[Top Story] ในปี 2024 อาจเรียกได้ว่าเป็นปีแห่งการแนะนำ AI ที่พากันเปิดตัวบริการใหม่มากมาย แต่ในปี 2025 นี้ อาจเป็นปีแห่งการใช้งานจริง ใช้งานเฉพาะทางมากขึ้น และมีเพิ่มการลงทุน มีธุรกิจ Data Center ที่เติบโต ทว่า ‘การคุกคาม’ ก็เพิ่มขึ้นตามเช่นกัน อย่างไรก็ตาม AI ในปีนี้ จะถูกมองว่าเป็น ‘เพื่อนร่วมงาน’ เสมือนจริงด้วย ที่ทำได้มากกว่าการตอบแชท สามารถปฎิบัติงานหรือตัดสินใจได้ด้วยตนเองแล้ว อันเป็น 1 ใน 9 เทรนด์เทคโนโลยียุคใหม่ จากมุมมองของ Lenovo โดยคุณวรพจน์ ถาวรวรรณ, ผู้จัดการทั่วไปประจำไทย และภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งทาง Techhub ก็ขอช่วยสรุปให้มีความเข้าใจง่ายกันมากขึ้นตามนี้
1.กำเนิด LLMs เฉพาะทาง พลิกโฉมการใช้งาน AI
Large Language Model หรือ LLM โมเดลภาษาขนาดใหญ่ เบื้องหลังสำคัญของบริการ AI ในปัจจุบัน แต่ในปี 2025 นี้ ทาง Lenovo มองว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของ LLM แบบเฉพาะทาง เพื่อให้คำตอบที่มีความแม่นยำและเกี่ยวข้องกันมากขึ้น เช่น ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของอุตสาหกรรมนั้น ๆ เพื่อหารูปแบบหรือเทรนด์ ให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดได้อย่างถูกต้อง หรือนำไปช่วยวางแผนทรัพยากรบุคคล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานของภายในองค์กรนั้น ๆ ที่มีการเจาะจงชัดเจนยิ่งกว่าเดิม
2.เพิ่มการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ AI
จากปีที่แล้ว AI ได้แสดงความเป็นไปได้มากมาย โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความตื่นตัวในเรื่องของ AI และ Generative AI มากเป็นพิเศษ ส่งผลให้มีรายงานคาดการณ์ว่า การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ AI จะมีมูลค่าสูงถึง 110 พันล้านดอลลาร์ฯ ภายในปี 2028 และเมื่อธุรกิจเริ่มเห็นถึงประโยชน์ที่ของ AI มากขึ้น ในปี 2025 นี้ จะเป็นปีที่เราได้เห็นการลงทุนด้าน AI เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แต่แน่นอนว่าการแข่งขันย่อมตามมา
ในส่วนนี้ทาง Lenovo ก็ยืนยันว่าจะมีการมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ผสานนวัตกรรมและประสิทธิภาพของ AI เข้าไป ได้แก่ AI PCs , AI Applications และ โซลูชัน Hybrid AI รวมถึงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อนึ่งทาง Lenovo ก็ให้ความเห็นน่าสนใจด้วยว่า “เครื่องมือ AI จะถูกเลือกอย่างพิถีพิถันมากขึ้น” โดยผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในด้านธุรกิจ จะไม่มองแค่เพียงว่าเครื่องมือ AI ดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับธุรกิจหรือไม่อีกต่อไป
3.AI จะเข้ามาเป็นเพื่อนร่วมงาน
ปฎิบัติงานหรือตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ฟังยังไงก็คงคิดว่าเป็นมนุษย์ แต่แท้จริงคือ AI ที่มาในร่าง “เพื่อนร่วมงาน” หรือที่เรียกว่า AI Agent สืบเนื่องจากปัจจุบัน AI สามารถทำงานได้ทั้งเชิงรับเชิงรุก อ้างอิงจากคาดการณ์ของ Gartner เผยในปี 2028 จะมี AI เข้ามาช่วยตัดสินใจในการทำงานแต่ละวันกว่า 15% โดยมี LLM ที่ถูกพัฒนาเฉพาะ มาช่วยงานแบบ Realtime โดยไม่ต้องพึ่งการประมวลผลผ่านคลาวด์ด้วย
พอไม่มีการประมวลผลผ่านคลาวด์ ก็ช่วยให้ข้อมูลมีความเป็นส่วนตัวยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลภายในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจาก AI ที่ช่วยทั้งจัดการเอกสาร สรุปการประชุม หรือการสร้างคอนเทนต์ นอกจากนี้เราจะได้เห็นการใช้งาน Digital Twins หรือฝาแฝดดิจิทัล ซึ่งเป็นการที่ AI ดึงเอาพฤติกรรมต่าง ๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการกระทำต่าง ๆ ด้วย เช่นการนำเอา AI Agent สำหรับการสร้างรายการช็อปปิ้งสินค้า , AI Agent สำหรับการแปลภาษา และ AI Agent สำหรับการท่องเที่ยว มาทำงานร่วมกันกลายเป็น Digital Twins เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างและเฉพาะบุคคลของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
4.ความต้องการใช้งาน AI ที่มากขึ้น กับการจัดการที่มากตาม
เบื้องหลังของเบื้องหลัง AI นั้น ก็คือเครื่องเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก ที่ล้วนใช้พลังงานและก่อให้เกิดความร้อนมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป แน่นอนว่าหากเกิดความต้องการใช้งาน AI ที่มากขึ้น ก็ย่อมตามมาด้วยการพัฒนาเซิร์ฟเวอร์ที่มากขึ้นตาม โดยส่วนนี้ทาง Lenovo คาดการณ์เลยว่า ปี 2025 นี้ จะมีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของ AI ที่มีความเฉพาะเจาะจงกว่าเดิม ง่าย ๆ คือลดความสิ้นเปลื้องในการออกแบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นเอง โดยกำหนดให้ใช้งานตามดีมานด์ที่ต้องการจริง ๆ เพื่อการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนภายหลัง ให้สอดคล้องกับกฏความยั่งยืน (Sustainability) ที่จะคุมเข้มยิ่งขึ้นหลังจากนี้
5.บริการคลาวด์สู่ Multi-Cloud
เป็นที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยีมันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลาย ดังนั้นอะไรที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทัน ย่อมมีความได้เปรียบเสมอ จึงเกิดเป็นระบบคลาวด์จากหลายผู้ให้บริการหรือ Multi-Cloud ที่มีธุรกิจจำนวนมากในเอเชียแปซิฟิกเริ่มพิจารณากันมากขึ้น ข้อดีของ Multi-Cloud คือมีความยืดหยุ่น สามารถปรับขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ รวมถึงป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากใช้งานคลาวด์จากผู้บริการรายเดียวต้องหยุดชะงักลง (หันไปมองเคส CrowdStrike)
ส่วนนี้ทาง Lenovo เผยปี 2025 จะมีความต้องการใช้ Multi-Cloud ที่มีโซลูชันเกี่ยวกับ AI เพิ่มมากขึ้น เช่น การวิเคราะห์และคาดการณ์ ออโตเมชัน และการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนโซลูชันโครงสร้างของระบบเก็บข้อมูลนั้นมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายที่สูง ผู้นำธุรกิจจึงควรต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนระหว่างค่าใช้จ่ายในการย้ายและประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาวจากความยืดหยุ่น และขนาดการใช้งานตามความต้องการ
6.Edge Computing เสริมความรวดเร็วแบบเรียลไทม์
ความยืดหยุ่นของการใช้งาน Multi-Cloud และ Edge Computing ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจ สามารถประมวลผลข้อมูลได้ใกล้เคียงกับแหล่งที่ข้อมูลเดิม ช่วยลดเวลาในการประมาลผลและความหน่วงได้ดี ในขณะที่ข้อมูลขนาดใหญ่ก็ถูกจัดการได้อย่างรวดเร็ว นับเป็นอีกตัวเลือกที่ถูกจับตามองมากขึ้นเช่นกัน โดยมีรายงานจาก Lenovo’s 2024 CIO Playbook เผยพบการใช้งาน Edge เพิ่มขึ้นราว ๆ 25% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2023 และ 2024 โดยในปี 2025 อุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน Edge ซึ่งสร้างข้อมูลได้มากกว่านั้น จะกลายเป็นโซลูชัน Edge Computing ที่ประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยผลักดันที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และเพิ่มประสิทธิผลให้กับงาน ซึ่งจากทั้งความยืดหยุ่นของ Multi-Cloud และ Edge Computing จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจ สามารถประมวลผลข้อมูลได้ใกล้เคียงกับแหล่งที่ข้อมูลเดิมมากขึ้น ช่วยลดเวลาในการประมาลผลและความหน่วง ในขณะที่ข้อมูลขนาดใหญ่ก็ถูกจัดการได้อย่างรวดเร็วด้วย
7.ความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังน่ากังวล โดยเฉพาะการคุกคามที่มีเพิ่มขึ้นให้เห็นอย่างต่อเนื่อง
หากตามข่าวเทคโนโลยีในช่วงปี 2024 ที่ผ่าน ก็จะพบเลยว่ายังมีเหตุการณ์ข้อมูลสำคัญรั่วไหลต่อเนื่อง มีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังพลาดทำข้อมูลลูกค้าหลุดออกมาได้ เหตุนี้ทาง Lenovo จึงมองว่าการสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังคงเป็นหัวข้อสำคัญของธุรกิจในเอเชียแปซิฟิคในปี 2025 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ปัจจุบันมีภาครัฐในหลายประเทศ ได้เพิ่มความเข้มงวดในเรื่องดังกล่าวผ่านกฎหมายหรือ พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Act) มากขึ้น โดยให้ธุรกิจต้องมีมาตรการที่ชัดเจนในการสร้างความปลอดภัย พร้อมมีบทลงโทษที่ชัดเจนหากเกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลอันเกิดจากระบบความปลอดภัยของธุรกิจ
ในส่วนนี้เอง ก็ทำให้หลายธุรกิจหันมาลงทุนเทคโนโลยีด้าน Security หรือเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเพิ่มโซลูชันในการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อมาตรการที่รัดกุมยิ่งขึ้นในการเข้าถึงและเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย แต่ด้วยข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับความนิยมในการใช้งาน AI ด้วย ก็ส่งผลมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบที่เพิ่มขึ้นตามมา ทำให้ธุรกิจต้องสร้างระบบ Ecosystem ที่ครอบคลุมและปลอดภัย เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการแบบฉับพลัน ซึ่งอาจส่งผลให้ธุรกิจต้องเร่งติดตั้งและอาจมีข้อผิดพลาดจนยากที่จะแก้ในภายหลัง
8.Data Center จะเติบโต
คงเป็นที่แน่นอนแล้วว่า กลุ่มธุรกิจ Data Center โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการบริโภคข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2025 ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน แต่ก็แลกกับที่ต้องบริหารการใช้พลังงานและการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการโครงสร้างระบบพื้นฐานที่รองรับการใช้งาน AI
9.ความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันธุรกิจ Data Center
ท้ายนี้ก็ไม่พ้นเรื่อง “Sustainability” หรือความยั่งยืน สืบเนื่องจากการใช้งานบริการดิจิทัลและ AI ที่เพิ่มขึ้น ก็ย่อมส่งผลมีให้ความต้องการในการใช้พลังงานของ Data Center เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันในทั่วภูมิภาค และปี 2025 นี้ ธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีที่คำนึงถึงความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยในบางประเทศก็มีการออกกฎหรือมาตรการที่เข้มงวดขึ้นแล้ว เพื่อการจัดการกับปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันนี้เอง
สำหรับธุรกิจ Data Center นั้น ก็ต้องให้ความสำคัญในเรื่อง “คาร์บอนฟุตปริ้น” ด้วย โดยต้องดูทั้งความต้องการใช้ Data Center และการสร้างคาร์บอนฟุตปริ้นที่ต้องไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นทั้งภาครัฐและธุรกิจ ล้วนหันมาให้ความสำคัญต่อการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยการใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีความเย็นมาใช้จัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตรวจสอบและดูแลด้านความยั่งยืนแบบองค์รวม และการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้กับผลิตภัณฑ์อย่างจริงจัง