NASA ให้โหลดฟรี ภาพอวกาศตรงวันเกิด ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า NASA เปิดเว็บไซต์ให้ทุกคนได้ลองค้นหาภาพดาราศาสตร์ที่ตรงกับวันเกิดของเรา แถมยังสามารถโหลดเก็บไว้เป็นที่ระลึก กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลจะสำรวจจักรวาล 24 ชั่วโมงตลอด 7 ทั้งวัน เราจะเห็นภาพดาราศาสตร์ที่หาชมได้ยากแถมรูปภาพไม่ซ้ำกันด้วย ทำให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของจักรวาลที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  ตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจอวกาศ แบบไม่มีวันหยุด  NASA จึงอยากแบ่งปันรูปภาพเหล่านี้จึงสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย ๆ เพียงแค่เราเลือกเดือนและวันที่ เราก็จะเห็นรูปถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ที่ทั้งสวยและเป็นเอกลักษณ์ อยากรู้ไหมว่ากล้องฮับเบิลเห็นภาพวัตถุอวกาศแบบไหนในวันเกิดของเรา สามารถเข้าไปเช็คภาพถ่ายดาราศาสตร์ได้ที่ >> https://imagine.gsfc.nasa.gov/hst_bday/  แล้วมาอวดภาพสวย ๆ ใต้คอมเมนต์กันบ้างนะ    #กล้องโทรทรรศน์ #NASA #TechhubUpdate

ภารกิจใหม่ SpaceX ส่งนักบินอวกาศชุดแรก ขึ้นยานอวกาศสำรวจเหนือขั้วโลก

ไปไกลแล้ว SpaceX เปิดภารกิจส่งมนุษย์ร่วมเดินทางสำรวจเหนือขั้วโลกและใต้ขั้วโลก เป็นครั้งแรกของโลกกับภารกิจที่ชื่อว่า Fram2 ไปบนยานอวกาศ Dragon ภายในสิ้นปีนี้ ภารกิจสำรวจครั้งนี้ค่อนข้างยุ่งยากเพราะไม่สามารถอาศัยการหมุนของโลกเพื่อเพิ่มความเร็วได้ จึงจำกัดอยู่เพียงการลาดตระเวนทางทหาร การทำแผนที่ การสำรวจระยะไกล และภารกิจเฉพาะทางอื่นๆ เท่านั้น  สำหรับ Fram2 นั้น เหตุผลโดยพื้นฐานก็เหมือนกับการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ในปี 1953 ซึ่งยังไม่มีใครทำได้ โดยลูกเรือที่จะเข้าร่วมเป็นนักธุรกิจ นักผจญภัย นักบินและผู้บังคับบัญชายานพาหนะ มีกำหนดปล่อยตัวขึ้นสู่ห้วงอวกาศไม่เกินช่วงปลายปีนี้ โดยใช้จรวด Falcon 9 จากฟลอริดา โดยจะโคจรรอบโลกที่ระดับความสูงสุด 450 กิโลเมตร เป็นเวลา 3-5 วัน ลูกเรือที่เดินทางไปในครั้งนี้จะได้เห็นปรากฏการณ์แสงเหนือในบริเวณขั้วโลก  และการทำภารกิจดังกล่าวจะมีการบันทึกภาพเอ็กซ์เรย์มนุษย์เป็นครั้งแรกในอวกาศ เพื่อสังเกตผลกระทบของการบินอวกาศต่อร่างกายมนุษย์และจะเริ่มทำภารกิจในปลายปี 2024   ที่มา :...

ที่สุดของผลงานภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ประจำปี 2567

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ประจำปี 2567 หัวข้อ มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์  เผยภาพ “Deep Dark Space” “ฝนดาวตกเจมินิดส์ที่สามพันโบก” “Jupiter in Different Wavelengths” “ยอปากประกับทางช้างเผือก” “สายรุ้งแสงจันทรา” และภาพเคลื่อนไหว "Electrifying Aurora Lofoten" คว้าที่สุดผลงานภาพถ่ายและวิดีโอประจำปีนี้  นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า...

NASA โชว์เหนือ สตรีมวิดีโอ 4K ครั้งแรก จากเครื่องบินไปสถานีอวกาศ

ทีมวิจัย Glenn Research Center ของ NASA โชว์เหนือสตรีมวิดีโอ 4K จากเครื่องบินไปยังสถานีอวกาศนานาชาติและกลับมาเป็นครั้งแรกโดยใช้ระบบสื่อสารแบบออปติคอลหรือเลเซอร์  ความสำเร็จนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถถ่ายทอดวิดีโอสดของนักบินอวกาศบนดวงจันทร์ระหว่างภารกิจอาร์เทมิส ที่ในอดีต NASA อาศัยคลื่นวิทยุในการส่งข้อมูลไปและกลับจากอวกาศ แต่ปัจจุบันได้พัฒนาระบบสื่อสารแบบเลเซอร์โดยใช้แสงอินฟราเรดในการส่งข้อมูล ซึ่งเร็วกว่าระบบความถี่วิทยุ 10 - 100 เท่า โดย NASA ติดตั้งเทอร์มินัลเลเซอร์แบบพกพาที่ใต้ท้องเครื่องบิน Pilatus PC-12 จากนั้นบินขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อส่งข้อมูลไปยังสถานีภาคพื้นดิน  สัญญาณเดินทางไกลจากพื้นโลก 22,000 ไมล์ไปยัง Laser Communications Relay Demonstration (LCRD) ของ NASA จากนั้นจึงส่งข้อมูลกลับมายังโลก ใช้ระบบเครือข่ายที่ทันสมัยช่วยให้สัญญาณสามารถทะลุผ่านพื้นที่ปกคลุมเมฆได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสตรีมวิดีโอความคมชัดระดับ 4K...

ภารกิจใหม่ SpaceX สร้างยานทำลายล้าง ปลดประจำการสถานีอวกาศ NASA

สถานีอวกาศนานาชาติมีวันหมดอายุ SpaceX กำลังสร้างยานอวกาศพลังสูงขึ้นไปทำลายสถานีอวกาศนานาชาติของ NASA ที่ถูกใช้งานมานานถึง 23 ปี NASA ประกาศว่าจะจ่ายเงินให้บริษัท SpaceX ของ Elon Musk สูงถึง 843 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยปลดประจำการสถานีอวกาศนานาชาติ ยานอวกาศ Dragon ขนาดใหญ่พิเศษจะสามารถผลักสถานีอวกาศนานาชาติออกจากวงโคจรและกลับมาสู่ชั้นบรรยากาศ ส่วนชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เผาไหม้ไม่หมดจะสู่ท้องทะเลตามที่วางแผนไว้ ปัจจุบันยานอวกาศ Dragon ของ SpaceX ทำหน้าที่ขนส่งนักบินอวกาศของ NASA และสินค้าไปกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติอยู่แล้ว  แต่จะต่อยอดให้ยานมีกำลังที่มากขึ้นด้วยการติดเครื่องยนต์โดยมีเชื้อเพลิงมากขึ้นถึง 6 เท่า เพื่อสร้างพลังงานเพราะการผลักสถานีอวกาศออกจากวงโคจรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ล่าสุด SpaceX ได้เปิดเผยภาพยานลำใหม่ที่จะมาทำภารกิจในครั้งนี้  จุดหมายปลายทางสุดท้ายของสถานี ISS จะเป็นพื้นที่ห่างไกลในมหาสมุทร...

ความเร็วแสง NASA ส่งเพลงฮิปฮอปไปดาวศุกร์ ทดสอบส่งข้อมูล แค่ 14 นาที

ตามข้อมูลแล้ว ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ซึ่งมีระยะทางอยู่ราว ๆ 108 ล้านกิโลเมตร แต่จะเป็นอย่างไรหากทาง NASA

ให้ดูฟรี ดินจากดวงจันทร์ ครั้งแรกในไทย

“ดินดวงจันทร์” มาไทย เข้าชมฟรีที่งาน อว. NARIT ปลุกพลังแห่งการเรียนรู้นำดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 มาอยู่ใกล้คนไทย สร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้กับคนที่สนใจ  นับเป็นครั้งแรกที่ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ ได้ออกนอกประเทศจีนและคนไทยเป็นกลุ่มแรกที่ได้ดูอีกด้วย  ดินจากดวงจันทร์ที่เก็บโดยประเทศจีน ต้องใช้เวลานานกว่า 40 ปี กว่าภารกิจจะสำเร็จและจีนเป็นประเทศที่สามที่สามารถเก็บดินและหินกลับมาวิจัยต่อได้ รองจากสหรัฐและสหภาพโซเวียต นอกจากจะได้ชมดินดวงจันทร์แล้ว NARIT ยังเปิดให้ชมอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ของคนไทย ที่เตรียมจะไปดวงจันทร์กับภารกิจฉางเอ๋อ 7 มาจัดแสดง  พร้อมโชว์เคสผลงานการใช้โจทย์ดาราศาสตร์ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงด้านต่าง ๆ  ในงาน SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ตั้งแต่วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เข้าฟรี และเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา...

ทำสำเร็จ สหรัฐส่งดาวเทียมดวงใหม่ พยากรณ์อากาศได้แม่นยำ

ก้าวไปอีกขั้น สหรัฐส่งดาวเทียมดวงใหม่ พยากรณ์อากาศได้แม่นยำขึ้น ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา GOES-U ของ NOAA เป็นดาวเทียมดวงที่สี่และดวงสุดท้ายของตระกูล GOES ได้ขึ้นบินด้วยจรวด SpaceX Falcon Heavy จากฐานปล่อย 39A ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี (KSC) ของ NASA โดยขึ้นจากแท่นปล่อยเมื่อเวลา 17:26 น. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2024 ส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จเป็นครั้งที่ 10 เพื่อสังเกตการณ์สภาพอากาศและการตรวจสอบสิ่งแวดล้อม เก็บภาพด้วยความละเอียด  สามารถวัดบรรยากาศ การทำแผนที่เส้นทางฟ้าผ่าได้แบบเรียลไทม์ Advanced Baseline Imager (ABI) เป็นเครื่องมือหลักบนดาวเทียมซีรีส์ GOES...

จีนทำสำเร็จ ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ 6 กลับถึงโลกแล้ว

ตามกันมาหลายเดือน ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของยานฉางเอ๋อ 6 ประสบความสำเร็จ หลังจากเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จีนได้ส่งยานสำรวจฉางเอ๋อ รุ่นที่ 6 ขึ้นสู่อวกาศเพื่อส่งไปสำรวจพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ เป็นบริเวณที่ยังไม่มีประเทศเข้าไปสำรวจได้ เพื่อทำภารกิจกางธงเป็นประเทศแรก รวมถึงเก็บตัวอย่างเศษหินและดินที่อยู่ใกล้กับปล่องภูเขาไฟกลับมาสำรวจอีกครั้ง  ในภารกิจสุดแสนจะท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นความกดดันเรื่องการสื่อสาร ที่ต้องใช้ดาวเทียมทวนสัญญาณเพื่อสื่อสารกับยานสำรวจ หรือการโคตรกลับมายังโลกก็ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยากไปหมด ฉางเอ๋อ 6 อยู่บนอวกาศประมาณ 53 วัน ก่อนชิ้นส่วนจะแตกออกจากกัน ส่งยานกลับมาจุดลงจอดได้สำเร็จ บริเวณเขตปกครองตนเองมองโกเลีย ทางตอนเหนือของจีน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2024 เวลา 14:07 น.  ตามแผนภารกิจที่ตั้งไว้แถมเศษหินและดินของดวงจันทร์ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพื่อส่งต่อให้นักวิจัยไปศึกษาต่อไป ถือว่าปิดฉากการสำรวจดวงจันทร์ของยานฉางเอ๋อ 6 อย่างสมบูรณ์ และในอนาคตจีนกำลังวางแผนยานฉางเอ๋อรุ่นต่อไป เพื่อกลับไปทำภารกิจอีกครั้ง อ่านเพิ่มเติม >> ทำไมต้องสำรวจด้านหลังดวงจันทร์ ? ที่มา : edition  #ฉางเอ๋อ6 #TechhubUpdate

คมชัดที่สุด NASA โชว์ภาพใหม่ เนบิวลาหัวม้า ถ่ายจากอวกาศ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ของ NASA ได้บันทึกภาพอินฟราเรดที่คมชัดที่สุดของ “เนบิวลาหัวม้า” บริเวณหนาแน่นที่เรียกว่าเมฆโมเลกุลนายพรานบี เนบิวลาหัวม้า (Horsehead Nebula) เกิดขึ้นจากคลื่นฝุ่นและก๊าซที่ปั่นป่วนซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,300 ปีแสง เนบิวลานี้ก่อตัวขึ้นจากเมฆมวลสารระหว่างดาวฤกษ์ที่กำลังยุบตัว และสว่างขึ้นเพราะได้รับแสงสว่างจากดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ ๆ โดยแก๊สและฝุ่นจะใช้เวลาประมาณ 5 ล้านปีกว่าจะสลายตัวไป โดยใช้กล้องอินฟราเรดระยะกลาง (MIRI) และ NIRCam ของ เจมส์ เว็บบ์ จึงทำให้สามารถเก็บภาพเนบิวลาหัวม้าได้คมชัดที่สุดในประวัติศาสตร์ เราจะเห็นเป็นหัวม้าออกมาจากเมฆอย่างสวยงาม  สำหรับใครที่สนใจอยากชมภาพหรือดูภาพถ่ายอวกาศจากกล้อง เจมส์ เว็บบ์ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่  แจกลิงก์โหลดฟรี ภาพถ่ายห้วงอวกาศ ของ NASA ชัดที่สุดจากกล้อง James Webb >> https://www.techhub.in.th/cosmic-cliffs-form-james-webb-space-telescope/    ที่มา...

Hot Issue