เปลี่ยนตู้โทรศัพท์เก่าให้เข้าสถานการณ์ แปลงเป็นจุดตรวจ Covid-19 ในพื้นที่ห่างไกลที่ใช้งานได้จริง โดยภายในตู้ติดตั้งเครื่องเติมอากาศเพื่อให้พื้นที่ทำงานของแพทย์มีแรงดันที่สูงกว่าภายนอก ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัย ไม่มีเชื้อโรคเข้า
ตู้ตรวจโควิดออกแบบและพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งพัฒนาจากตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ไม่ใช้งานแล้ว มอบให้กับบริษัททีโอที เพื่อนำต้นแบบไปผลิตใช้งานจริงในโรงพยาบาล สถานีอนามัย ในพื้นที่ห่างไกลและชายแดนที่มีความเสี่ยง
จุดตรวจนี้ออกแบบตาม WHO ซึ่งระบุให้พื้นที่ของแพทย์หรือผู้ใช้งานควรอยู่ในพื้นที่ที่มีแรงดันอากาศบวก หรือ positive ส่วนผู้ที่มาเข้ารับบริการ ควรจะอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติหรือที่อากาศถ่ายเทและลดผิวสัมผัสของพื้นที่ต่างๆ เพื่อป้องกันการกระจายของโรค จึงนำตู้ 2 ตู้มาชนกัน ให้มีพื้นที่อากาศถ่ายเท ลดการสัมผัส และสะดวกเวลาพ่นยาฆ่าเชื้อ
รวมถึงติดตั้งระบบปรับอากาศขนาดเล็ก และอินเตอร์คอม เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างแพทย์และผู้เข้ารับบริการใช้ในกรณีที่แพทย์ไม่อยู่ หรืออาจติดตั้ง IOT เซ็นเซอร์สำหรับวัดความดันเพิ่ม ก่อนที่จะนำจุดตรวจ Covid-19 ทั้ง 2 ชุดนี้ไปส่งมอบต่อให้กับโรงพยาบาลปทุมธานีเพื่อใช้งานจริง โดยคาดว่าหลังการทดลองใช้จริง 3 – 4 เดือน ก็จะเตรียมผลิตจุดตรวจโควิดตามต้นแบบเพิ่มเพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ต้องการต่อไป
นอกจากเป็นจุดตรวจ Covid-19 เป็นจุดคัดกรองคนไข้นอกอาคารแล้ว ในอนาคตยังพัฒนาเป็นจุดที่ใช้ฉีดวัคซีนได้ในอนาคต หรือใช้เป็นจุดจ่ายยาให้กับคนไข้ได้อีกด้วย
#TechhubUpdate #Covid19