Apple ยอมจ่ายชดเชย 3,400 ล้านบาท (95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อประนีประนอมยอมความคดีฟ้องร้องแบบกลุ่ม (Class-Action) เพราะใช้ Siri แอบฟัง และบันทึกข้อมูลผู้ใช้และให้บริษัทจาก Third – Party แอบฟังบทสนทนาส่วนตัวโดยไม่ได้ตั้งใจ
ปกติแล้ว หากเราบอกว่า “Hey Siri” Apple จะมีการบันทึกข้อมูลผู้ใช้เพื่อปรับปรุงการใช้งาน ซึ่งอันนี้ ผู้ใช้เองก็ต้องยินยอมก่อนถึงจะใช้งานได้ แต่ในกรณีที่ฟ้องนี้ เพราะ Apple มีการแอบฟัง แม้ผู้ใช้จะไม่ได้เรียกใช้งาน Siri ถือเป็นการแอบดังฟังโดยไม่ตั้งใจ
รายงานปี 2019 จากผู้แจ้งเบาะแสผ่านเว็บไซต์ The Guardian บอกว่า บริษัทที่ทำงานให้ Apple ได้ยินการบันทึกเสียงขณะทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพของ Siri แต่ข้อมูลที่ได้ยิน มันดันเป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอย่าง “ข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นความลับ” “ข้อมูลการซื้อขายยาเสพติด “และเสียงบันทึกของคู่รักขณะที่กำลังมีอะไรกัน”
โดยปกติแล้ว Siri ควรจะเปิดใช้งานเมื่อได้ยินคำสั่ง “Hey Siri” เท่านั้น แต่มีรายงานว่า Siri ถูกกระตุ้นโดยสิ่งอื่น ๆ เช่น เสียงรูดซิป การยก Apple Watch ขึ้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง และการได้ยินเสียงพูด ก็ดันเปิดใช้งานขึ้นมาซะงั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยถึงการตั้งค่าการใช้งาน Siri
ผู้ใช้ Apple ส่วนหนึ่งอ้างว่า การสนทนาส่วนตัวถูกบันทึกและแชร์กับผู้โฆษณาที่เป็นบริษัทภายนอก จากนั้นไม่นาน พวกเขาจะเห็นโฆษณาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงในการสนทนาบางอย่าง และแม้แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดหลังจากพูดคุยกับแพทย์ ภายหลัง Apple ได้ออกคำขอโทษอย่างเป็นทางการและกล่าวว่าจะไม่บันทึกเสียงอีกต่อไป
Apple ไม่ใช่บริษัทเดียวที่ประสบปัญหาจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เกิดจากผู้ช่วยเสียง Google ก็กำลังอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องแบบกลุ่มในกรณีที่คล้ายกันเกี่ยวกับ Google Assistant ที่ถูกกระตุ้นโดยไม่ต้องใช้คำสั่งปลุก นี่คือที่มาที่ระบบมันรู้หรือเปล่า ว่าเราต้องการต้องการอะไร….
ในส่วนของไทย เราเพิ่งจะมีการใช้ PDPA ได้ไม่นาน แต่คดีนี้เริ่มมาตั้งแต่ 2014 ซึ่งตอนนั้น เรายังไม่ได้บังคับใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็เลยไม่น่าจะทำอะไรได้ครับ.. แต่เอาจริง ๆ คนไทยซีเรียสกับข้อมูลส่วนตัวขนาดไหน อันนี้อยากรู้มากกว่า…
ที่มา
sea.mashable