เจาะลึกเทคโนโลยี Easy E-Receipt และ เทคโนโลยี E-TAX invoice

Easy E-Receipt

สำหรับ Easy E-Receipt  คือมาตรการลดหย่อนภาษีที่กรมสรรพากรทำขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจะใช้งานร่วมกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เทคโนโลยี  E-TAX invoice  แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจถึงเงื่อนไขและรูปแบบการใช้งาน รวมถึงทำไมต้องเป็น E-TAX invoice มาเจาะลึกไปกับ Techhub กันครับ

เหตุที่ Easy E-Receipt จำเป็นต้องใช้งานควบค่กับ E-TAX invoice นั่นก็เพราะสรรพากรอยากให้คนและร้านค้าต่าง ๆ หันไปใช้งานระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพราะมีข้อดีมากกว่าใบกำกับภาษีปกติอย่างมาก โดยสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน รวมทั้งช่วยลดต้นทุนให้กับร้านค้า เพิ่มความปลอดภัย และช่วยลดการใช้กระดาษได้มากขึ้น

เบื้องหลัง E-TAX invoice นั้นประกอบไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายทั้ง

1.ระบบ EDI ที่เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ
คอมพิวเตอร์สองระบบ

2.เทคโนโลยีลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital Signature) ที่ใช้สำหรับการลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

3.เทคโนโลยีการเข้ารหัสที่ใช้สำหรับการปกป้องข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากการถูกปลอมแปลงหรือแก้ไข

E-TAX invoice ช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว โดยสามารถจัดทำและส่งใบกับกับภาษีให้ผู้ซื้อได้ทันทีโดยไม่ต้องรอกรอกและพิมพ์เอกสาร และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องโดยระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ถ้าหากมีส่วนใดที่ใส่ข้อมูลผิด ระบบจะแจ้งทันที  ลดความผิดพลาดได้ดีเลยทีเดียว  แต่ปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าทุกร้านจะเข้าร่วมนะ แล้วแต่ความสะดวกของร้านนั้น ๆ โดยเราสามารถสังเกตได้จากสติ๊กเกอร์ E-TAX ที่หน้าร้านหรือสามารถสอบถามที่ร้านนั้น ๆ ได้เลย

ใช้ยังไง ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ 

เงื่อนไขในการใช้งานไม่ยากครับ เพียงแค่เราเดินไปซื้อของกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt แล้วขอใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-TAX invoice)  โดยจำนวนเงินสูงสุดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้คือ 50,000 บาท ตามฐานการเสียภาษีของแต่ละคน

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ จะมีสัญลักษณ์ตามรูปภาพด้านล่าง หรือ สามารถเช็คได้ที่ลิงก์ในเว็บของกรมสรรพากร >> https://efiling.rd.go.th/rd-questionnaire-web/etax-invoice

ช้อปปีนี้ ลดภาษีปีหน้า 

เราสามารถเข้าร่วมโครงการ โดยจะต้องซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ  ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น จึงจะนำไปลดหย่อนภาษีในปี 2568 ได้

สินค้าใด ที่ไม่เข้าร่วม

1.สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
2.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
3.ค่าซื้อยานพาหนะประเภทต่าง ๆ คือ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และเรือ
4.ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทั้งค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต
5.ค่าเบี้ยประกันภัย
6.Gift Voucher ของห้างสรรพสินค้า หรือค่าสมัคสมาชิกในการขอรับบริการต่างๆ   จะขอลดภาษีได้  จำเป็นต้องมีการใช้ในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น

ไม่เหมาะกับทุกคน

โครงการนี้มีการกำหนดฐานการเสียภาษี ของคนที่จะได้ลดหย่อนไว้ด้วยนะ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้ลดเท่ากันหมด  พูดง่าย ๆ คือ ยิ่งเสียภาษีน้อย ก็ยิ่งได้ลดหย่อนน้อยนั่นเอง  เช่น

รายได้ต่อปี ต่ำกว่า 150,000  คือคนที่ไม่ต้องเสียภาษี คนกลุ่มจะไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ จากโครงการนี้ (เพราะเค้าไม่ได้เสียภาษีอยู่แล้ว)

รายได้ 150,001-300,000  (ฐานภาษี 5%) สามารถใช้  Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 2,500 บาท

รายได้ 300,001-500,000  (ฐานภาษี 10%) สามารถใช้  Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5,000 บาท

รายได้ 500,001-750,000  (ฐานภาษี 15%) สามารถใช้  Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 7,500 บาท

รายได้ 750,001-1,000,000  (ฐานภาษี 20%) สามารถใช้  Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 10,000 บาท

รายได้ 1,000,001-2,000,000  (ฐานภาษี 25%) สามารถใช้  Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 12,500 บาท

รายได้ 2,000,001-5,000,000  (ฐานภาษี 30%) สามารถใช้  Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท

รายได้ 5,000,001 ขึ้นไป (ฐานภาษี 35%) สามารถใช้  Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 17,500 บาท

สิ่งสำคัญ ห้ามลืม

โครงการ Easy E-Receip จะต้องขอใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-TAX invoice) เท่านั้น หากขอมาเป็นแบบกระดาษปกติ ไม่สามารถนำไปใช้ร่วมโครงการได้

ทั้งนี้ เอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ที่ผู้ประกอบการออกให้นั้นจะต้องมีคำว่า “เอกสารนี้ได้จัดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” บนเอกสารร่วมด้วย ไม่งั้น จะไม่สามารถใช้งานได้เช่นกันนะครับ ใครที่ต้องการช้อปเพื่อลดหย่อนภาษี อย่าลืมเช็คให้ละเอียดนะ ..