จีนเพิ่งประกาศว่า สามารถพัฒนาระบบเครือข่ายแกนหลัก (Backbone Internet) ให้มีความเร็วอินเทอร์เน็ตที่เร็วที่สุดในโลก มากถึง 1.2 เทราบิต (1,200 กิกะบิต) ต่อวินาที ในระยะทางที่ยาวเกือบ 3 พันกิโลเมตร
สายเคเบิลใยแก้วนำแสงดังกล่าวเชื่อมโยงจาก ปักกิ่ง ไปอู่ฮั่น ไปจนถึงกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ ความสำเร็จนี้ได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยซิงหัว, ไชน่า โมบาย, หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และเซอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น โดยความเร็ว 1.2 เทราบิตนั้น ผ่านการรับรองแล้วว่า มันเร็วได้ขนาดนั้นจริง ๆ
เครือข่ายนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Future Internet Technology Infrastructure (FITI) ของจีน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะใช้เทคโนโลยี IPv6 เชื่อมโยงมหาวิทยาลัย 40 แห่งที่กระจายอยู่ใน 35 เมือง เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการในการวิจัยและทดสอบแบบเปิดสำหรับสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตแห่งอนาคต
ทั้งนี้ ความเร็วขนาด 1.2 เทราบิต สามารถถ่ายโอนข้อมูลเทียบเท่ากับภาพยนตร์ 4K จำนวน 150 เรื่องได้ในเวลาเพียงหนึ่งวินาทีเท่านั้น ซึ่งก็นับว่าเร็วมาก ๆ และจีนยังได้เปรียบเทียบกับสหรัฐ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางเทคโนโลยีคนสำคัญ โดยบอกว่า สหรัฐ เพิ่งจะอัปเกรดเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของตนให้ได้ความเร็วที่ 400 กิกะบิตต่อวินาที เมื่อปีที่แล้วเท่านั้น
เอาจริง ๆ หากเทียบกัน จีนก็อาจจะไม่ใช่ชาติที่ทำความเร็วอินเทอร์เน็ตได้มากเกิน 1.2 เทราบิต โดยนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ในญี่ปุ่นสามารถทดลองส่งข้อมูลที่ความเร็ว 319 เทราบิตต่อวินาทีผ่านเครือข่ายอินทราเน็ตในปี 2021 นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดนมาร์กก็สามารถความเร็วในการส่งข้อมูลได้มากถึง 1.84 เพตาบิตต่อวินาที แต่ทั้งสองแห่ง ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง ต่างจากจีนที่มีการนำมาใช้อย่างจริงจังแล้ว
ที่มา
https://www.techspot.com/news/100862-china-claims-have-launched-world-first-12-terabit.html