ AI มาใช้ ไม่ใช่ทุกโครงการที่จะประสบความสำเร็จ และให้ผลตอบแทน องค์กรต้องเลือก Use Case ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับ Infrastructure ที่มีอยู่ เช่น การป้องกันการทุจริต การสร้าง Copilot สำหรับนักพัฒนา การปรับปรุง Call Center การรักษาความปลอดภัย และการวิเคราะห์ข้อมูล
  • การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ AI เป็นเทคโนโลยีที่ซับซ้อน องค์กรจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ในการพัฒนา ปรับใช้ และดูแลระบบ AI ซึ่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ยังมีจำนวนจำกัด และเป็นที่ต้องการสูง ทำให้องค์กร อาจประสบปัญหาในการสรรหา และรักษาบุคลากรเหล่านี้
  • คุณภาพของข้อมูล AI ต้องการข้อมูลจำนวนมาก และมีคุณภาพ เพื่อใช้ในการฝึกฝน และพัฒนาแบบจำลอง หากข้อมูลมีคุณภาพต่ำ ไม่ครบถ้วน หรือมีความเอนเอียง อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพ  และความแม่นยำของ  AI
AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลากหลายด้าน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดย HPE กำลังพัฒนาโซลูชัน AI ที่ปลอดภัย และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล เช่น
  • การพัฒนาซอฟต์แวร์ AI ช่วยวิเคราะห์โค้ด หาจุดบกพร่อง และแก้ไข ช่วยลดเวลาและทรัพยากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์
  • ศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) AI ช่วยตอบคำถามลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น ลดเวลาการรอคอย และยกระดับประสบการณ์ลูกค้า
  • ระบบรักษาความปลอดภัย  AI ช่วยวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิด ระบุบุคคลต้องสงสัย และตรวจจับภัยคุกคาม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย
  • การค้าปลีก  AI ช่วยป้องกันการขโมยสินค้า ตรวจจับการเปลี่ยนป้ายราคา และวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ช่วยลดความสูญเสียและเพิ่มยอดขาย
  • อุตสาหกรรมอื่น ๆ  AI มีประโยชน์ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ธนาคาร โทรคมนาคม และการผลิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

AI ดังกล่าว กำลังถูกพัฒนาบน HPE GreenLake ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์แบบไฮบริดที่ HPE มีอยู่เดิม แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการ AI ได้อย่างง่ายดาย ด้วยระบบการจัดการแบบ รวมศูนย์  โดยร่วมมือกับพันธมิตรในการพัฒนาร่วมกัน   แพลตฟอร์มนี้มีขนาดให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จนถึงขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานที่แตกต่างกัน

เคสที่มีการนำ AI ไปใช้แล้วประสบความสำเร็จ คือเคสข้างต้นอย่าง Formula One ทีม IT ของ Mercedes-AMG Petronas Formula One ทีม F1 ระดับโลก ใช้ AI บน HPE GreenLake ในการวิเคราะห์ข้อมูล พัฒนา aerodynamic จำลองการแข่งขัน บำรุงรักษารถแข่ง และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของทีม ซึ่งช่วยให้ทีมแข่ง สามารถพัฒนารถแข่ง และแข่งขัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ HPE ยังมีแผนการพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง ดยร่วมมือกับ NVIDIA และพันธมิตรอื่นๆ เช่น Intel และ AMD รวมถึงขยายความร่วมมือกับ System Integrator และ Software Delivery Partner เพื่อทุกอุตสาหกรรม สามารถเข้าถึง AI ได้อย่างครอบคลุม

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของ AI อย่างเต็มตัว มันกำจะพลิกโฉมทุกวงการ เทียบเท่ากับการปฏิวัติอินเทอร์เน็ต แม้ AI จะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ AI พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด องค์กรต่างๆ จึงต้องเร่งปรับตัว และนำ AI มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างโอกาสใหม่ๆ