โดย ราเจช ธานการาจ Edge Solutions Evangelist หน่วยธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
สิ่งที่เกิดในปี 2020 ได้เปลี่ยนแนวทางการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในอุตสาหกรรมค้าปลีก ด้วยข้อจำกัดที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความไม่แน่นอนที่อาจทำให้เกิดการล็อคดาวน์ขึ้นอีกในอนาคต ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าผู้ค้าปลีกไม่สามารถพึ่งพาแค่การขายหน้าร้านอย่างเดียวเพื่อสร้างยอดขายได้อีกต่อไป
โดยเฉพาะผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ ต่างกำลังมองหาทางเลือกอื่นในการช็อปปิ้ง เช่น การสั่งซื้อทางออนไลน์ ที่มีบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน หรือการคลิกซื้อและไปรับสินค้าที่ร้านค้า หรือดูสินค้าจากเว็บและไปช้อปปิ้งที่ร้านค้า ผู้บริโภคล้วนต้องการหาทางเลือกที่มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดและให้ความสะดวกสบายสูงสุดในการจับจ่ายสินค้า
การจะประสบความสำเร็จได้ ผู้ค้าปลีกต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัล และทางเลือกเรื่องของระบบออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวตนในระบบดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผู้ค้าปลีกสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าฐานลูกค้าที่มีอยู่ตามปกติ โดยใช้โฆษณาดิจิทัลเพื่อมุ่งเป้าไปยังผู้บริโภคที่ต้องการเจาะจง และเข้าถึงฐานข้อมูลในรถเข็น (cart) ที่ไม่เคยได้ใส่ใจดู และอื่น ๆ อีกมากมายเพราะความเป็นไปได้นั้นมีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด
นำเสนอในร้านค้าให้มากกว่า
การนำเสนอที่ครอบคลุมและสอดคล้องกันในทุกภาคส่วน เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการและเพื่อให้ได้ผลที่ดีเยี่ยม ร้านค้าปลีกจำต้องลงทุนในเทคโนโลยีเช่น IoT, AR และ AI
เนื่องจากลูกค้ากลายเป็นผู้ซื้อที่ฉลาดขึ้น พื้นที่ในร้านค้าปลีกจึงจำเป็นต้องนำเสนอมากกว่าแค่การโชว์สินค้า ร้านค้าต้องนำเสนอประสบการณ์ด้านแบรนด์สินค้าที่น่าประทับใจและเป็นที่จดจำ ประสบการณ์ของแบรนด์เหล่านี้อาจเกิดจากการสร้างความผูกพันของลูกค้าด้วยตัวคน (human touch) หรือเทคโนโลยี เช่น VR และ AR ลองนึกภาพร้านค้าที่คุณสามารถเล่นเกมบาสเก็ตบอลด้วยรองเท้าคู่ใหม่ของคุณ หรือคุณได้ลองเสื้อผ้าผ่านกระจก AR โดยไม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าจริงๆ
พื้นที่ค้าปลีกที่คิดค้นขึ้นใหม่นี้ จะต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ได้อยู่บนคลาวด์ซะทั้งหมด
ประโยชน์ของเอดจ์ (Edge)
…ทำไมต้องใช้ เอดจ์คอมพิวติ้ง (Edge Computing)
…ทำไมไม่ใช่แค่ระบบคลาวด์
แม้การประมวลผลแบบคลาวด์ให้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย รวมถึงศักยภาพในการปรับขยายระบบ พร้อมให้ความยืดหยุ่นก็จริง อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเชื่อมต่อเครือข่าย และความล่าช้าในการตอบสนอง (latency) ในขณะที่การประมวลผลแบบเอดจ์ ให้ประสิทธิภาพ และการเชื่อมต่อที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ช่วยให้ระบบทำงานต่อไปได้แม้ว่าเครือข่ายจะล้มเหลวก็ตาม
สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั่วโลกยังคงมาจากการขายในร้านค้าปกติ ด้วยเหตุนี้ร้านค้าประเภทนี้จึงลงทุนในเรื่องของ อุปกรณ์ช่วยในการประมวลผลที่อยู่ใกล้กับผู้ซื้อมากที่สุด ในส่วนของหน้าร้านของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม จะมีเครือข่ายที่ประกอบด้วย ห้องเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก และเครื่องบันทึกเงินสด พร้อม UPS หรือเครื่องสำรองไฟฟ้าเฉพาะสำหรับร้าน ซึ่งสภาพแวดล้อมเอดจ์แบบใหม่ของร้านค้า จะมุ่งเน้นที่การมอบประสบการณ์ดิจิทัลให้กับลูกค้า และต้องอาศัยแอปพลิเคชันเอดจ์แบบใหม่ที่ให้ข้อมูลที่นำไปใช้งานได้ ในการดำเนินการดังกล่าวฝ่ายไอทีของร้านค้าปลีก ต้องออกแบบจัดวางอุปกรณ์ไอทีไปไว้ที่เอดจ์ หรือใกล้ตำแหน่งการใช้งานที่มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบทางกายภาพและในระบบดิจิทัลจะผสานการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้การโฮสต์แอปพลิเคชันเหล่านี้ไว้ที่เอดจ์จะช่วยปรับปรุงเรื่องการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ สินค้าคงคลังและซัพพลายเชน เพื่อช่วยลดต้นทุนได้ด้วย
เนื่องจากเอดจ์ได้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งไมโครดาต้าเซ็นเตอร์จะให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการที่สามารถตั้งค่าการทำงานล่วงหน้าได้ในแบบ plug and play ซึ่งโหนดของเอดจ์เหล่านี้จะถูกบริหารจัดการผ่านซอฟต์แวร์ระยะไกล ช่วยให้เจ้าหน้าที่ไอทีสามารถดูแลให้ระบบทำงานต่อไปได้ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ที่หน้างานก็ตาม
เทคโนโลยีช่วยให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปได้
ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการต้องเสียลูกค้าไปในระหว่างขั้นตอนการชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์หรือในร้านค้าปกติก็ตาม ลูกค้ามักจะไม่อดทนรอในเวลาที่ซอฟต์แวร์ประมวลผลการขายมีปัญหา และต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ อย่าปล่อยให้เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการขายของคุณ ควรลงทุนในเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อให้ทุกอย่างใช้งานได้ดีและต่อเนื่อง เทคโนโลยี อย่างตู้แร็ก หรือ ระบบไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ UPS ระบบรักษาความปลอดภัย ตลอดจนเครื่องมือบริหารจัดการแบบคลาวด์เบส ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสถาปัตยกรรมเอดจ์ที่แข็งแกร่ง