ไม่อยากให้พลาด ลุ้นดูดาวหางใกล้โลก จื่อจินซาน-แอตลัส
ต้นเดือนตุลาคมนี้ มาลุ้นดูดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ด้วยตาเปล่า ถ้าพลาดต้องรอไปอีก 80,660 ปีข้างหน้า
NARIT ชวนดู “ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส” หรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ต้นเดือนตุลาคมนี้เป็นช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ที่สุดคือช่วงดาวหางโคจรใกล้โลกวันที่ 13 ต.ค. 67 ให้สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว
ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ถูกค้นพบครั้งแรกช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 โดยนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวจื่อจินซานในประเทศจีน และระบบเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS ประเทศแอฟริกาใต้
ขณะนี้ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพุธและดาวศุกร์ และจะเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 28 กันยายน 2567 ระยะห่างประมาณ 58.6 ล้านกิโลเมตร...
ผิดคาด จรวดจีน Deep Blue Aerospace ลงจอดแนวตั้งไม่สำเร็จ
แนวคิดการนำจรวดกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง ถือเป็นการปฏิวัติวงการอวกาศอย่างยิ่ง เพราะช่วยลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล
ข้อมูลใหม่ เปิดผลวิเคราะห์ดินดวงจันทร์ บอกต้นกำเนิดและวิวัฒนาการ
จีนออกเอกสารฉบับแรกเกี่ยวกับดินตัวอย่างที่เก็บจากยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ 6 เอกสารดังกล่าวอาจให้ข้อมูลเชิงลึกและนำไปสู่ทฤษฎีใหม่ ๆ เกี่ยวกับดวงจันทร์และวิวัฒนาการของดวงจันทร์ได้
ยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ 6 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศกินเวลานานถึง 53 วัน เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยานลงจอดได้เก็บดินตัวอย่างภายในบริเวณที่เรียกว่าหลุมอุกกาบาตอพอลโล กลับมายังโลกด้วยน้ำหนัก 4 ปอนด์ (1,935.3 กรัม) ได้สำเร็จ
ตัวอย่างเหล่านี้ถูกนำไปเก็บไว้ในสถานที่พิเศษที่พัฒนาขึ้นเพื่อการจัดเก็บ การวิเคราะห์ และได้ศึกษาวิจัยตีพิมพ์ใน National Science Review ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับดินที่เก็บมาเป็นครั้งแรก
นักวิจัยพบว่าตัวอย่างที่เก็บได้มีความหนาแน่นต่ำกว่าตัวอย่างจากดวงจันทร์ก่อนหน้านี้ ซึ่งเก็บจากด้านใกล้ของดวงจันทร์ อีกทั้งดินยังประกอบด้วยอนุภาคสีอ่อน มีส่วนผสมของแร่ Feldspar และแก้ว อีกทั้งมีความเข้มข้นของแร่ธาตุหายากจากลาวาบนดวงจันทร์
รวมถึงมีเศษหินที่เกิดจากการการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย และดินที่มียอนุภาคสีอ่อน มากกว่าตัวอย่างที่เก็บได้จากภารกิจด้านใกล้ของยานฉางเอ๋อ 5 ในปี 2020
ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะนำไปสู่แนวคิดและทฤษฎีใหม่...
NASA ให้โหลดฟรี ภาพอวกาศตรงวันเกิด ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า NASA เปิดเว็บไซต์ให้ทุกคนได้ลองค้นหาภาพดาราศาสตร์ที่ตรงกับวันเกิดของเรา แถมยังสามารถโหลดเก็บไว้เป็นที่ระลึก
กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลจะสำรวจจักรวาล 24 ชั่วโมงตลอด 7 ทั้งวัน เราจะเห็นภาพดาราศาสตร์ที่หาชมได้ยากแถมรูปภาพไม่ซ้ำกันด้วย ทำให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของจักรวาลที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
ตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจอวกาศ แบบไม่มีวันหยุด
NASA จึงอยากแบ่งปันรูปภาพเหล่านี้จึงสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย ๆ เพียงแค่เราเลือกเดือนและวันที่ เราก็จะเห็นรูปถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ที่ทั้งสวยและเป็นเอกลักษณ์
อยากรู้ไหมว่ากล้องฮับเบิลเห็นภาพวัตถุอวกาศแบบไหนในวันเกิดของเรา สามารถเข้าไปเช็คภาพถ่ายดาราศาสตร์ได้ที่ >> https://imagine.gsfc.nasa.gov/hst_bday/
แล้วมาอวดภาพสวย ๆ ใต้คอมเมนต์กันบ้างนะ
#กล้องโทรทรรศน์ #NASA #TechhubUpdate
ภารกิจใหม่ SpaceX ส่งนักบินอวกาศชุดแรก ขึ้นยานอวกาศสำรวจเหนือขั้วโลก
ไปไกลแล้ว SpaceX เปิดภารกิจส่งมนุษย์ร่วมเดินทางสำรวจเหนือขั้วโลกและใต้ขั้วโลก เป็นครั้งแรกของโลกกับภารกิจที่ชื่อว่า Fram2 ไปบนยานอวกาศ Dragon ภายในสิ้นปีนี้
ภารกิจสำรวจครั้งนี้ค่อนข้างยุ่งยากเพราะไม่สามารถอาศัยการหมุนของโลกเพื่อเพิ่มความเร็วได้ จึงจำกัดอยู่เพียงการลาดตระเวนทางทหาร การทำแผนที่ การสำรวจระยะไกล และภารกิจเฉพาะทางอื่นๆ เท่านั้น
สำหรับ Fram2 นั้น เหตุผลโดยพื้นฐานก็เหมือนกับการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ในปี 1953 ซึ่งยังไม่มีใครทำได้
โดยลูกเรือที่จะเข้าร่วมเป็นนักธุรกิจ นักผจญภัย นักบินและผู้บังคับบัญชายานพาหนะ
มีกำหนดปล่อยตัวขึ้นสู่ห้วงอวกาศไม่เกินช่วงปลายปีนี้ โดยใช้จรวด Falcon 9 จากฟลอริดา โดยจะโคจรรอบโลกที่ระดับความสูงสุด 450 กิโลเมตร เป็นเวลา 3-5 วัน ลูกเรือที่เดินทางไปในครั้งนี้จะได้เห็นปรากฏการณ์แสงเหนือในบริเวณขั้วโลก
และการทำภารกิจดังกล่าวจะมีการบันทึกภาพเอ็กซ์เรย์มนุษย์เป็นครั้งแรกในอวกาศ เพื่อสังเกตผลกระทบของการบินอวกาศต่อร่างกายมนุษย์และจะเริ่มทำภารกิจในปลายปี 2024
ที่มา :...
ที่สุดของผลงานภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ประจำปี 2567
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ประจำปี 2567 หัวข้อ มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ เผยภาพ “Deep Dark Space” “ฝนดาวตกเจมินิดส์ที่สามพันโบก” “Jupiter in Different Wavelengths” “ยอปากประกับทางช้างเผือก” “สายรุ้งแสงจันทรา” และภาพเคลื่อนไหว "Electrifying Aurora Lofoten" คว้าที่สุดผลงานภาพถ่ายและวิดีโอประจำปีนี้
นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า...
NASA โชว์เหนือ สตรีมวิดีโอ 4K ครั้งแรก จากเครื่องบินไปสถานีอวกาศ
ทีมวิจัย Glenn Research Center ของ NASA โชว์เหนือสตรีมวิดีโอ 4K จากเครื่องบินไปยังสถานีอวกาศนานาชาติและกลับมาเป็นครั้งแรกโดยใช้ระบบสื่อสารแบบออปติคอลหรือเลเซอร์
ความสำเร็จนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถถ่ายทอดวิดีโอสดของนักบินอวกาศบนดวงจันทร์ระหว่างภารกิจอาร์เทมิส
ที่ในอดีต NASA อาศัยคลื่นวิทยุในการส่งข้อมูลไปและกลับจากอวกาศ แต่ปัจจุบันได้พัฒนาระบบสื่อสารแบบเลเซอร์โดยใช้แสงอินฟราเรดในการส่งข้อมูล ซึ่งเร็วกว่าระบบความถี่วิทยุ 10 - 100 เท่า
โดย NASA ติดตั้งเทอร์มินัลเลเซอร์แบบพกพาที่ใต้ท้องเครื่องบิน Pilatus PC-12 จากนั้นบินขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อส่งข้อมูลไปยังสถานีภาคพื้นดิน
สัญญาณเดินทางไกลจากพื้นโลก 22,000 ไมล์ไปยัง Laser Communications Relay Demonstration (LCRD) ของ NASA จากนั้นจึงส่งข้อมูลกลับมายังโลก ใช้ระบบเครือข่ายที่ทันสมัยช่วยให้สัญญาณสามารถทะลุผ่านพื้นที่ปกคลุมเมฆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถสตรีมวิดีโอความคมชัดระดับ 4K...
ภารกิจใหม่ SpaceX สร้างยานทำลายล้าง ปลดประจำการสถานีอวกาศ NASA
สถานีอวกาศนานาชาติมีวันหมดอายุ SpaceX กำลังสร้างยานอวกาศพลังสูงขึ้นไปทำลายสถานีอวกาศนานาชาติของ NASA ที่ถูกใช้งานมานานถึง 23 ปี
NASA ประกาศว่าจะจ่ายเงินให้บริษัท SpaceX ของ Elon Musk สูงถึง 843 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยปลดประจำการสถานีอวกาศนานาชาติ
ยานอวกาศ Dragon ขนาดใหญ่พิเศษจะสามารถผลักสถานีอวกาศนานาชาติออกจากวงโคจรและกลับมาสู่ชั้นบรรยากาศ ส่วนชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เผาไหม้ไม่หมดจะสู่ท้องทะเลตามที่วางแผนไว้
ปัจจุบันยานอวกาศ Dragon ของ SpaceX ทำหน้าที่ขนส่งนักบินอวกาศของ NASA และสินค้าไปกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติอยู่แล้ว
แต่จะต่อยอดให้ยานมีกำลังที่มากขึ้นด้วยการติดเครื่องยนต์โดยมีเชื้อเพลิงมากขึ้นถึง 6 เท่า เพื่อสร้างพลังงานเพราะการผลักสถานีอวกาศออกจากวงโคจรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ล่าสุด SpaceX ได้เปิดเผยภาพยานลำใหม่ที่จะมาทำภารกิจในครั้งนี้
จุดหมายปลายทางสุดท้ายของสถานี ISS จะเป็นพื้นที่ห่างไกลในมหาสมุทร...
ความเร็วแสง NASA ส่งเพลงฮิปฮอปไปดาวศุกร์ ทดสอบส่งข้อมูล แค่ 14 นาที
ตามข้อมูลแล้ว ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ซึ่งมีระยะทางอยู่ราว ๆ 108 ล้านกิโลเมตร แต่จะเป็นอย่างไรหากทาง NASA
ให้ดูฟรี ดินจากดวงจันทร์ ครั้งแรกในไทย
“ดินดวงจันทร์” มาไทย เข้าชมฟรีที่งาน อว.
NARIT ปลุกพลังแห่งการเรียนรู้นำดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 มาอยู่ใกล้คนไทย สร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้กับคนที่สนใจ
นับเป็นครั้งแรกที่ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ ได้ออกนอกประเทศจีนและคนไทยเป็นกลุ่มแรกที่ได้ดูอีกด้วย
ดินจากดวงจันทร์ที่เก็บโดยประเทศจีน ต้องใช้เวลานานกว่า 40 ปี กว่าภารกิจจะสำเร็จและจีนเป็นประเทศที่สามที่สามารถเก็บดินและหินกลับมาวิจัยต่อได้ รองจากสหรัฐและสหภาพโซเวียต
นอกจากจะได้ชมดินดวงจันทร์แล้ว NARIT ยังเปิดให้ชมอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ของคนไทย ที่เตรียมจะไปดวงจันทร์กับภารกิจฉางเอ๋อ 7 มาจัดแสดง
พร้อมโชว์เคสผลงานการใช้โจทย์ดาราศาสตร์ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงด้านต่าง ๆ
ในงาน SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ตั้งแต่วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เข้าฟรี
และเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา...