ด้านมืดของดวงจันทร์ นับเป็นจุดที่ไม่ค่อยมีประเทศไหนไปสำรวจ แต่ตอนนี้ จีนได้ทำการปล่อยยานสำรวจไปยังด้านหลังของดวงจันทร์ ยานนี้จะลงจอดบนพื้นผิวด้านหลังดวงจันทร์และเก็บตัวอย่างหิน ดิน เพื่อนำกลับมายังโลก ตัวอย่างเหล่านี้อาจช่วยไขปริศนาทางธรณีวิทยาและความแตกต่างอื่น ๆ ในจุดที่ยังไม่ได้สำรวจ
ภารกิจครั้งนี้ถือเป็นก้าวกระโดดสำคัญล่าสุดของโครงการสำรวจอวกาศอันซับซ้อนและทะเยอทะยานของจีน ซึ่งกำลังแข่งขันกันดุเดือดกับกับสหรัฐฯ โดยยานสำรวจได้ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในวันศุกร์ 3 พฤษภาคม จากศูนย์วิจัยอวกาศเวนชาง ที่มณฑลไหหลำ ทางตอนใต้ของจีน
ทำไมต้องสำรวจด้านหลังดวงจันทร์ ? ด้านหลังของดวงจันทร์ไม่ถูกบดบังจากโลก ทำให้รบกวนคลื่นวิทยุน้อย เหมาะสำหรับการศึกษาดาราศาสตร์วิทยุและงานวิทยาศาสตร์อื่น ๆ เนื่องจากด้านหลังของดวงจันทร์ไม่เคยหันหน้าเข้าหาโลก จึงจำเป็นต้องใช้ดาวเทียมทวนสัญญาณเพื่อสื่อสารกับยานสำรวจ โดยยานสำรวจดวงจันทร์นี้มีชื่อว่า “ฉางเอ๋อ” ตามชื่อเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ในตำนานจีน
ย้อนกลับไปในปี 2020 จีนเคยนำตัวอย่างวัสดุจากด้านหน้าของดวงจันทร์กลับมายังโลกสำเร็จ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคโครงการอพอลโลของสหรัฐฯ ที่สิ้นสุดลงในช่วงทศวรรษที่ 1970 ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างพบว่ามีน้ำอยู่ในรูปของลูกแก้วขนาดเล็กฝังอยู่ภายในดินบนดวงจันทร์
ทั้งนี้ จีนประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรกในปี 2003 กลายเป็นประเทศที่ 3 ต่อจากสหภาพโซเวียต (เดิม) และสหรัฐฯ ที่สามารถส่งคนขึ้นสู่อวกาศด้วยทรัพยากรของตัวเองได้สำเร็จ
ที่มา
nzherald