เปิดภาพแรก ฝีมือดาวเทียมคนไทย THEOS-2 พร้อมลุยภารกิจถ่ายภาพจากอวกาศ
ปล่อยออกมาชุดใหญ่ ภาพถ่าย First Image จาก THEOS-2 ดาวเทียมสัญชาติไทยดวงที่ 2 หลังจากที่ปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนตุลาคม 2566 ตอนนี้เตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานในทุกภารกิจที่ต้องการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมช่วยวิเคราะห์
THEOS-2 ดูแลโดย GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ โดยมีทีมวิศวกรดาวเทียม และ AIRBUS ได้ทำการติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมอยู่ตลอดเวลา เพื่อทดสอบและปรับจูนระบบดาวเทียม รวมทั้งตั้งค่าระบบการใช้งานต่างๆ ให้มีความเสถียรและได้มาตรฐานตามที่สากลกำหนด เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียม THEOS-2 มีความถูกต้อง ซึ่งก็เป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐาน และวันนี้ดาวเทียม THEOS-2 สามารถสั่งถ่ายภาพได้แล้ว
ภาพแรกจากดาวเทียม THEOS-2 ที่เปิดเผยออกมาคือภาพถ่าย “กรุงเทพมหานคร” ที่นับเป็นภาพถ่ายทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Image)...
ช่วยโลก NASA เดินหน้าใช้ AI ตัวช่วยใหม่เช็คสภาพอากาศ
NASA ปรับแผนหาตัวช่วยใหม่ เตรียมตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
เหตุการณ์สภาพอากาศทั่วโลกในปัจจุบันปัญหาโลกร้อน ปริมาณน้ำ และอากาศ มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การวิจัยสภาพภูมิอากาศอาจไม่เพียงพอ นักวิจัยจาก NASA จึงพยายามใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาทำให้การทำงานเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
NASA ร่วมมือกับ IBM Research สร้างแบบจำลองพื้นฐานภูมิสารสนเทศของ AI แบบจำลองนี้ได้รับการฝึกอบรมจากข้อมูล Harmonized Landsat และ Sentinel-2 (HLS) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แบบสาธารณะ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงโมเดลนี้ได้อย่างอิสระ
ด้วยการพัฒนาชุดแอปพลิเคชันที่หลากหลายทำให้เกิดโซลูชัน ยกตัวอย่างเช่น การตรวจจับรอยแผลเป็นจากการเผาไหม้ แยกแยะน้ำท่วม เป็นต้น
สร้างแบบจำลองเบื้องต้น ประมวลผลด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับไปตั้งแต่ปี...
แผนใหม่ NASA สร้างจรวดพลาสมา ไปดาวอังคารได้ใน 2 เดือน
นอกจาก AI แล้ว วงการอวกาศก็มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ล่าสุดทาง NASA เผยแผนสร้าง 'จรวดพลาสมา' เดินทางถึงดาวอังคารได้ใน 2 เดือน
ครั้งแรกในรอบปี ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพ ไร้เงาตอนเที่ยง 26 เม.ย. นี้
บันทึกไว้เลย 26 เม.ย.นี้ ชาวกรุงเทพเตรียมไร้เงา “ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ” ครั้งแรกของปี
ดวงอาทิตย์จะโคจรจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรกของปี 2567 เวลาประมาณ 12:16 น.
ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย
สำหรับ กรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลกหากสังเกตวัตถุกลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาของวัตถุจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดีไม่มีเงาทอดออกมาวันดังกล่าวจะเป็นวันที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร้อนสะสม ฯลฯ
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเริ่มจากพื้นที่ภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา จากนั้นไล่ลำดับขึ้นเหนือมาเรื่อย ๆ ก่อนจะสิ้นสุดที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 22 พฤษภาคม...
NASA เลือกแล้ว 3 บริษัทลุยแผน Artemis สร้างรถสำรวจดวงจันทร์
แผนการ Artemis ส่งคนขึ้นดวงจันทร์ของ NASA ยังดำเนินต่อไป ล่าสุดได้ว่าจ้าง 3 บริษัท ให้ช่วยพัฒนารถ LTV ช่วยสำรวจดวงจันทร์
ทะลุหลังคา เศษซากสถานีอวกาศ ISS ใกล้ปลดระวาง ตกใส่บ้านคน
ตามกำหนดกการแล้ว สถานีอวกาศนานาชาติ ISS จะปลดระวางในช่วงปลายปี 2030 และเตรียมดิ่งลงมหาสมุทรแปซิฟิกตามแผน หลังโคจรนอกโลกมากว่า 25 ปีแล้ว
จีนมาเหนือ เล็งสร้าง ปืนส่งยานอวกาศเข้าวงโคจร
จีนจะนำลักษณะการทำงานของปืน Railgun มาสร้างเป็นเครื่องยิงปืนส่งยานอวกาศ สู่วงโคจร เพื่อประหยัดต้นทุนในการส่งยาน
ไทยเอาจริง จับมือ NASA วิจัยฝุ่น ลุยเก็บข้อมูลสภาพอากาศ
ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหาระดับชาติ ที่นาซ่ายังต้องยื่นมือเข้ามาช่วย
ล่าสุดสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) จับมือ NASA เดินหน้าเก็บตัวอย่างอากาศเหนือน่านฟ้าไทย เพื่อทำความเข้าใจต้นตอฝุ่น PM2.5 และปัญหามลภาวะอากาศ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว
ความร่วมมือนี้อยู่ภายใต้โครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality หรือ ASIA-AQ โดย NASA จะนำเครื่องบิน DC-8 และ GIII บินเก็บข้อมูลอากาศในหลายพื้นที่ในเอเชีย มาประกอบกับข้อมูลจากดาวเทียม GEMS ของเกาหลีใต้ และสถานีวัดคุณภาพอากาศภาคพื้น...
ใช้เวลาให้เต็มที่ 20 มี.ค. วันวสันตวิษุวัต กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน
เกร็ดความรู้ วัน “วสันตวิษุวัต” ช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกแบบพอดิบพอดี
ในวันที่ 20 มีนาคม 2567 ประเทศไทยดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06:22 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:28 น. นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้
จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งต่อปี
คือในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)
การที่แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจร ของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง...
เปิดรับแล้ว NASA หานักบินอวกาศ ครั้งแรกในรอบ 4 ปี
ครั้งแรกในรอบ 4 ปี NASA กำลังมองหานักบินอวกาศคนใหม่ เปิดให้คนที่สนใจได้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจอวกาศ
โดยผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด ด้านการศึกษาและมีประสบการณ์เฉพาะทางในฐานะนักบิน วิศวกร หรือแพทย์
หากได้รับเลือกผู้สมัครจะได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งครอบคลุมทั้งการเดินในอวกาศ หุ่นยนต์ และการทำงานเป็นทีม (มีค่าใช้จ่าย)
เพื่อหานักบินอวกาศรุ่นใหม่ ที่ขึ้นไปทำภารกิจบนดวงจันทร์ ดาวอังคาร และอื่นๆ ในโปรเจคที่กำลังจะมาถึง
ฝึกฝนและพร้อมทำงานที่สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีอวกาศเชิงพาณิชย์โดยมีแพลนลงจอดบนดวงจันทร์ในปี 2569
เมื่อปี 2020 มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากกว่า 12,000 คน แต่ NASA รับเพียง 10 ตำแหน่งเท่านั้น และคาดว่าในปีนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะมีการแข่งขันดุเดือดเช่นเคย
เปิดรับสมัครวันที่ 2 เมษายน 2024...