เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน ช่วยได้จริงหรือ

เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน

สถานการณ์โลกร้อนในปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับวิกฤตอย่างมาก หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลาย แห่งบ่งชี้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบที่เกิดขึ้นก็รุนแรงและกว้างขวางมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การละลายของน้ำแข็ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพ บริษัทในหลายประเทศจึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนขึ้นมา เพื่อช่วยดูดซับคาร์บอน์ให้มากขึ้น ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และคาร์บอนที่มีอยู่ในอากาศ เพื่อช่วยความรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

Techhub ได้การมีสัมภาษณ์พิเศษกับคุณ แอนเดรียส มอลทิเชน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ประจำภูมิภาคเอเชีย  บริษัทเอบีบี เกี่ยวกับเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนในปัจจุบัน ซึ่งท่านได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจครับ

โดยในปัจจุบันนั้น มีแนวทางที่แตกต่างกันสำหรับการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Storage) อยู่หลายวิธี ตั้งแต่ การดักจับก่อนการเผาไหม้ การดักจับหลังการเผาไหม้ การดักจับการเผาไหม้ด้วยออกซิเจน และการดักจับคาร์บอนในอากาศโดยตรง (DAC) ซึ่งการดักจับหลังการเผาไหม้ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยี CCS ที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากสามารถปรับให้เข้ากับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันได้

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เริ่มมีความสนใจและการลงทุนการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับและจัดเก็บคาร์บอนในอากาศโดยตรง และการผลิตพลังงานชีวภาพด้วยการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (BECCS) สำหรับการใช้งานในวงกว้าง ซึ่ง BECCS ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยที่เทคโนโลยีดังกล่าวถือเป็นเทคโนโลยีการปล่อยคาร์บอนเป็นลบ เนื่องจาก BECCS แทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยเชื้อเพลิงชีวมวล (อินทรียวัตถุ) และดักจับก๊าซ CO2 ที่ปล่อยออกมาจากการเผาไหม้ชีวมวล และกำจัดออกในทันที

สำหรับ เอบีบี ได้มมีสนับสนุนลูกค้าในการดำเนินโครงการริเริ่มการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการจัดหาระบบควบคุมอัตโนมัติ/ ICSS การใช้พลังงานไฟฟ้า และโซลูชันดิจิทัล เพื่อตรวจสอบ ควบคุม และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการในวงจรการผลิตทั้งหมดตั้งแต่ต้นทางจนกระทั่งถึงปลายทาง ทั่วทั้งเครือข่ายตั้งแต่การดักจับ ไปจนถึงการขนส่ง และการอัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใต้ผิวดิน

โดยเอบีบีรับรองการควบคุมกระบวนการเหล่านี้อย่างมีประสิทธิผล และเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของต้นทุนการดำเนินงานตลอดอายุการใช้งานในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานครับ

เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนในอากาศ ช่วยได้ขนาดไหน หากเทียบกับการดักจับคาร์บอนจากที่ได้จากโรงอุตสาหกรรม ?

เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนในอากาศ หรือ Direct Air Capture (DAC) ถือว่าเป็นแนวทางเชิงลบสุทธิ (ดีกว่าที่เป็นศูนย์สุทธิ) เนื่องจากจะแยกและกำจัด CO2 ออกจากบรรยากาศโดยไม่จำเป็นต้องแยก CO2 ออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือจากกระแสก๊าซไอเสียที่เผาไหม้ในกิจกรรมทางอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นวิธีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีราคาแพงมาก เนื่องจากความเข้มข้นของ CO2 ในชั้นบรรยากาศนั้นต่ำกว่าความเข้มข้นของก๊าซ CO2 ทางอุตสาหกรรม และต้องใช้พลังงานสูงในการจัดการ

ปัจจุบันมีโครงการการดักจับคาร์บอนในอากาศโดยตรง (DAC) ที่ริเริ่มขึ้นทั่วโลก และมีโครงการบางส่วนที่กำลังดำเนินงานในระดับขนาดเล็กอยู่ แต่จำเป็นต้องขยายขนาดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ในเชิงเศรษฐกิจ

เทคโนโลยีทั้งสองแบบเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน และจำเป็นสำหรับแนวทางที่ครอบคลุมในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าการกักเก็บคาร์บอนทางอุตสาหกรรมหรือ CCS จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดการปล่อยก๊าซจากแหล่งกำเนิด แต่เทคนิคของ DAC ถือเป็นทางเลือกใหม่ ในการจัดการกับการปล่อยก๊าซ CO2  ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างสมดุลในแง่ของการจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ทั่วโลก

เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนในอากาศแบบใดบ้าง ที่ ABB ได้เข้าไปมีส่วนร่วม

ในด้าน CCS นั้น ABB ได้สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 1996 โดยเริ่มจากโรงงานอัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใต้ผิวดินนอกชายฝั่ง Sleipner ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งนอร์เวย์ ลึกลงไปใต้ทะเลเหนือ

เอบีบีได้มีการจัดการด้านกระบวนการและระบบควบคุมความปลอดภัย ระบบจ่ายไฟฟ้า และระบบโทรคมนาคม เพื่อทำให้กระบวนการผลิตเป็นอัตโนมัติและควบคุมกระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

โครงการถัดมา คือ โครงการ Snohvit CCS และ Test Center Monstad (TCM) ก็เป็นอีกสองโครงการที่โดดเด่นที่เอบีบี ได้จัดหาโซลูชั่นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

โครงการล่าสุดที่ ABB สนับสนุนผ่าน ICSS โซลูชันการใช้พลังงานไฟฟ้าและการดำเนินงานระยะไกล คือโครงการ Northern Lights โครงการนี้คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567

นอกจากนี้ ABB ยังลงทุนในความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเพื่อลดอุปสรรคในการนำไปใช้ เช่น Pace CCS (UK) และ CMG Canada ในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลทวิน โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เอบีบี และมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ได้ขยายความร่วมมือไปทั่วโลกในโครงการนำร่องการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะ ซึ่งจะฝึกอบรมให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ตลอดจนวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ในอนาคตต่อไป

ท้ายสุด เราต้องยอมรับกันจริง ๆ ว่า ตอนนี้ สถานการณ์โลกร้อนนั้นเข้าขั้นวิกฤตแล้ว ซึ่งตัวเราเองก็สามารถช่วยโดยการลดใช้การพลังงานให้มากที่สุด และในภาคอุตสาหกรรมนั้นพวกเขาก็ไม่ได้นิ่งดูดาย เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนถือเป็นความหวังในการบรรเทาสถานการณ์โลกร้อน ถึงแม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา แต่ก็เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้โลกมีอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น