ในประเทศจีนที่มีระบบปกครองแบบคอมมิวนิสต์ AI Surveillance ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อช่วยติดตามจับคนร้ายคดีร้ายแรง หรือทำผิดกฏหมายเล็ก ๆ น้อย เช่น การเดินข้ามถนนโดยไม่ใช้ทางม้าลาย สิ่งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจของจีนทำงานได้สะดวกขึ้น และทำให้คนยำเกรงต่อกฏหมายมากขึ้น
แต่เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นสำคัญในประเทศประชาธิปไตย เพราะประเด็นของเรื่องสิทธิมนุษยชน และกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลล ที่ไม่สามารถถ่ายภาพหรือบันทึกภาพบุคคลใด ๆ ก่อนจะได้รับความยินยอมจากพวกเขา ซึ่งการบันทึกภาพผ่านกล้อง ก็เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายภาพเช่นกัน
เทคโนโลยี AI Surveillance ใช้การตรวจจับใบหน้า จากนั้นเก็บภาพส่งไปที่เซิฟเวอร์ให้ AI ประมวลผลว่าตรงกับฐานข้อมูลทีมีหรือไม่ หากเราหนึ่งในบุคคลที่ตำรวจต้องการตัว กล้องทุกตัวที่เชื่อมต่อ AI Surveillance จะคอยสแกนหาหน้าเรา และรายงานต่อตำรวจว่าเราไปไหนมาบ้าง ทำอะไรกับใคร บันทึกข้อมูลการเดินทางในทุกที่กล้องสามารถจับหน้าเราได้
AI Surveillance ยังมีประโยชน์หากนำมาใช้ติดตามผู้ป่วย covid – 19 ซึ่งจะสามารถระบุได้ชัดเจนว่าผู้ป่วยเดินทางที่ไหนมาบ้าง เพื่อช่วยลดโอกาสการแพร่ระบาดได้มากขึ้น
แต่ตอนนี้ AI Surveillance ยังมีปัญหาอย่างมากต่อในหลาย ๆ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เพราะได้ละเมิดสิทธิของประชาชน เช่นใน Cannada ที่กำลงถูกเรียกร้องให้ยกเลิกเทคโนโลยีดังกล่าว เพราะฐานข้อมูลภาพของประชาชนถูกคัดลอกมาจาก เว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น Facebook, LinkedIn และ Twitter ซึ่งแน่นอนว่าผิด เพราะเป็นการขโมยภาพมา
สิ่งสำคัญของ AI Surveillance ที่ทุกคนกำลังตั้งคำถามคือ ตำรวจจะใช้มันเพื่อกิจการของตำรวจจริง ๆ เพียงอย่างหรือเปล่า หากมันถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นโดยที่ประชาชนไม่รู้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นล่ะ ? นั่นแปลว่าสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนจะถูกลดทอนลงใช่ไหม
ลองคิดเล่น ๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อรัฐบาลสามารถติดตามดูผู้คนจำนวนมากโดยใช้กล้องวงจรปิด ตำรวจสามารถติดตามเราไปทั่วเมืองแบบดิจิทัลได้เพียงแค่อัปโหลดภาพของเราลงในฐานข้อมูล แล้วก็จ้องดูเราได้ตลอดไม่ว่าเราจะไปไหน
แน่นอนว่า หากเราไม่ได้ทำอะไรผิด จะกลัวไปทำไม ผมรู้ว่าต้องมีคนตั้งคำถามนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว แม้จะไม่ได้ทำอะไรผิด ความเป็นส่วนตัวก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนครับ เราก็มีสิทธิ์ที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวของเรา และยิ่งหากไม่ได้ทำผิดแล้วตำรวจก็ไม่ควรรู้จะว่าเราจะไปไหนมาไหน ยกเว้นในพื้นที่มีการแจ้งเตือนว่าได้บันทึกภาพด้วยกล้องไว้ก่อนหน้า
แต่ทั้งนี้ AI Surveillance มันก็มีข้อดีอยู่ในตัว เราจะยินดีไหม หากตำรวจจับคนร้ายได้เร็วขึ้น ใช้ตรวจสอบใบหน้าเพื่อคัดกรองคน รวมทั้งใช้เพื่อประโยชน์อื่น ๆ เช่นติดตามผู้ป่วย Covid – 19 ย้อนหลัง ใช้ตรวจจับอุณภูมิโดยใช้งานคู่กับกล้องตรวจวัด หรือแม้กระทั่งใช้คำนวนความหนาแน่นของจราจรแบบเรียลไทม์ ซึ่งที่กล่าวเป็นประโยชน์เพเพียงส่วนหนึ่งของการนำมาประยุกต์ใช้ครับ
ทีนี้ หากประเทศไทยจะมี AI Surveillance ซึ่งแน่นอนว่ารัฐบาลจำเป็นต้องขอประชาชนก่อน หากไม่ นั่นจะขัดต่อกฏหมาย PDPA โดยตรง เลยอยากถามคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ว่าหากเทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นจริง เราจะยินดีหรือไม่ เพราะอะไร มาเล่าให้ฟังกันหน่อยครับ