ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตไร้สายกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริโภค กับการใช้ควบคู่กับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์โน้ตบุก แต่นอกจากการใช้ 3G หรือ 4G แล้ว บางครั้งผู้บริโภคบางรายอาจหวังพึ่งการใช้อินเทอร์เน็ตหรือ Wi-Fi ฟรี หรือบางรายอาจมีความจำเป็นต้องมาใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจแอบแฝงอันตรายจากบรรดาผู้ไม่หวังดีที่จ้องขโมยรหัสผ่านต่างๆ รวมไปถึงใช้ช่องทางออนไลน์สาธารณะเพื่อโจรกรรมข้อมูล ดังนั้นเพื่อเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตสาธารณะแบบปลอดภัยไว้ก่อน จะมีวิธีอย่างไรบ้าง ไปชมกันครับ
1. อย่ากด “remember me” หรือ “remember password” ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ
คอมพิวเตอร์สาธารณะ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับคนทั่วไป เช่น ในห้องสมุด สนามบิน ร้านกาแฟ ร้านเน็ต ต่างมีความเสี่ยงต่อการถูกดักข้อมูล ดักแป้นพิมพ์ และการแอบบันทึก ID และ Password โดยเจ้าของร้าน หรือโดยผู้ใช้ที่เคยแอบมาติดตั้งโปรแกรมร้ายๆในเครื่องนั้น หากพลาดเพียงครั้งเดียว ข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่านที่เคยป้อนลงในเครื่องสาธารณะ อาจจะถูกบันทึกและแอบนำไปใช้งาน ยิ่งไปกว่านั้น คอมพิวเตอร์สาธารณะ อาจจะเก็บข้อมูลจอภาพที่ท่านไปเข้าชม รวมทั้ง cookies (ข้อมูลเว็บไซต์ที่ท่านเข้าไปชมจะถูกเก็บไว้ที่เครื่อง PC เพื่อว่าหากท่านเข้าไปอีกครั้งจะจำได้ว่าเป็นเครื่องเดิม) เหล่านี้ล้วนแต่จะทำให้บุคคลอื่นสามารถปลอมเป็นตัวท่านได้
หากเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ท่านเคยใช้งาน พูดง่าย ๆ ก็คือ หากท่านยังไม่คล่องเรื่องการระงับการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลใน PC ท่านไม่ควรเข้าไปทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ ยกเว้นว่าท่านสามารถตรวจการตั้งค่าต่างๆ ของ Windows (Network setting และ IE Setting) ได้อย่างคล่องแคล่ว แม้แต่การเข้าไปเช็ค email ทาง Hotmail, gmail หรือ yahoo เบราเซอร์บนเครื่องสาธารณะต่างก็พร้อมที่จะ “จดจำ” password ทุกตัวของท่านเพื่อใช้เข้าครั้งต่อไปโดยอัตโนมัติ คนที่รอใช้เครื่องหลังจากท่านหากคิดที่ปลอมแปลงเป็นตัวท่าน เขาก็มีวิธีการที่จะทราบว่าท่านไปชมเว็บไหนมาบ้างที่ง่ายมาก ด้วยการกดปุ่ม “Go”,ตามด้วย “History” ใน Internet Explorer แล้วเข้าสู่เว็บไซต์ แล้วทีนี้ password และ username ที่ท่านเผลอกดให้เบราเซอร์จำไว้ก็จะช่วยให้คนร้ายเข้าไปร้างความเสียหายให้กับแอคเคาท์ของท่านได้อย่างง่ายดาย
2. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
โปรดระวัง หากท่านคิดจะทำรายการด้านการเงินบนเครื่องประเภทนี้ โดยปราศจาก WPA หรือ WEP ในการเข้ารหัสลับมาตรฐาน ข้อมูลที่ควรจะเป็นความลับเของท่าน อาจถูกดักรับได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรัศมีคลื่นวิทยุของ WiFi ในบริเวณนั้น
3. อย่าบอก Password ของท่านแก่ผู้อื่น
ท่านไม่มีทางทราบได้เลยว่าผู้อื่นจะนำไปใช้งานเข้าสู่ระบบเมื่อใด หรือนำไปใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ หากผู้ที่แอบอ้างเป็นท่านไปกระทำความผิด กว่าท่านจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่ตัวท่านทำเอง ชีวิตก็คงจะลำบากไปอีกนาน ทางที่ดีอย่าบอก Password ให้แก่บุคคลอื่น หรือเผลอเขียนลงไปบนกระดาษ ส่วน User ID ทางที่ดีอย่าบอกใครจะดีกว่าแม้จะใช้เข้าระบบไม่ได้แต่ก็ใช้แอบอ้างได้ บทแทรก – การกำหนด password ให้จำง่ายหรือเดาง่ายเกินไป ก็เป็นภัยต่อตัวท่านเองได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น โปรดอย่าคิดจะตั้ง password เป็นชื่อลูก ชื่อคนรัก หรือชื่อสัตว์เลี้ยง หรือเลขหมายโทรศัพท์ หรือวัน/เดือน/ปีเกิด ที่อาจจะมีคนเดาได้ การตั้ง password ไม่ดี เสี่ยงเท่ากับการบอก password แก่ผู้อื่น
4. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าอินเตอร์เน็ต
ถ้าท่านได้สั่งให้เครื่องจำ user ID และ password เอาไว้เพื่อความสะดวกในการเข้าสู่ระบบข้อมูลหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สภาพเช่นนี้ไม่แตกต่างไปจากความเสี่ยงข้อแรก คือเท่ากับการบอก password แก่ผู้อื่น แล้วผู้นั้น เอาไปกระทำความผิดได้หลายรูปแบบ
5. อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
การทำเช่นนี้ทำให้คนทั่วไปที่อยู่ริมถนน หรือข้างบ้าน เข้าร่วมใช้ระบบไร้สายของท่านได้ ท่านจะทราบได้อย่างไร ว่าคนที่ผ่านหน้าบ้านหรือสำนักงานที่ติด wireless LAN จะไม่ใช่ผู้ร้ายที่อาจจะมาเข้าอินเตอร์เน็ตของท่านเพื่อไปกระทำความผิด แล้วเขาก็ลอยนวล