“ข้าวหรือเน็ตสำคัญกว่ากัน” บิ๊กดาต้า เผยความต้องการของคนหนุ่มสาวในเอเชียแปซิฟิค

จะเลือกอะไรระหว่างอาหารกับอินเทอร์เน็ต กับคำถามแบบนี้ คำตอบที่จะได้ยินจากเด็กรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคอาจทำให้คุณต้องประหลาดใจ

“ยังต้องถามอีกเหรอ ฉันอยู่ไม่ได้หรอกหากไม่มีโทรศัพท์มือถือ” หรือ “ไม่มีเน็ต ฉันก็ทำงานไม่ได้ แล้วจะทำมาหากินได้ยังไง”

และบางทีสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การเดาใจคนรุ่นใหม่วัยดิจิทัลอาจเป็นเรื่องยาก แต่เชื่อมั้ยว่า อินเทอร์เน็ตได้ครอบงำโลกของพวกเขาหมดแล้ว  ดังนั้น ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมและคนทำคอนเทนท์อาจจะอยู่ในตลาดต่อไปไม่ได้ หากไม่สนใจพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่นี้

ในงาน Huawei Asia Pacific Emerging Market Summit ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้  โอเปอเรเตอร์และซัพพลายเออร์ด้านคอนเทนท์จากทั่วโลกได้ตระหนักว่า ตลาดเกิดใหม่ด้านไอซีทีในเอเชียแปซิฟิคนั้นมีทั้งโอกาสและความท้าทายอยู่มากมายจากความนิยมอันหลากหลายของคนรุ่นใหม่

และแน่นอนว่า การเกาะกระแสความนิยมของคนรุ่นใหม่ ทั้งวิดีโอ, อี-คอมเมิร์ส รวมไปถึงโมบายเพย์เมนท์ เป็นทางเลือกที่ถูกต้อง และโอกาสก็ขึ้นอยู่กับการนำนโยบายด้านอุตสาหกรรมมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การสร้างระบบนิเวศร่วมกัน และการสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่

กับอินเทอร์เน็ตแล้ว ผู้บริโภคกลุ่มไหนยินดีที่จะจ่าย

จากข้อมูลล่าสุดของ ITU (สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ) แสดงให้เห็นว่า มีหนุ่มสาว 830 ล้านคนที่มีอายุระหว่าง 15 – 24 ปี สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งคิดเป็นกว่า 80% ของประชากรวัยหนุ่มสาวใน 104 ประเทศ และตัวเลขนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ทุกวันคุณอาจจะพบเจอชาวเน็ตวัยหนุ่มสาวในบรรดา 830 ล้านคนได้ตามท้องถนนทั่วไป พวกเขาอาจจะกำลังกินอาหารง่ายๆ ในมือ แล้วก็เล่นโทรศัพท์มือถือราคาแพงกว่า 25,000 บาท

ในประเทศไทย พวกเขาชอบเล่น Face Dance แชทผ่านแอพไลน์หรือแมสเซนเจอร์ โพสต์รูปบนเฟซบุ๊ค ดูวิดีโอบนยูทูบ และฟังเพลงผ่าน Joox

ส่วนบังคลาเทศ คนรุ่นใหม่ชอบที่จะแชร์ชีวิตของตนผ่านเฟซบุ๊ค บราวซ์เว็บผ่าน UC Browser ส่งไฟล์ด้วย SHAREit  คุยโทรศัพท์แบบเห็นหน้าผ่าน Uni Messenger หรือ WhatsApp

ไมเคิล แมคโดนัลด์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของหัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยว่า 67% ของหนุ่มสาวชาวไทยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี จ่ายเงิน 300 – 700 บาทเป็นค่าอินเทอร์เน็ต ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถซื้อขนมปังได้มากกว่า 20 ชิ้น หรือแฮมเบอร์เกอร์ 5 – 7 ชิ้น

คนกลุ่มนี้มีรายได้ไม่สูง แต่จ่ายเงินค่าบริการอินเทอร์เน็ตมากที่สุด และ 34.4% ของพวกเขาก็เป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือรุ่นไฮเอนด์ด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารายได้ 2.4% ของคนที่อายุระหว่าง 16 – 25 ปี จ่ายเป็นค่าอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดของทุกกลุ่มช่วงอายุ

ข้อมูลจาก Forrester เน้นย้ำถึงข้อมูลนี้เช่นกัน  มร. หวัง เสี่ยวเฟิง นักวิเคราะห์ของ Forrester ได้กล่าวว่า ผู้บริโภควัยหนุ่มสาวเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเร่งให้เกิดการพัฒนาด้านโทรคมนาคมและโมบายล์อินเทอร์เน็ต เพราะพวกเขาเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุด ใช้เวลาออนไลน์มากที่สุด และมีสัดส่วนการใช้งานสูงสุด   กิจกรรมที่ทำบนเน็ตมากที่สุดคือ เล่นเกมออนไลน์ โซเชี่ยลมีเดียและรับ-ส่งข้อความ ตามด้วยบริการอื่นๆ เช่น วิดีโอ ช้อปปิ้งออนไลน์ และแอพโมบิลิตี้อัจฉริยะ

79% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยยังบอกว่า ชีวิตของพวกเขาผูกติดอยู่กับโทรศัพท์มือถือ คนรุ่นใหม่เต็มใจที่จะเปิดรับและสนุกกับชีวิตแบบดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่สนใจว่าจะหาเงินได้เท่าไร และยิ่งเห็นได้ชัดว่า เด็กวัยดิจิทัลนี้เตรียมพร้อมที่จะเปิดรับทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต

ความต้องการด้านไอซีทีกำลังมา  

ตลาดเกิดใหม่กำลังจะกลายเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากมายจากพฤติกรรมการบริโภคของคนรุ่นใหม่และการสนับสนุนนโยบายของชาติ  หลายประเทศเริ่มตระหนักว่า อินเทอร์เน็ตได้ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และได้ออกนโยบายหรือแผนระดับชาติหลายฉบับเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านไอซีทีและเศรษฐกิจดิจิทัล

จากรายงานดัชนีชี้วัดการเชื่อมโยงสื่อสารทั่วโลก (GCI) ของหัวเว่ย ประเทศเกิดใหม่ 7 ใน 50 ประเทศได้มีการดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านไอซีที จนทำให้อันดับ GCI ดีขึ้น โดยประเทศมาเลเซียประสบผลสำเร็จมากที่สุดจากการดำเนินนโยบาย “ดิจิทัล มาเลเซีย” โดยก้าวขึ้นถึง 4 อันดับ ในขณะที่อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และโคลัมเบียขยับขึ้น 2 อันดับ

ความต้องการไอซีทีในตลาดเกิดใหม่ ยังห่างไกลจากคำว่า พึงพอใจ

มร. โจว เจี้ยนจวิน รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมของหัวเว่ย กล่าวว่า มีประชากรราว 3.9 พันล้านคนทั่วโลกยังไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ และ 3 พันล้านคนนี้อยู่ในประเทศตลาดเกิดใหม่  ในขณะที่คน 1.1 พันล้านครอบครัวไม่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน และ 800 ล้านครัวเรือนอยู่ในตลาดเกิดใหม่ และเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว การดูวิดีโอแบบจ่ายเงิน อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ บริการคลาวด์เอ็นเตอร์ไพรส์ในตลาดเกิดใหม่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น

เมื่อเจอตลาดที่น่าสนใจเช่นนี้  โอเปอเรเตอร์และผู้สร้างคอนเทนท์เกมมีหรือจะอยู่เฉยเพื่อรอกำไร แน่นอนว่าไม่ใช่  โอเปอเรเตอร์ในตลาดเกิดใหม่ยังต้องเจอกับความท้าทายอีกหลายอย่างข้างหน้า อาทิ ประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีพอ กำไรเพิ่มขึ้นช้า ต้นทุนค่าคลื่นความถี่สูงและความไม่มีประสิทธิภาพ

ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาของโอเปอเรเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัล จะมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล

คนหนุ่มสาวที่ชื่นชอบความสะดวกสบายจากอินเทอร์เน็ตอาจไม่รู้ว่า โอเปอเรเตอร์ต้องเผชิญกับความท้าทายมากเพียงใดเพื่อทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้น  ในตลาดเกิดใหม่หลายประเทศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ โอเปอเรเตอร์จะพบปัญหาในเรื่องของการหาพื้นที่ติดตั้งสถานีฐานแห่งใหม่เพื่อรับส่งสัญญาณ ทำให้สัญญาณไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานที่ลื่นไหล รวมถึงคลื่นความถี่ 4G ของหน่วยงานในกำกับรัฐบาลที่ทำให้โอเปอเรเตอร์มีต้นทุนมหาศาล จึงทำให้ยากที่จะกำหนดราคาค่าโทรศัพท์ให้ต่ำ การมีไฟเบอร์ออพติกไม่เพียงพอ และขั้นตอนการขอติดตั้งที่ใช้เวลานานทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น เมื่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุมพื้นที่น้อย ต้นทุนค่าบริการก็จะยิ่งสูงขึ้น

ส่วนบางประเทศที่พัฒนาอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างดีแล้วก็จะเจอกับปัญหาการเชื่อมต่อที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเร็วในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในเมืองหลวงจะเร็วกว่าในเมือง ตำบลหรือหมู่บ้านที่มีการพัฒนาด้อยกว่า ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ทั้งบรอดแบนด์ในครัวเรือนและโมบายล์บรอดแบนด์ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกมาก

มร. โจว ยังได้กล่าวว่า ปัจจัยหลักๆ ในการเร่งให้เกิดการพัฒนาตลาดเกิดใหม่คือ นโยบายด้านไอซีที ความร่วมมือในอุตสาหกรรม และโซลูชั่นด้านธุรกิจ และได้เรียกร้องให้หน่วยงานในกำกับดูแลแห่งชาติออกนโยบายที่จำเป็น อาทิ การจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ และใช้นโยบายเปิดเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

นอกจากนี้ เขายังได้ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันสร้างระบบนิเวศ ส่งเสริมให้เกิดแนวทางการประสานงาน และสนับสนุนการสร้างโครงข่ายและการพัฒนาอย่างรวดเร็วในตลาดเกิดใหม่ เพื่อให้มีเน็ตเวิร์คครอบคลุมทุกหนแห่ง

และในแง่ของธุรกิจ พวกเราทุกคนจะต้องผลักดันให้เกิดการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลและสร้างบรอดแบนด์ในครัวเรือน

ในฐานะที่เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นด้านไอซีทีชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้โอเปอเรเตอร์เจาะเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ได้ตรงตามยุทธศาสตร์และคว้าโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ หัวเว่ยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด พร้อมด้วยประสบการณ์มากมายที่จะช่วยโอเปอเรเตอร์เพิ่มผลกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดตาม Huawei Asia Pacific Emerging Market Summit