AI วิเคราะห์ได้ หน้านี้อารมณ์ไหน ล้ำไป หรือ ละเมิดสิทธิ

นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างเกมออนไลน์หนึ่ง เพื่อทำให้ใครหลายคนตระหนักถึงความเสี่ยงของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและการวิเคราะห์อารมณ์

ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ ในประเทศคอมมิวนิสต์อย่างจีน ได้มีการใช้งานเทคโนโลยีจดจำหน้าอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้เพื่อจับคนทิ้งขยะที่ถนน ใช้ดำเนินคดีกับคนที่ไม่ข้ามท้างม้าลาย หรือใช้จับผู้ร้ายหลบหนี ซึ่งกล้องจะภาพแล้วส่งข้อมูลให้ไปอัลกอริทึ่มประมวลผล โดยอิง Database ของคนในประเทศทั้งหมด และระบบบอกจะบอกได้ทันทีว่าคน ๆ นั้นชื่ออะไร บ้านอยู่ที่ไหน
.
หากดูเผิน ๆ แล้วมันก็เป็นเรื่องดี แต่ในประเทศประชาธิปไตยอย่างสหภาพยุโรปหรือในสหรัฐอเมริกากำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากเรื่องสิทธิมนุษยชน การเก็บข้อมูลหน้าหรือเอาข้อมูลไปวิเคราะห์อารมณ์โดยไม่ขออนุญาตกำลังละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างหนัก
.
แน่นอนว่ามีคนบางกลุ่มที่ไม่ยินดีนัก โดยเป็นกลุ่มนักวิจัยหนึ่งที่ได้สร้างเว็บไซต์ emojify.info ซึ่งประชาชนสามารถทดลองใช้ระบบจดจำอารมณ์ผ่านกล้องคอมพิวเตอร์ของตนเอง (มือถือก็ใช้ได้นะ) เพื่อสร้างความตระหนักรู้กับเทคโนโลยีนี้
.
เมื่อมีการจดจำใบหน้า Ai สามารถเรียนรู้อารมณ์ของเรา ข้อมูลนี้สามารถนำเอาไปทำสิ่งต่าง ๆ ได้มาก เช่น การวิเคราะห์ด้านการตลาด หาก Ai รู้ว่าคุณกำลังเป็นโรควิตกกังวล จะมีข้อความส่งมาที่มือถือคุณและบอกว่า “พบหมอตอนนี้ มีโปรโมชั่นนะ” ซึ่งมันจะมีทั้งคนที่ยินดี และไม่ยินดีกำลังข้อความนี้ เพราะการนำข้อมูลไปใช้ โดยไม่ขอและไม่บอก มันกำลังละเมิดอยู่และหน่วยงานที่เก็บข้อมูลนั้น จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้ที่ถูกเก็บข้อมูลครับ
.
ประเด็นหลักคึอ ทุกวันนี้ยังมีการเก็บข้อมูลกันอย่างลับ ๆ โดยไม่ที่ไม่มีใครบอก และบางประเทศก็อ้างว่าเก็บเพื่อความปลอดภัย….
.
สำหรับเกมที่กลุ่มนักวิจัยทำขึ้น สามารถเข้าไปเล่นได้ที่ >> emojify.info จะเป็นการวิเคราะห์อารมณ์ผ่านใบหน้าของเรา ซึ่งจะวิเคราะห์ผ่านสีหน้าที่เราแสดงออก เราแกล้งยิ้มแต่มันก็บอกว่าเรา happy ซึ่งยังไม่สามารถวิเคราะห์อารมณ์ของเราได้จริง ๆ (แต่เล่นไปนาน ๆ ก็ไม่แน่นะ เพราะหากให้ Ai ได้เรียนรู้มาก มันอาจจะรู้ลึกกว่าตัวเราก็เป็นได้ครับ )
.
ข้อมูลจาก https://www.theguardian.com/technology/2021/apr/04/online-games-ai-emotion-recognition-emojify