โดย สตีฟ วูด (Steve Wood) รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นแห่ง Aruba บริษัทในเครือฮิวเล็ตแพ็กการ์ดเอ็นเตอร์ไพรส์
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มาตรการต่างๆ ในสถานที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคระบาดได้ผ่อนคลายลง แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงโรคระบาดได้นำไปสู่การทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Workplace) หรือ “การทำงานจากที่ใดก็ได้” โดยเฉพาะจากที่บ้าน ยังคงส่งผลกระทบต่อมาถึงความคาดหวังในปัจจุบันของทั้งพนักงานและนโยบายการจ้างงานของนายจ้าง เมื่อเราเข้าสู่ยุคหลังโรคระบาด การทำงานจากที่บ้านจึงกลายเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับพนักงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ในงานวิจัยล่าสุดของ Accenture พบว่าพนักงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพึงพอใจในรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดสำหรับการเลือกที่ทำงานในอนาคต มากกว่าการทำงานในสำนักงานหรือทำงานจากระยะไกลอย่างใดอย่างหนึ่งเต็มเวลา โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นด้วยเป็นพนักงานชาวจีนร้อยละ 94 ชาวสิงคโปร์ร้อยละ 89 และชาวญี่ปุ่นร้อยละ 87 ในขณะเดียวกันร้อยละ 70 ขององค์กรเหล่านี้กำลังวางแผนที่จะใช้การจัดการการทำงานแบบไฮบริดและ/หรือการทำงานจากระยะไกลแม้หลังจากการระบาดใหญ่สิ้นสุดลง
ในขณะที่แนวคิดเรื่อง “การทำงานแบบไฮบริด” กำลังหยั่งรากลึก แต่ข้อจำกัดของระบบไอทีองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายระดับองค์กรแบบเดิมกำลังกลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญ อันที่จริง พนักงานมากกว่าครึ่งกล่าวว่าพวกเขาขาดสิ่งจำเป็นในการทำงาน อย่างเช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เสถียร ในยุค New Normal นี้ พนักงานต่างกำลังมองหานายจ้างที่ยอมลงทุนในสภาพแวดล้อมการทำงานทางไกลที่ใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องใช้แนวทางใหม่ในการยึดโยงกับพนักงานที่ทำงานกระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ และทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะทำงานได้อย่างปลอดภัยและราบรื่นผ่านระบบไอทีขององค์กร
[แทรกวิดีโอเพิ่ม]
https://www.youtube.com/watch?v=dG4MfOuER3k
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วฉับพลันทางธุรกิจเพิ่มความกดดันให้ทีมงานไอที
ความจริงที่มักพบเสมอในองค์กรต่างๆ คือเมื่อการระบาดใหญ่บีบบังคับให้พนักงานส่วนใหญ่ทั่วโลกปรับใช้รูปแบบการทำงานจากระยะไกล (Remote Working Model) กลับพบรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของระบบไอที มีความเครียดจากการทำงานเพิ่มขึ้นมากที่สุดและประสบกับภาวะหมดไฟในการทำงานมากกว่าอาชีพอื่นๆ
นั่นคงเป็นเพราะการทำงานจากระยะไกลทำให้มีจำนวนอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (IoT) ที่เชื่อมต่อเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นทวีคูณ นับตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงแล็ปท็อปและแท็บเล็ตที่ใช้งาน ควบคู่ไปกับความต้องการการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยอย่างต่อเนื่องไปยังบริการต่างๆ ของโฮสต์ในคลาวด์และศูนย์ข้อมูล จากผู้ที่ปฏิบัติงานจากระยะไกลและอุปกรณ์ IoT เหล่านี้ โครงสร้างระบบเครือข่ายพื้นฐานที่เปลี่ยนไปทำให้ทีมงานที่ดูแลระบบไอทีไม่เคยมีงานมากมายอย่างนี้มาก่อน และเมื่อพูดถึงไอทีและการรักษาความปลอดภัย แน่นนอนว่าย่อมไม่สามารถยอมให้มีความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) เกิดขึ้นเลย
นอกจากนี้ ในขณะที่องค์กรธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคกำลังค่อยๆ ปรับตัวกลับสู่ภาวะการทำงานปกติก่อนเกิดโรคระบาด ทีมไอทีจะถูกกดดันอีกครั้ง ด้วยนโยบายของรัฐบาล อย่างเช่นในสิงคโปร์ รัฐบาลได้ประกาศ “แนวทางเพิ่มขึ้น” เพื่อผ่อนคลายข้อจำกัดในสถานที่ทำงาน นี่เป็นการเพิ่มความท้าทายและความรับผิดชอบอีกชั้นหนึ่งสำหรับทีมงานไอที ตอนนี้พวกเขาจะต้องดูแลพนักงานที่ทำงานระยะไกลในขณะที่วางแผนโครงการให้พนักงานสามารถกลับมาทำงานที่สำนักงานได้ไปพร้อมกัน การจัดการเครือข่ายแบบเดิมไม่เพียงพอและล้าสมัยไปที่จะสนับสนุนทีมให้ทำงานเหล่านี้ ทำให้เกิดกระบวนการปรับจูนด้วยตนเองที่ซับซ้อน และเพิ่มความเสี่ยงต่อข้อผิดพลาด ปัญหาด้านประสิทธิภาพ หรือการหยุดชะงักการทำงานของระบบเครือข่าย (Downtimes)
โครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายเป็นรากฐานสำคัญในการแปลงองค์กรให้ทำงานเป็นดิจิทัลเกิดขึ้นได้จริงและทำให้แอปพลิเคชันต่างๆ ทำงานได้ เป็นเหมือนกับโดมิโนตัวแรกของการทำให้เป็นดิจิทัล หากระบบเครือข่ายประสบปัญหาการหยุดทำงานและ “หยุดชะงัก” จะทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่อเนื่องล้มตามกันเป็นทอดๆ แอปพลิเคชันที่มีความสำคัญต่อธุรกิจจะหยุดทำงาน การจัดงานและการสัมมนาผ่านเว็บจะต้องถูกเลื่อนออกไป และพนักงานไม่สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบัน เหตุการณ์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นอีกเลย และช่วยให้ทีมงานไอทีไม่ต้องถูกจำนวนคำร้องขอให้ช่วยแก้ปัญหาในแต่ละวัน (Help Desk Tickets) ท่วมท้นเข้ามาจนไม่มีเวลาทำงานอย่างอื่น
ระบบเครือข่ายไม่ใช่โดมิโนตัวแรกอีกต่อไป แต่เป็นกำแพงที่แข็งแกร่งช่วยปกป้องระบบดิจิทัลขององค์กร
เช่นเดียวกับที่เรานำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้สามารถทำงานจากที่บ้านได้ โซลูชันเครือข่ายที่เราพึ่งพาก็จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยรองรับได้เช่นกัน โซลูชันเครือข่ายขั้นสูงในปัจจุบันมาพร้อมกับความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถช่วยให้องค์กรและทีมงานไอทีสามารถเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ได้ อันที่จริง IDC คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ.2566 ร้อยละ 75 ขององค์กรไอทีจะใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการจัดการดำเนินงานด้านไอที (AIOps) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ทีมงานไอทีของตน
อัลกอริธึมของ Big Data และ Machine Learning สามารถช่วยเสริมและทำให้งานไอทีในแต่ละวันเป็นแบบอัตโนมัติได้ ตั้งแต่การตรวจสอบประสิทธิภาพ การทำรายงานความสัมพันธ์ของตัวแปรข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วโลก คาดการณ์ว่าทั่วโลกจะสร้างข้อมูลได้ถึง 463 เอ็กซาไบต์ภายในปี พ.ศ.2568 ลองนึกภาพสมมุติให้หนึ่งกิกะไบต์เท่ากับขนาดของโลก หนึ่งเอ็กซาไบต์จะมีขนาดเท่ากับพระอาทิตย์ทั้งดวง การใช้ประโยชน์จากโซลูชัน AI จะช่วยให้ทีมงานไอทีสามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความหมายและนำไปใช้ดำเนินการต่อได้ นอกจากนี้ โซลูชัน AI จะช่วยให้ทีมงานไอทีสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและแก้ไขปัญหาใดๆ ของระบบไอทีได้ก่อนที่จะส่งผลกระทบกับธุรกิจ
นอกเหนือจากความต้องการ AIOps แล้ว ยังมีการนำรูปแบบการใช้งานที่ยืดหยุ่นแบบจ่ายเท่าที่ใช้มานำเสนอเพิ่มขึ้น เช่น Network-as-a-Service (NaaS) การรวมความสามารถจากโซลูชันต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ทีมงานไอทีสามารถหลุดพ้นจากการเสียเวลาส่วนมากไปกับแก้ปัญหาที่ซ้ำซากของระบบเครือข่ายในแต่ละวัน และมีเวลามากขึ้นมาใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลขององค์กร
เมื่อองค์กรติดอาวุธด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งของระบบเครือข่าย องค์กรจะได้รับประโยชน์จากประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นและการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น อันที่จริงร้อยละ 75 ขององค์กรไอทีชั้นนำระดับโลกระบุว่าต้องการใช้ AI เข้ามาช่วยทีมงานไอทีของตนภายในสิ้นปี พ.ศ.2566 นอกเหนือจากการดำเนินงานของ AI แล้ว การศึกษาโดย Aruba พบว่ามากกว่าสามในสี่ (ร้อยละ 77) ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเห็นพ้องกันว่าความยืดหยุ่นในการขยายขนาดของระบบเครือข่ายตามความต้องการทางธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสนใจในการเลือกใช้ NaaS ในขณะที่องค์กรต่างๆ กำลังมองหาวิธีปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน รูปแบบ as-a-service เช่น NaaS จะช่วยให้ทีมงานไอทีสามารถก้าวไปข้างหน้าให้ทันกับนวัตกรรมและลดความยุ่งยากในการจัดการการดำเนินงานของระบบเครือข่าย ด้วยความสามารถที่ผสมผสานกันเหล่านี้เพื่อพัฒนาโซลูชั่นเครือข่าย โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายจะไม่รับหน้าที่เป็นโดมิโนตัวแรกในแถวที่เสี่ยงต่อการล้มลงก่อนเพื่อนอีกต่อไป แต่จะเป็นกำแพงที่แข็งแกร่งปกป้องการคุกคามจากภายนอกและสนับสนุนการสร้างสรรค์โครงการเชิงดิจิทัลทั้งหลายขององค์กร
ทำงานจากสถานที่ห่างไกลได้โดยสามารถเชื่อมต่อด้วยดิจิทัลจากทุกที่
เครือข่ายที่ปลอดภัยและแข็งแกร่งจะยังคงเป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าพนักงานจะสามารถเชื่อมต่อได้จากทุกที่และทุกเวลา ควบคู่ไปกับการมุ่งเน้นของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมต่อในอนาคตตามที่ประกาศนโยบาย Thailand 4.0 สิ่งสำคัญคือองค์กรต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เมื่อต้องเผชิญกับกระแสของการจัดการและการกำหนดลักษณะการทำงานแบบผสมผสานและการทำงานจากระยะไกล องค์กรต่างๆ จะต้องยินดีที่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานขององค์กรจะเชื่อมต่อทางดิจิทัล ได้อย่างปลอดภัย จากทุกที่และตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำงานจากระยะไกลหรือกลับเข้ามาทำงานที่สำนักงาน