หลายปีมานี้วงการเกมได้ทวีความยิ่งใหญ่ขึ้นมากจนกลายเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีมูลค่ามหาศาลไม่แพ้ธุรกิจใหญ่ ๆ ทั้งยังเป็นอีกอาชีพทางเลือกของคนรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างรายได้ไม่น้อยเหมือนกัน บางคนอาจสงสัยว่าทำไมสิ่งที่เคยถูกประณามว่าไร้สาระถึงมาอยู่จุดนี้ได้ ในบทความนี้ก็ขอเสนอเรื่องราวของเกมในแง่มุมต่าง ๆ ไล่กันตั้งแต่ความเป็นมาของเกมตั้งแต่แรกสุด สู่สถานการณ์ในปัจจุบัน ไปจนถึงรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งด้านทั่วไปและด้านธุรกิจ เพื่อให้เราได้เห็นภาพของวงการนี้มากขึ้น
จุดเริ่มต้นของเกม
รู้หรือไม่ เกมที่เล่นกันสนุก ๆ อยู่ทุกวันนี้ ถือกำเนิดขึ้นจาก “ความเซ็ง” ย้อนไปปี 1958 มีนักฟิสิกส์นิวเคลียร์คนหนึ่งที่ชื่อว่า William Higinbotham อยู่ดี ๆ เกิดอาการเซ็งจิตในระหว่างทำงาน จึงได้นำเครื่องคอมพ์ตัวหนึ่งที่หน้าตาคล้ายเครื่องยิงขีปนาวุธ มาดัดแปลงเป็นเครื่องเล่นเกม โดยตั้งชื่อว่า Tennis for Two ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของเครื่องเล่นเกมในโลกกันเลย เนื่องจากตัวเครื่องมาพร้อมจอยบังคับ 2 ตัว สามารถเล่นพร้อมกันสองคนได้ รูปแบบการเล่นก็คล้ายเกมเทสนิสแบบง่าย ๆ อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันที่ William ทำงานอยู่ด้วยนั้น กลับไม่เห็นคุณค่าเครื่องดังกล่าวเท่าไรนัก สุดท้ายก็ถูกแยกส่วนให้ใช้งานตามเดิม และโดนทิ้งเพราะตกรุ่นในที่สุด ถึงอย่างนั้นนักฟิสิกส์คนนี้ก็ถูกจารึกในฐานะเกมเมอร์คนแรกไปโดยปริยาย และเครื่องเล่นเกมดังกล่าว ก็กลายเป็นต้นแบบของเครื่องเล่นเกมจนถึงปัจจุบันนี้ด้วย
-
ก้าวสู่วงการ
หลังมี Tennis for Two แล้ว ต่อมาก็เริ่มมีการพัฒนาเครื่องเล่นเกมโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า “เครื่องเล่นเกม Console” โดยตอนนั้นมีอยู่ด้วยกันสองเครื่องคือ Pong ที่พัฒนาโดยบริษัท Artari และ Magnavox Odyssey ของบริษัท Sanders Associates ที่คิดค้นโดย Ralph Baer แต่ทั้งสองเครื่องกลับมีรูปแบบการเล่นคล้ายกันคือ เกมเทนนิส ทำให้เกิดการฟ้องร้องกันวุ่นวายทีเดียว อย่างไรก็ตาม Magnavox Odyssey กลับได้แจ้งเกิดมากกว่า เพราะได้ Nintendo เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น จนประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งนี้ก็เพราะเป็นเครื่องเล่นเกม Console ขนาดเล็กด้วย ในขณะที่ Pong เป็นเกมตู้ขนาดใหญ่มีราคาแพง (แต่ Pong ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นเกมตู้ Arcade ตัวแรกนะ)
ถึงอย่างนั้น Atari ก็ไม่ยอมแพ้ จึงส่ง Atari 2600 เครื่องเล่นเกม Console ขนาดเล็กของตัวเองออกมาแข่งด้วย ทว่าสุดท้าย ในปี 1985 ทั้งสองก็ถูกทาง Nintendo ตัดหน้าอย่างแสบ ด้วยการมาของ “Famicom” หรือ Family Computer สุดยอดเครื่องเล่นเกม Console ในตำนาน ที่ทั้งถูกกว่า ประสิทธิภาพดีกว่า และมีหลายเกมให้เล่นด้วย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวงการเกม Console อย่างแท้จริง แม้สุดท้ายจะถูก Sony และ Microsoft ปิดตำนานด้วย Playstation กับ Xbox ก็ตาม
-
กำเนิดเกม PC
ในขณะที่เครื่อง Famicom กำลังขายดิบขายดีอยู่นั้น ในปี 1981 ทาง Bill Gates ได้ซุ่มพัฒนาเกมบนระบบปฎิบัติการ Dos ที่ชื่อ “DONKEY.BAS” เป็นเกมที่เล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC ครั้งแรก ซึ่งช่วงนั้นเอง ทาง IBM ก็กำลังแจ้งเกิดด้วยเครื่อง PC อยู่ด้วย
ตรงนี้ก็เป็นอีกจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของวงการเกม ซึ่งหลังมีการพัฒนาเครื่อง PC จนใช้งานง่ายขึ้นแล้ว ก็ทำให้เกิดการพัฒนา “โปรแกรมเกม” ต่าง ๆ ตามมาด้วย โดยเกม PC ที่เรียกได้ว่าเป็นตำนานของตำนานเลยคือ Solitaire และ Minesweeper จาก Microsoft
-
สู่ยุคเกมออนไลน์
ในช่วงแรก ฝั่ง PC มีการเอาเทคโนโลยีเรียกว่า Local area network (LAN) มาใช้เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างกัน ทำให้เกิดแนวคิด Multiplayer หรือการเล่นเกมหลาย ๆ คนพร้อมกันในเกมเดียว โดยเกมชูโรงของระบบนี้เลยคือ Counter Strike, Command & Conquer และ StarCraft จนภายหลังได้มีระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามา ก็ทำให้เกิดเป็นเกมแนวใหม่ที่เรียกว่า “เกมออนไลน์”
ส่วนเกมออนไลน์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของยุคเกมออนไลน์ก็คือ King Of King Online เป็นเกมออนไลน์แนว RPG ที่ได้ใช้เทคโนโลยีออนไลน์อย่างเต็มที่ ด้วยระบบการเล่นที่เน้นความเป็นสังคมสุด ๆ จนเกิดเป็นชุมชนออนไลน์ยอตฮิตในสมัยนั้น และในที่สุดก็มาแจ้งเกิดในบ้านเรา ด้วยเกมที่ไม่ว่าใครก็ต้องรู้จักอย่าง Ragnarok นี้เอง
-
E-Sport เกมกลายเป็นกีฬา
ก่อนจะมีระบบ LAN ย้อนไปปี 1980 ที่มหาลัยสแตนฟอร์ด ในตอนนั้นได้มีการแข่งขันเกม Spacewar ด้วยเครื่อง Atari 2600 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาแข่งขันแบบนี้ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีผู้ร่วมแข่งขันถึง 10,000 คน
หลังมีระบบออนไลน์ ก็ได้มีการพัฒนาเกมออนไลน์ที่ชื่อว่า Netrek เกมนี้เองคือต้นกำเนิดของวงการ E-Sports เพราะเป็นครั้งแรกที่ตัวเกมได้เอาระบบทีมมาใช้ ทำให้เกิดการแบ่งผู้เล่นเป็นทีม ส่งผลให้จัดการแข่งขันได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นเอง ก็ได้มีเกมที่เป็นจุดกำเนิดวงการนี้อย่างแท้จริงคือ StarCraft เกมแนววางแผนหรือ RTS (Real-time strategy) โดยผู้เล่นจะต้องใช้ทักษะการวางแผนอย่างเต็มที่ ทำให้เกมนี้มีการแข่งขันที่สูงมาก จนต้องมีการจัดการแข่งขันหลายครั้ง สุดท้ายก็ทำให้ภาพลักษณ์ของเกมเปลี่ยนไป จากที่ไว้เล่นแก้เซ็งเท่านั้น ก็กลายมาเป็นลักษณะของกีฬา จนเกิดเป็นชื่อ Electronic Sports หรือ E-Sports ในที่สุด
-
เมื่อเกมมีเนื้อเรื่อง สนุกจนต้องติดตาม
เมื่อก่อนเกมมีแต่รูปแบบการเล่นที่ซ้ำซากไม่รู้จบ แต่หลัง Nintendo หรือปู่นินประสบความสำเร็จกับ Famicom ก็ได้มีการต่อยอดด้วยการเพิ่มจำนวนเกมในเครื่องให้มากขึ้น โดยหนึ่งในนั้นคือ Super Mario Bros ซึ่งเกมนี้เอง ที่ได้ปฏิวัติวงการเกมไปตลอดกาล เพราะถือเป็นเกมแรก ๆ ที่เนื้อเรื่องชัดเจนขึ้น คือมีจุดเริ่มต้นและตอนจบ แน่นอนว่าเกมนี้ก็ขายดีแบบถล่มทลาย ส่งผลให้เกิดการแข่งขันพัฒนาเกมอย่างจริงจัง (จากที่พัฒนาแต่ตัวเครื่องเล่น) ในเวลาต่อมา แม้ในตอนนั้นเกมก็เริ่มมีเนื้อเรื่องในตัวแล้ว แต่ก็เป็นเนื้อเรื่องแบบง่าย ๆ
จนกระทั่งการมาของ Final Fantasy และ Dragon Quest สองเกมแนว RPG ในตำนาน ที่ได้ใส่เนื้อเรื่องเชิงลึกมากขึ้น และความยากในการเล่นมากขึ้นด้วย ทำให้ตอนนั้นเกมไม่ได้ถูกมองว่าเป็นของฆ่าเวลาอีกต่อไป แต่เทียบเท่าได้กับการดูหนังหนึ่งเรื่องกันเลย โดยมีเราเป็นคนแสดงด้วย ทุกวันนี้เกมเลยมีสองบทบาทคือ เล่นเพื่อแข่งขัน กับเล่นเพื่อเสพเนื้อเรื่อง
เกมในปัจจุบัน
ปัจจุบันเกมได้ก้าวเข้าสู่ยุคออนไลน์เต็มตัว ทำให้ผู้เล่นทุกคนจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเล่น เนื่องจากเกมในปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการจัดจำหน่ายไปทางออนไลน์ หรือที่เรียกว่า “Digital Download” มากขึ้น และยังมีการซื้อขาย Content ในเกม หรือ “In-App Purchasing” (เรียกง่าย ๆ ว่าระบบเติมเงิน) ทำให้เกิดเป็นตลาดออนไลน์ที่สำคัญมาก เป็นสาเหตุทำให้วงการเกมเติบโตได้ขนาดนี้นั่นเอง
-
หมดยุคเกมออฟไลน์
เกมออฟไลน์ หมายถึงเกมที่ไม่ต้องใช้เน็ตในการเล่น (ส่วนมากจะเป็นเกม Console) ทำให้ต้องเล่นแบบ Single Player ดำเนินเนื้อเรื่องของเกมแต่เพียงผู้เดียว แต่ปัจจุบันรูปแบบเกมได้เปลี่ยนไป ด้วยการมาของบริการ Digital Distribution เว็บจำหน่ายเกมถูกลิขสิทธิ์ผ่านเน็ต เช่น Steam กับ Origin และ Playstation Store กับ Xbox Store ส่งผลให้ยุคของเกมออฟไลน์ต้องจบลง เพราะผู้พัฒนาต่างนำเกมของตัวเองไปอยู่ในนี้กันหมด ทำให้ทุกครั้งที่เข้าเกม ต้องมีการเชื่อมต่อเน็ตเพื่อตรวจลิขสิทธิ์ทุกครั้งถึงจะเล่นได้
ทั้งนี้ต่อให้เป็นเครื่องเล่นเกม Console อย่าง PS4, Xbox One ก็ต้องใช้เช่นกัน สาเหตุที่ต้องใช้ระบบนี้ก็เพื่อป้องกันเกมละเมิดลิขสิทธิ์หรือเกมเถื่อนนั่นเอง แต่อีกสาเหตุหนึ่งคือ “ทุกเกมต้องมีการอัพเดต” เพื่อให้เกมมีความเสถียรตลอด และเอาไว้ใช้เป็นช่องทางจำหน่าย Content เนื้อเรื่องพิเศษของเกม ที่เรียกกันว่า Downloadable Content หรือ DLC
-
FPS และ Moba แนวเกมฮิตใน E-Sport
ในงาน E-Sport ที่ผ่าน ๆ มา ส่วนมากมักจะจัดแข่งขันเกมแนว FPS (First Person Shooter) และ Moba (Multiplayer Online Battle Arena) เนื่องจากผู้เล่นเกมแนวนี้เยอะมาก โดยเกิดจากอิทธิพลของสองเกมในตำนานอย่าง Counter Strike และ Warcraft นี้เอง อย่างเกม Counter Strike ก็พัฒนาใหม่ในชื่อ CS:GO สำหรับเล่นออนไลน์โดยเฉพาะ ที่ยังคงความเป็นเกม Shooting ในมุมมองบุคคลที่หนึ่งหรือ FPS ที่เรียบง่าย เล่นไม่ยาก แต่สนุกเหมือนเคย ทำให้ครองใจแฟนเกมจนทุกวันนี้
ส่วน Warcraft หรือปัจจุบันมี Dota2 และ ROV (แทนที่เรียบร้อย) เป็นเกมแนว Moba (Multiplayer Online Battle Arena) ที่แตกแขนงจาก RTS ถือเป็นเกมวางแผนแนวใหม่ที่เราจะต้องคุมยูนิตพิเศษตัวหนึ่งที่เรียกว่า Hero เป็นตัวดำเนินเกม โดยตัว Hero จะมีให้เลือกเล่นหลายตัวมาก และแต่ละตัวก็มีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน ทำให้ตัวเกมมีมิติพอสมควร จนผู้เล่นแต่ละคนมีรูปแบบการเล่นที่หลากหลายสุด ๆ ทำให้การแข่งขันมีสีสันดึงดูดคนดูได้อย่างมาก จนกลายเป็นว่า เป็นเกมที่ขาดไม่ได้เลยในทุกครั้งที่มีงาน E-Sport คือ Dota2 และ CS:GO ปัจจุบันก็มี 3 เกมใหม่อย่าง Overwatch, PUBG (Playerunknown’s Battlegrounds) และ ROV ที่เรียกกระแส E-Sport ได้ดีเหมือนกัน
ยุคของเกมออนไลน์บนสมาร์ตโฟน
สมาร์ตโฟนถือเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันมีราคาต่อสเปกที่ถูกลงมาก แค่เพียงรุ่นล่างก็มีประสิทธิภาพพอจะเล่นเกมกราฟิกสูง ๆ ได้แล้ว เพราะเหตุนี้ก็ทำให้เกิดเป็นเกมออนไลน์บนสมาร์ตโฟนที่มีผู้พัฒนาเกมแย่งกันดึงผู้เล่นอย่างดุเดือด เนื่องจากเป็นเกมที่พัฒนาไม่ยากเท่า PC หรือคอลโซล แต่ได้ค่าตอบแทนสูง เพราะมีจำนวนคนเล่นมหาศาล อันเนื่องจากสมัยนี้ ไม่ว่าใครก็มีสมาร์ตโฟนแล้วนั่นเอง
Games Caster อาชีพทางเลือกของวงการเกม
หากไม่นับผู้เล่นอาชีพ ที่เป็นนักกีฬาของ E-Sport แล้ว ในวงการเกมก็มีอีกอาชีพทางเลือกคือ Games Caster หรือนักแคซเกม โดยหลักแล้วอาชีพนี้คือการเล่นเกมให้คนดูสนุกร่วมไปด้วยกัน เช่นเดียวกับนักพากย์ โดยผลตอบแทนสำหรับอาชีพนี้มักถือเป็นเรื่องรอง เพราะผู้ที่เป็นนักแคชเกมนั้น ส่วนใหญ่น่าจะต้องการชื่อเสียงและแฟนคลับมากกว่า (เดี๋ยวเงินก็ตามมาทีหลัง)
ปัจจุบันก็มีระบบสำหรับบุคคลเหล่านี้ด้วย เช่น Youtube และ Twitch ด้าน Youtube หากนักแคซคนไหนมีชื่อพอควร ก็จะมีสปอนเซอร์เข้ามาสนับสนุน ให้ช่วยโฆษณาสินค้าบางอย่างนั่นเอง ส่วน Twitch คือบริการถ่ายทอดสดออนไลน์ ที่เน้นกลุ่มเกมเมอร์โดยเฉพาะ โดย Twitch จะมีฟีเจอร์พิเศษที่เรียกว่า “โดเนท” หรือเรืยกแบบบ้าน ๆ ว่า บริจาคเงินให้กำลังใจ แน่นอนว่ายิ่งนักแคชเกมคนไหนมีกลุ่มแฟนคลับเยอะ ก็ยิ่งมีคนโดเนทให้เยอะตาม จนมีบางคนเคยทำยอดได้หลักครึ่งแสนภายในเดือนกว่า ๆ ก็มีมาแล้ว
กระแสของเกมในประเทศไทย
ภาพรวมของเกมในเมืองไทยบ้านเราก็ถือว่าร้อนแรงไม่แพ้ต่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ ทาง Intel ได้เผยสถิติที่น่าสนใจของวงการ E-Sport กับเกมในไทยว่า ประเทศไทยมี ‘เกมเมอร์’ มากถึง 27.47 ล้านคน (รวมทุกแพลตฟอร์ม) กันเลย และในปี 2564 คาดว่าจะมีเกมเมอร์ชาวไทยเพิ่