ไปอีกขั้น ให้ AI animal ถอดรหัสเสียงความถี่ต่ำ เข้าใจภาษาสัตว์ ใช้สื่อสารได้

AI animal
คิดยังไง หากวันหนึ่งสัตว์เลี้ยง อาจคุยกับเราได้
.
ทีมนักวิจัยในเยอรมนีกำลังใช้ AI ถอดรหัสรูปแบบเสียงที่ไม่ใช่เสียงของมนุษย์ เช่น การเต้นของผึ้ง เสียงความถี่ต่ำของช้าง หรือเสียงของวาฬ เพื่อทำให้มนุษย์สามารถเข้าในภาษาของสรรพสัตว์ได้มากขึ้น
.
โดย AI จะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ทำลายอุปสรรคของการสื่อสารระหว่างเผ่าพันธุ์ได้ ซึ่งจะทำให้มนุษย์รู้สึกถึงความเป็นเครือญาติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งมันจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจสัตว์ได้ง่ายขึ้นด้วยการสื่อสารที่ดีขึ้น
.
แท้จริงแล้ว มนุษย์ได้แสวงหาความสามารถในการพูดคุยกับสัตว์มาเป็นเวลานานแล้ว โดยเราจะเห็นได้จากภาพยนตร์หลาย เช่น Doctor Dolittle ในปี 1967 แต่แนวคิดนี้ไม่ได้เป็นเพียงโครงเรื่องในภาพยนตร์อีกต่อไป เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์กำลังจะค้นพบวิธีการพูดที่ใช้พูดกับสัตว์ได้สำเร็จ
.
ในปี 2018 นักวิจัยจาก Dahlem Center for Machine Learning and Robotics ในเยอรมนีได้ออกแบบ RoboBee ที่เลียนแบบการเต้นของผึ้ง ซึ่งผึ้งใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลให้กันและกัน
.
ทีมงานได้ฝึกหุ่นยนต์ให้เลียนแบบการเคลื่อนไหวแบบเดียวกันของการเต้นของผึ้ง ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการทำให้อากาศที่ไหลเวียน พร้อมทั้งการสั่นสะเทือน และมันสามารถหลอกให้ผึ้งฟังมันได้สำเร็จ ผลลัพธ์ระบุว่า ผึ้งบางตัวปฏิบัติตามคำแนะนำของ RoboBee เช่นว่าจะย้ายไปที่ใดภายในรังหรือให้หยุดทำกิจกรรมทั้งหมด
.
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังมีประเด็นในเรื่องของจริยธรรม นักวิชาการบางกลุ่มค่อนข้างกังวลว่าความสามารถนี้จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นการบังคับให้ผึ้งมาทำรังเฉพาะจุด เพื่อที่ต้องการจะเก็บน้ำผึ้ง จริง ๆ แล้วมนุษย์ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับการไหลเวียนของระบบนิเวศ ซึ่งความสามารถนี้ควรถูกนำมาใช้เพื่อให้คนทั่วไปได้ฟังเสียงของธรรมชาติอย่างแท้จริง
.
และนอกจากผึ้ง ยังมีนักวิทยาบางกลุ่มกำลังพยายามจะฟังเสียงของช้าง โดยค้นพบว่าช้างมีการปล่อยความถี่ต่ำที่หูของมนุษย์ไม่สามารถฟังได้ และมันใช้ในการสื่อสารกัน แน่นอนว่ามีการนำอุปกรณ์บางอย่างเข้าไปเก็บคลื่นความถี่ และให้ AI ถอดรหัสออกมา และในอีกไม่นาน มันจะทำให้เราเข้าใจภาษาของช้างได้ครับ
.
สำหรับตอนนี้ยังมีแค่สัตว์เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้นที่เราสามารถเข้าใจภาษาของเขา แน่นอนในอนาคต คงมีคนคิดค้นอุปกรณ์ที่ให้เราสามารถฟังเสียงของสัตว์เลี้ยงได้ และตอนนั้น… ผมจะเอาไปแปลภาษาแมวที่บ้าน อยากรู้ว่าทำไมมันชอบกวนนน….. จัง
.
ที่มาข้อมูล