นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนประสบความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะอาดต้นทุนต่ำแบบไม่จำกัด โดยพวกเขาสามารถรักษาอุณหภูมิพลาสมาให้ร้อนกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียส (ร้อนกว่าแกนกลางดวงอาทิตย์ถึง 6 เท่า) ได้นานเป็นประวัติการณ์ถึง 1,066 วินาที หรือมากกว่า 17 นาที
ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นที่ศูนย์ทดลอง Experimental Advanced Superconducting Tokamak (EAST) หรือที่รู้จักกันในชื่อดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ ของจีน โดยทำลายสถิติเดิมที่ 403 วินาที ซึ่ง EAST เองก็เป็นผู้ทำไว้เมื่อเดือนเมษายนปี 2023
สำหรับอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นส่วยหนึ่งของโครงการ ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ และถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันกลายเป็นจริง ซึ่งการจะทำให้พลาสมาคงอยู่ได้ด้วยตัวเองและทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชันผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ฟิวชันต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงในสภาวะเสถียรเป็นเวลาหลายพันวินาที
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า การจะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันบนโลกได้นั้น ต้องใช้อุณหภูมิพลาสมาที่ร้อนกว่าดวงอาทิตย์ เพื่อชดเชยกับมวลของโลกที่น้อยกว่า โดยอุณหภูมิที่แกนกลางของดวงอาทิตย์นั้นอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านองศาเซลเซียส แต่พวกเขาทำได้มากถึง 100 ล้านองศาเซลเซียส
หากการวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในอนาคต พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งการผลิตไฟฟ้า เป็นพลังงานขับเคลื่อนยานองกาศ ผลิตไฮโดรเจน และใช้เพื่อกำจัดของเสียที่เป็นอันตรายก็ยังได้ครับ …
ที่มา
scmp