เมื่อพูดถึง Coronavirus หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Covid – 19 นับว่าโรคเป็นระบาดร้ายแรงชนิดหนึ่ง การสังเกตอาการก็ทำได้ยาก และชุดทดสอบตอนนี้ก็ดูเหมือนจะขาดตลาดอย่างมาก
แต่หากอยากใช้เทคโนโลยีในการช่วยคัดกรอง วิธีที่เป็นไปได้ดีที่สุดตอนนี้คือการนำปัญญาประดิษฐ์มาเรียนรู้และเข้าใจลักษณะของโรคนี้ผ่านการเอกซเรย์ปอดของผู้ป่วย เพื่อตรวจหาลักษณะที่จะบ่งบอกได้ว่าคน ๆ นี้ติดเชื้อหรือเปล่า
โดยหนึ่งในที่ ที่เริ่มใช้ Ai แล้ว คือบริษัทการแพทย์จีน Infervision ที่ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลอู่ฮั่นพัฒนาเครื่องมือการวินิจฉัย COVID-19 ด้วย Ai และตอนนี้เหมือนจะมีรายงานว่าเครื่องมือดังกล่าวถูกใช้งานที่กรุงโรมประเทศอิตาลีแล้ว
ในขณะเดียวกันนักวิจัยคนอื่น ๆ จากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ในออนแทรีโอ (University of Waterloo) ร่วมมือกับ บริษัท Canadian A.I. ได้ประกาศเปิดตัวเครื่องมือที่เรียกว่า COVID-Net ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ในการตรวจคัดกรอง Covid -19 โดยเครื่องมือยังมีเปิดให้ทดสอบเพิ่มเติมโดยนักวิจัยทั่วโลกซึ่งอาจจะสามารถนำไปใช้เป็นโซลูชั่นสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างมากในอนาคต
รูปแบบของ COVID-Net คือการให้ Ai ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาพเอกซเรย์ทรวงอกกว่า 5,941 ภาพ จากผู้ป่วยกว่า 2,839 คน เพื่อให้ Ai ได้เข้าใจลักษณะของโรค Covid -19 อย่างลึกซึ้ง แต่ก็เหมือนข้อมูลยังไม่เพียงพอ นักวิจัยจำเป็นหาข้อมูลป้อนให้ Ai อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่ Ai ทุกที่ต้องเจอ พูดง่าย ๆ คือยังความลับเกี่ยวกับ Covid – 19 อีกมากที่มนุษย์ยังไม่ได้ค้นพบ โดยหากมีข้อมูลมากพอ เราจะสามารถสร้างมือการจดจำโรคและวิเคราะห์อาการของโรคได้อย่างแม่นยำเหมือนกับการตรวจหามะเร็งที่ Ai เคยทำสำเร็จมาแล้วในจีน
ในตอนนี้ คงต้องรอต่อไปอย่างเดียวกับการใช้เทคโนโลยีนี้ แต่ส่วนตัวตัวคิดว่าอีกนานเทคโนโลยีนี้จะใช้งานแพร่หลาย ๆ และอาจเป็นการเริ่มต้นของการปฎิวัติวงการ การแพทย์ครั้งใหญ่ ที่เราสามารถใช้เทคโนโลยีต่อสู้แบคทีเรีย แทนที่จะต้องพึ่งแตการเสาะหาฆ่าเชื้อเพียงอย่างเดียว
สำหรับสถานการณ์ Covid – 19 ในประเทศไทย ข่าวดีที่พึ่งได้เห็นเมื่อเช้าที่ผ่านคือ โรงพยาบาลจุฬาฯ สามารถผลิตชุดทดสอบ Covid – 19 ได้ภายใน 15 นาทีโดยการเจาะเลือดและนำไปใส่ในชุดตรวจ โดยจะเริ่มให้บริการประชาชนตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคมนี้เป็นต้นไป
ข้อมูลจาก https://www.digitaltrends.com/cool-tech/using-ai-to-spot-coronavirus-lung-damage/
https://arxiv.org/pdf/2003.09871.pdf